โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคต่างๆ ของพืชตระกูลมะเขือ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

โรคมะเขือใบเหี่ยว มะเขือขอบใบไหม้

โรคเหี่ยว มะเขือใบไหม้ มะเขือใบเหลือง (Verticillium wilt) ที่เกิดจากเชื้อรา Verticillium

Verticillium spp. เป็นราที่พบในดินเกือบทุกชนิด และทุกแห่ง โดยเฉพาะประเทศในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของโลก ก่อให้เกิดโรคกับพืชต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางเกือบ 200 ชนิด ทั้งพืชไร่ พืชสวน ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักและวัชพืชต่าง ๆ เฉพาะผักที่ถูกเชื้อนี้เข้าทำลายและก่อให้เกิดความเสียหาย ได้แก่ แตงต่างๆ เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม กระเจี๊ยบ มะเขือยาว มะเขือเปราะ พริก มะเขือเทศ มันฝรั่ง ฯลฯ นอกจากนี้ยังพบว่ามีผักต่าง ๆ อีกหลายชนิดที่เชื้อราตัวนี้เข้าทำลาย แต่ไม่ทำความเสียหายมากเท่ากับผักพวกที่กล่าวแล้ว ได้แก่ พวกถั่วต่าง ๆ หน่อไม้ฝรั่ง (asparagus) กะหล่ำต่าง ๆ บรอคโคลี ขึ้นฉ่าย (celery) หอมหัวใหญ่ กระเทียม ผักสลัด ผักกาดหัว แต่ธัญพืช เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ไม่ปรากฏว่าราพวก Verticillium ทำความเสียหายแต่อย่างใด

อาการ : แม้พืชได้รับเชื้อตั้งแต่ระยะต้นอ่อน แต่จะแสดงอาการให้เห็นจนกว่าต้นโตขึ้นมาถึงระยะหนึ่งจึงเริ่มแสดงอาการแคระแกร็น (stunt) หยุดการเจริญเติบโต ต่อมาต้นใบจะเหลืองซีดและเหี่ยว ใบแก่ตอนล่าง ๆ ของต้นจะหลุบลงในที่สุด ใบจะหลุดร่วงออกจากต้น อาการจะค่อย ๆ เพิ่มความรุนแรงขึ้นไปยังส่วนบน ในที่สุดจะเหลืองและเหี่ยวตายทั้งต้น ในระยะนี้หากถอนต้นพืชขึ้นจากดินแล้วใช้มีดผ่ารากและลำต้นบริเวณโคนออกมาจะพบว่าส่วนของท่อน้ำท่ออาหาร (vascular bundle) ถูกทำลายเน่า เป็นสีน้ำตาลเข้ม ในรายที่เป็นรุนแรงอาการเน่าจะลามออกมาเห็นที่ผิวนอกของรากและโคนต้นด้วย พบว่ามะเขือมอญหรือกระเจี๊ยบ มะเขือลูกใหญ่ เช่น มะเขือยาว มะเขือม่วง จะเป็นโรคนี้ได้ง่าย และรุนแรงที่สุด ส่วนมะเขือเทศ มันฝรั่งนั้นค่อนข้างจะต้านทานโรคได้ดีกว่า เมื่อถูกเชื้อเข้าทำลายอาจไม่ถึงกับตายเพียงแต่แสดงอาการเหลืองและเฉาในใบแก่ที่อยู่ตอนล่าง ๆ ของต้น

โรคมะเขือใบแห้ง (Late blight)

โรคมะเขือใบแห้ง โรคมะเขือใบไหม้

มะเขือเทศจะมีอาการได้ทุกส่วนของลำต้น เช่น ใบฉ่ำน้ำ เนื้อเยื่อรอบ ๆ แผลมีสีเหลือง แผลมักเกิดขึ้นที่จุดหนึ่งบนขอบใบก่อนแล้วขยายกว้างขึ้นจนเกือบหมดใบแผลจะแห้งเป็นสีน้ำตาลอย่างรวดเร็ว ตามก้านใบ ลำต้น ก็มีแผลเช่นเดียวกัน ทำให้ส่วนที่เป็นนั้นเหี่ยวแห้งตายไป ส่วนผลที่เป็นโรคจะมีแผลสีน้ำตาลเช่นกัน และทำให้ผลสุก ผิวแตก มีเชื้อราเกิดขึ้นตรงรอยแยก โรคนี้เกิดจากเชื้อราไฟทอปโธรา อินเฟสตันส์ การใช้พันธุ์ที่มีความต้านทานโรคนี้ปลูก จะช่วยได้ดี

โรคมะเขือใบจุดต่าง ๆ 

โรคมะเขือใบจุด

โรคนี้เกิดจากเชื้อราหลายชนิด ใบที่เป็นโรคนี้จะเกิดจุดได้หลายแบบ เช่น จุดดวงกลมสีน้ำตาล และจุดเหลี่ยม ซึ่งทำให้ใบเหลือง และแห้ง มีราขึ้นเป็นผงสีดำบนจุดด้วย การป้องกันกำจัด ควรฉีดพ่นยาป้องกันและกำจัดเชื้อราเสมอ ๆ

โรคมะเขือเหี่ยวเหลืองตาย

มะเขือเหี่ยวเหลืองตาย

โรคนี้เกิดจากเชื้อราฟูซาเรียมอ็อกซี่สปอรัม จะเริ่มเกิดกับใบล่าง ๆ ก่อนใบล่างจะเหลืองแล้วลุกลามขึ้นมาบนต้น เวลากลางวัน อากาศร้อนจัดต้นจะเหี่ยว พอกลางคืนก็กลับเป็นปกติ อาการเหี่ยวจะค่อย ๆ มากขึ้น จนถึงยอดเหี่ยวตาย เมื่อถอนต้นขึ้นมาดูจะเห็นโคนต้นและรากผุเปื่อย และมีราอยู่ด้วย

การป้องกันกำจัด ควรใส่อินทรีย์วัตถุให้เพียงพอ ลดการใช้ปุ๋ยเคมีให้น้อยลง ควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับปรุงดิน และปลูกพืชหมุนเวียนอย่างอื่นสลับ

การป้องกันและกำจัด โรคของพืชตระกูลมะเขือข้างต้นที่กล่าวมา ใช้ ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ ทุก 3-7 วัน ต่อเนื่อง 3-4 ครั้ง ระหว่างสังเหตุอาการ ผสมในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณที่มีการระบาด



ยาแก้โรคมะเขือใบเหลือง มะเขือใบแห้ง มะเขือใบไหม้

การส่งเสริมให้มะเขือ ฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรคและแมลงต่างๆได้รวดเร็วขึ้น ฉีดพ่นด้วย FK-1 ในอัตรส่วน 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร ใน FK-1 ประกอบด้วย ธาตุหลัก N-P-K พร้อม ธาตุรองและธาตุเสริม จะช่วยส่งเสริมการฟื้นฟูเนื้อเยื่อ เร่งพัฒนาการเจริญเติบโต เสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง ทำให้พืชต้านทานต่อโรคและแมลงได้ดีขึ้น และได้ผลผลิตที่ดีขึ้น

สั่งซื้อสินค้าได้ที่ http://www.farmkaset.org/html5/customer_update_add_self.aspx

ไลน์ไอดี FarmKaset

โทร 090-592-8614

อ้างอิง
thaifarmer.lib.ku.ac.th/question/5e5a41a9d2e37f4099534ac8
sites.google.com/site/11tomatofarm11/kar-pxngkan-kacad-rokh

Comments

Popular posts from this blog

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา