โรคอ้อย โรคใบขาว โรคแส้ดำ โรคเน่าคออ้อย โรคใบจุดวงแหวน เป็นเหตุให้ผลผลิตลดลง เราสามารถป้องกันและกำจัดได้


โรคต่างๆที่พบในไร่อ้อย และวิธีป้องกันกำจัด

โรคใบขาว ในอ้อย (White leaf disease)

พบมากในพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือพื้นที่ปลูกอ้อยในเขตดินทราย มีเพลี้ยจั๊กจั่นเป็นแมลงพาหะ โรคนี้จะติดไปกับท่อนพันธุ์ ซึ่งบางครั้งไม่แสดงอาการ จนกว่าลำที่มีเชื้อจะงอกขึ้นมา และแสดงอาการของโรคใบขาว ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้ แต่เราสามารถป้องกันได้โดย การกำจัดแมลงพาหะ โดยการฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ กำจัดเพลี้ย และแมลงศัตรูพืชจำพวกปากดูดต่างๆ

แนวทางป้องกัน ใช้ท่อนพันธุ์ที่สะอาด ปราศจากโรคมาปลูก บำรุงรักษาอ้อยให้มีความแข็งแรง โดยการฉีดพ่นด้วย FK-1 บำรุงดินให้มีความสมบูรณ์ มีการพักดินและปลูกพืชบำรุงดินเพื่อการตัดวงจรโรค

โรคแส้ดำ ที่เกิดกับอ้อย (Smut disease)

เชื้อของโรคนี้อาศัยอยู่ในทุกส่วนของพืช ติดอยู่กับตอเก่าในแปลง ท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคจะปล่อยผงสปอร์ปลิวติดไปกับลมและฝน นอกจากนั้น เชื้อราจะอาศัยอยู่ในดิน ซึ่งทนอยู่ในเขตแห้งแล้งได้นาน  อ้อยที่ติดโรคจะมีส่วนยอดผิดปกติเป็นก้านแข็งยาวคล้ายแส้สีดำ ตออ้อยที่เป็นโรครุนแรงจะแตกหน่อมาก และแคระแกรนคล้ายตอตะไคร้ ทุกยอดจะสร้างแส้ดำ แล้วแห้งตายทั้งกอ

แนวทางป้องกันคือ ต้องขุดกออ้อยที่เป็นโรคออกเพื่อทำลายทิ้งให้สิ้นซาก แล้วพักดินปลูกถั่วเพื่อตัดวงจรของโรค หรือฉีดพ่นด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งเชื้อรา เพื่อยับยั้ง และลดการระบาดของโรคแส้ดำ

โรคเน่าคออ้อย (Bacteriosis)

เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ลักษณะของอ้อยที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะมีใบเหลือง ยอดแห้ง ภายในลำอ้อยเน่าฉ่ำน้ำ จากยอดลงมาด้านล่างของลำ มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว เนื้ออ้อยบริเวณยอดเน่าเละ เห็นท่อน้ำท่ออาหารเป็นเส้น  ยอดอ้อยหักพับ ลำอ้อยเปราะ ปล้องอ้อยหลุดจากกันได้ง่าย

โรคนี้พบมากในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง เช่น พื้นที่ติดภูเขา แนะนำให้ขุดอ้อยที่เป็นโรคไปทำลาย ลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ฉีดพ่นด้วย ไอเอส และพักดินเพื่อทำลายเชื้อสาเหตุของโรค

โรคใบจุดวงแหวน ที่เกิดกับอ้อย

อ้อยที่เป็นโรค เริ่มแรกเป็นจุดสีเขียวชุ่มน้ำ แล้วเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม ขอบสีน้ำตาล หรือจุดสีน้ำตาลเล็ก ๆ ตรงกลางมีสีขาว ลักษณะคล้ายรูปไข่ ต่อมาแผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง และมีสีเหลืองล้อมรอบ (halo) เมื่อแผลขยายใหญ่ขึ้น ภายในแผลก็จะแห้ง สีคล้ายฟางข้าว และขอบแผลเป็นสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม เมื่อเกิดแผลจำนวนมากติดต่อกัน ใบจะไหม้เป็นบริเวณกว้าง แต่ยังมีขอบล้อมรอบแต่ละแผลอยู่เช่นเดิม พบโรคนี้ในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง พื้นที่ภูเขา  แนวทางแก้ไขคือ ฉีดพ่นด้วย ไอเอส ให้ครอบคลุมบริเวณที่มีการระบาด หรือการพักดินปลูกพืชตระกูลถั่ว เพื่อตัดวงจรโรค ได้เช่นกัน

สั่งซื้อ ไอเอส มาคา ได้ที่
ลิงค์สั่งซื้อ http://www.farmkaset.org/html5/customer_update_add_self.aspx
โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี FarmKaset

ยาแก้ อ้อยใบขาว โรคแส้ดำ โรคราอ้อย

อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.mitrpholmodernfarm.com

Comments

Popular posts from this blog

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา