โรคไฟทอปธอราในทุเรียน เป็นโรคจากเชื้อรา ที่ก่ออาการ ทุเรียนรากเน่า ทุเรียนโคนเน่า ทุเรียนกิ่งแห้ง ยืนต้นตาย

โรคไฟทอปธอราในทุเรียน

โรคไฟทอปธอราในทุเรียน

เป็นโรคที่เข้าทำลายทุเรียน และเป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่ง ที่ผู้ปลูกสวนทุเรียนต้องพบกับปัญหา โรคทุเรียนต่างๆ ที่มีสาเหตุจาก เชื้อจุลินทรีย์ หรือเชื้อรา ไฟทอปธอร่า (Phytophthora spp.)

โรคทุเรียน ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ไฟทอปธอร่า นั้น มักถูกเรียกชื่อไปตามอาการ ที่แสดงออกให้สังเกตุเห็นได้ เช่น โรคทุเรียนรากเน่า ทุเรียนโคนเน่า ใบเหลือง ยอดแห้ง ทุเรียนใบร่วง ผลเน่า แท้ที่จริงแล้ว เชื้อรา ไฟทอปโธร่า สามารถเข้าทำลาย ก่อให้เกิดอาการของโรคทุเรียน ได้ตั้งแต่ระบบราก โคนต้น ลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ และ ผลทุเรียน คือ สามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนเลยก็ว่าได้ ฉนั้น โรคไฟทอปธอร่า หรือ Phytophthora diseases ในทุเรียน เมื่อกล่าวถึง จึงมีความหมายครอบคลุม โรคต่างๆ ดังได้กล่าวไว้ข้างต้น

อาการของโรคไฟทอปธอราในทุเรียน

เชื้อราไฟทอปธอร่า จะเข้าลำลายต้นทุเรียน จากระบบราก เข้าสู่โคนต้น และเข้าสู่ระบบท่อนน้ำเลี้ยง จึงสามารถลุกลาม แพร่ระบาดเข้าทำลายได้ทั้งระบบ ของต้นทุเรียน เราสามารถสังเกตุอาการได้จาก แผลบนลำต้น ลักษณะแผลจะตกสะเก็ดสีน้ำตาล ใบทุเรียนจะมีอาการใบเหลือง ยอดหลุดร่วง เหลือแต่กิ่ง โรคไฟทอปธอร่า อาจลุกลามไปถึงผล หากทุเรียนอยู่ในช่วงติดผล ทำให้ผลเน่า ต้นทุเรียน ที่ติดโรคไฟทอปธอร่า จะให้ผลผลิตลดน้อยลงเรื่อยๆ ต้นทุเรียนจะค่อยโทรมลง จนสุดท้ายยืนต้นตาย

จากงานวิจัยในรายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตของเชื้อ ไฟทอป ธอรา ปาล์มมิโวลา เชื้อจะสามารถสร้างสปอร์พิเศษมีผนังหนา (chlamydospores) ที่ทนสภาพแวดล้อมได้ดี มีชีวิตอยู่ในดินได้นานภายใต้สภาวะที่ไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อไฟทอปธอรา เช่น อากาศแห้งแล้ง ดินขาดน้ำ เมื่อดินได้น้ำในหน้าฝน เชื้อก็จะเจริญเติบได้ต่อไป ดังนั้น เราอาจจะพบว่า ในช่วงหน้าแล้ง โรคจะไม่ระบาด ดูเหมือนว่า ไม่มีโรคไฟทอปธอราบนต้นทุเรียน แต่เมื่อเข้าหน้าฝน โรคจะระบาดรุนแรงมากขึ้น จากงานวิจัยวิทยานิพนธ์ ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า เชื้อไฟทอปธอรา ที่เก็บจากแหล่งต่างๆในเขตปลูกทุเรียนภาคตะวันออกและภาคใต้ มีลักษณะรูปร่างและพันธุกรรมที่แตกต่างกันในบางส่วน ชี้ให้เห็นว่าเชื้อไฟทอปธอรา อาจมีหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์อาจมีความรุนแรงของการเกิดโรคแตกต่างกันและสามารถต้านทานสารเคมีกำจัดโรคพืช หรือที่เราเรียกว่า “ดื้อยา”

การป้องกันกำจัด โรคไฟทอปธอร่าทุเรียน

ใช้ ไอเอส สารอินทรีย์ยับยั้งโรคเชื้อรา ผสมในอัตราส่วน 50cc ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500cc ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่น พรมบริเวณโคนต้นทุเรียนให้ชุ่มรัศมีกว้างเท่าทรงพุ่มทุเรียนเป็นอย่างน้อย จากนั้นฉีดพ่นทั้งทรงพุ่มใบ ตลอดลงมาลำต้น จรดโคนต้น เว้นระยะ 7 วัน ฉีดพ่นซ้ำ ต่อเนื้อง 2-4 ครั้ง และสังเกตุอาการ ว่าอาการของโรคหยุดลุกลามแล้วหรือไม่ ในขั้นตอนฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคเชื้อรา สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกัน เพื่อกระตุ้นให้ทุเรียน ฟื้นตัวจากการเข้าทำลาย ของเชื้อราไฟทอปธอร่า ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เสริมสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย และกลับมาเจริญเติบโตแข็งแรงได้อีกครั้ง

สั่งซื้อสินค้าได้ที่ลิงค์ http://www.farmkaset.org/html5/customer_update_add_self.aspx
ไลน์ไอดี FarmKaset
โทร 090-592-8614

ยารักษา โรคไฟทอปธอรา ทุเรียน

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก www.dynamicseeds.com/ดูบทความ-18904-โรคไฟทอปธอราในทุเรียน-credit-vanidakaset-com.html

Comments

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา