โรค ข้าวใบแห้ง ข้าวกาบใบแห้ง เกิดจาก เชื้อรา Rhizoctonia solani ส่งผลให้ได้ผลผลิตข้าวน้อยลงไปมาก ฉีดพ่นด้วย ไอเอส เพื่อแก้ไข

ข้าว กาบใบแห้ง

ข้าวใบแห้ง โรคกาบใบแห้ง (Sheath blight Disease)

พบมาก ในนาชลประทาน ภาคกลาง ภาคเหนือ และ ภาคใต้

สาเหตุ เชื้อรา Rhizoctonia solani (Thanatephorus cucumeris (Frank) Donk)

อาการ เริ่มพบโรคในระยะแตกกอ จนถึงระยะใกล้เก็บเกี่ยว ยิ่งต้นข้าวมีการแตกกอมากเท่าใด ต้นข้าวก็จะเบียดเสียดกันมากขึ้น โรคก็จะเป็นรุนแรง ลักษณะแผลสีเขียวปนเทา ขนาดประมาณ 1-4 x 2-10 มิลลิเมตร ปรากฏตามกาบใบ ตรงบริเวณใกล้ระดับน้ำ แผลจะลุกลามขยายใหญ่ขึ้นจนมีขนาดไม่จำกัดและลุกลามขยายขึ้นถึงใบข้าว ถ้าเป็นพันธุ์ข้าวที่อ่อนแอ แผลสามารถลุกลามถึงใบธงและกาบหุ้มรวงข้าว ทำให้ใบและกาบใบเหี่ยวแห้ง ผลผลิตจะลดลงอย่างมากมาย

อาการโรคกาบใบแห้ง โรคข้าวใบแห้ง

การแพร่ระบาด เชื้อราสามารถสร้างเม็ดขยายพันธุ์ อยู่ได้นานในตอซังหรือวัชพืชในนาตามดินนา และมีชีวิตข้ามฤดูหมุนเวียนทำลายข้าวได้ตลอดฤดูการทำนา

การป้องกันกำจัด โรคข้าวกาบใบแห้ง

หลังเก็บเกี่ยวข้าว และเริ่มฤดูใหม่ ควรพลิกไถหน้าดินตากแดด เพื่อทำลายเม็ดขยายพันธุ์ (Fruiting body) ของเชื้อราสาเหตุโรค

กำจัดวัชพืชตามคันนาและแหล่งน้ำ เพื่อเพื่อทำลายพืชอาศัยของเชื้อราสาเหตุโรค

ฉีดพ่นด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อราในนาข้าว ในอัตราส่วน 50ซีซี  ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นให้ครอบคลุมทั่วแปลง ที่มีการระบาด

สั่งซื้อได้ที่ลิงค์ http://www.farmkaset.org/html5/customer_update_add_self.aspx
ไลน์ไอดี FarmKaset
โทร 090-592-8614

ไอเอส ยาแก้โรค ข้าวใบไหม้ ข้าวกาบใบแห้ง

อ้างอิงบางส่วนจาก http://www.ricethailand.go.th/rkb3/title-index.php-file=content.php&id=116-1.htm

Comments

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา