ยาฆ่าหนอนเจาะทุเรียน หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน หนอนเจาะผลทุเรียน จัดการด้วย ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์ ฆ่าหนอน ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค

หนอนเจาะทุเรียน

กรมส่งเสริมการเกษตร แจ้งเตือนภัย หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ในช่วงต้นฤดูฝน หวั่นสร้างความเสียหายให้แก่ผลผลิตของเกษตรกร

“ทุเรียน” เป็นไม้ผลหลักที่สำคัญของภาคใต้ ซึ่งมีพื้นที่ปลูกมากที่สุดเมื่อเทียบกับไม้ผลชนิดอื่นๆ โดยมีพื้นที่ปลูกครอบคลุมทั้ง 14 จังหวัด จำนวน 543,587 ไร่ พื้นที่ให้ผล จำนวน 401,555 ไร่ ในปีที่ผ่านมา เกษตรกรประสบปัญหา “หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน” เข้าไปวางไข่ แล้วทำให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิต โดยเฉพาะใน จ.ยะลา ส่งผลต่อคุณภาพของผลผลิตทุเรียน ทำให้เกษตรกรขายทุเรียนได้ในราคาที่ต่ำลง และขาดความน่าเชื่อถือทางการค้า

ทุเรียน ในช่วงพัฒนาผลอ่อน จึงเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงที่หนอนเจาะเมล็ดทุเรียนสามารถเข้าไปวางไข่ ต้นฤดูฝนเป็นช่วงที่พบการระบาดทำลายของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนสูงมาก เนื่องจากสภาพอากาศมีความชื้นสูง ดินนิ่ม ดักแด้หนอนเจาะเมล็ดทุเรียนที่อยู่ในดินจะฟักตัวออกมา และทำลายภายในผลทุเรียน และเมื่อมองจากภายนอกผลจะไม่พบร่องรอยของการทำลาย ดังนั้น เกษตรกรจึงควรหมั่นสำรวจสวนทุเรียนอย่างสม่ำเสมอ หากพบการทำลายให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้านทันที เพื่อหาแนวทางป้องกัน กำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน มีชื่อเรียกอื่นๆ ได้แก่ หนอนใต้ หนอนมาเลย์ หนอนรู ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน สีน้ำตาลอมเทา มีจุดสีขาวบนสันหลังอก มีจุดใหญ่ที่ขอบปีกอย่างน้อย 3 จุด และจุดเล็กที่มุมปีกอีก 1-3 จุด ตัวเมีย 1 ตัว สามารถวางไข่ได้ 100-200 ฟอง โดยวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ บริเวณหนามทุเรียนใกล้ขั้วผล ตัวหนอนที่ฟักออกจากไข่จะเจาะไชเข้าไปภายในผล และอาศัยกัดกินอยู่ภายในเมล็ด โดยปราศจากร่องรอยของการทำลายผิวผลภายนอกให้เห็น จนกระทั่งตัวหนอนโตเต็มที่ มีขนาดยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ก็จะเจาะผลทุเรียนออกมาเข้าดักแด้ ในดินที่ชื้นนาน 1-9 เดือน จึงฟักออกมาเป็นตัวเต็มวัย ดักแด้อาจมีอายุนานกว่านั้น ในกรณีที่มีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม แต่ถ้ามีฝนตกหนักจะช่วยกระตุ้นให้ออกเป็นตัวเต็มวัยเร็วขึ้น

ลักษณะการทำลาย หนอนเจาะเมล็ดทุเรียนจะเจาะไชเข้าไปภายในเมล็ด กัดกิน และขับถ่ายมูลออกมา ทำให้เนื้อทุเรียนเปรอะเปื้อนเสียหาย ตัวหนอนที่ฟักออกจากไข่จะเจาะเข้าไปในผล และอาศัยกัดกินอยู่ภายในเมล็ดโดยไม่ทำลายเนื้อทุเรียน และเมื่อมองจากภายนอกผลจะปราศจากร่องรอยของการทำลายผิวผล ยกเว้นจะมีทางเดินเล็กๆ ระหว่างเนื้อ และผิวเปลือกด้านในจะมีรอยเป็นเส้น ซึ่งเมล็ดที่ถูกทำลายส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะที่เมล็ดแข็งแล้ว โดยหนอนจะใช้เวลาเติบโตอยู่ภายในเมล็ดจนกระทั่งตัวหนอนโตเต็มที่ จึงเจาะรูเพื่อออกจากผลทุเรียน และเข้าดักแด้ในดิน เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมจึงออกเป็นตัวเต็มวัย รูที่หนอนเจาะออกมามีขนาดเล็ก รอบๆ ปากรูจะมีขุย สีขาวปนสีส้มติดอยู่ ผลที่ถูกทำลายสามารถนำไปแปรรูปเป็นทุเรียนกวนเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตได้ พบการแพร่ระบาดของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนในพื้นที่ปลูกทุเรียนระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม กรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้

1.เกษตรกรไม่ควรขนย้ายเมล็ดทุเรียนจากที่อื่นเข้ามาในแหล่งปลูก ถ้ามีความจำเป็นควรทำการคัดเลือกเมล็ดอย่างระมัดระวัง

2.สำรวจติดตามสถานการณ์หนอนเจาะเมล็ด โดยตรวจดูตัวเต็มวัยของหนอนเจาะเมล็ดในกับดักแสงไฟ หากมีฝนตกหนักติดต่อกัน 2-3 วัน ควรตรวจดูทุกวัน

3.ห่อผลทุเรียนโดยใช้ถุงพลาสติกสีขาวขุ่น เจาะรูที่บริเวณขอบล่าง เพื่อให้หยดน้ำระบายออก สามารถป้องกันผีเสื้อตัวเต็มวัยมาวางไข่ได้ โดยเริ่มห่อตั้งแต่ผลทุเรียนมีอายุ 6 สัปดาห์เป็นต้นไป ก่อนห่อผลควรตรวจสอบ และป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง อย่าให้มีติดอยู่กับผลที่จะห่อ

4.รักษาสวนให้สะอาดอยู่เสมอ หมั่นตรวจสวนหลังทุเรียนติดผลแล้ว เมื่อพบผลที่ถูกทำลาย หรือผลร่วงในสวนที่มีการระบาดของหนอนเจาะเมล็ด ควรเก็บผลร่วงไปเผาทำลายทิ้งทุกวัน เพื่อลดการเพิ่มปริมาณ เนื่องจากหลังจากทุเรียนร่วงไม่นาน ถ้ามีหนอนอยู่ภายในหนอนจะเจาะรูออกมาเพื่อเข้าดักแด้ในดิน

5.ตัดแต่งผลทุเรียนที่มีจำนวนมากเกินไป โดยเฉพาะผลที่อยู่ติดกันควรใช้กาบมะพร้าวหรือกิ่งไม้กั้นระหว่างผล เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเต็มวัยวางไข่ หรือตัวหนอนเข้าทำลายหรือหลบอาศัย

6.อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ เช่น แตนเบียน Apantelessp

7.การป้องกันกำจัดโดยใช้สารชีวินทรีย์กำจัดหนอน ไอกี้-บีที ผสมในอัตราส่วน 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นให้ครอบคลุมบริเวณที่มีการระบาด ทุก 7 วัน ต่อเนื่อง 2-4 ครั้ง และตรวจสังเกตุการณ์ระบาด ในช่วงระยะนั้น

สั่งซื้อสินค้าได้ที่ http://www.farmkaset.org/html5/customer_update_add_self.aspx
ไลน์ไอดี FarmKaset
โทร 090-592-8614


ยาฆ่าหนอนเจาะทุเรียน

อ้างอิง mgronline.com/south/detail/9630000045758

Comments

Popular posts from this blog

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา