ทุเรียนรากเน่า และทุเรียนโคนเน่า มีสาเหตุจากเชื้อรา และ เพลี้ยไก่แจ้ ที่กินใบอ่อนทุเรียน วิธีป้องกันและกำจัด

ทุเรียนโคนเน่า

ในสภาพอากาศ ที่มีฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้โรครากเน่า โคนเน่า ที่ระบาดในทุเรียน แพร่ระบาดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งโดยมากแล้ว จะพบในระยะ ทุเรียนแตกใบอ่อน เราสามารถสังเกตุอาการได้ดังนี้

อาการเริ่มแรก ใบที่ปลายกิ่งจะสีซีด ไม่เป็นมันเงา ใบเหี่ยว ลู่ลง เมื่ออาการหนักขึ้น ใบจะเหลือง แห้ง และหลุดร่วง หากเราลองขุดดูรากฝอย ลักษณะของเปลือกรากจะล่อน เปื่อย ยุ่ยเป็นสีน้ำตาล หากลุกลามไปยังรากรากแขนง และโคนต้น ทุเรียนจะค่อยๆโทรมลง และมีโอกาสที่จะยืนต้นตาย

อาการที่แสดงบริเวณ ลำต้น โคนต้น และกิ่ง ระยะแรก จะพบว่า ทุเรียนใบเหลือง เป็นหย่อมๆ บนผิวเปลือกกิ่งมีคราบน้ำ ในช่วงอากาศชื้นจะเห็นเป็นของเหลวข้นสีน้ำตาลแดงไหลออกจากแผล เนื้อเยื้อเปลือกไม้เป็นแผลสีน้ำตาล หากลุกลามแผลขยายใหญ่จนรอบโคนต้น จะส่งผลให้ทุเรียนใบร่วง และยืนต้นแห้งตาย

การป้องกันกำจัด โรคทุเรียนโคนเน่า ทุเรียนรากเน่า ทุเรียนใบเหลือง

กรณีพบอาการของโรคบนกิ่ง หรือโคนต้น ให้ทำการขูดผิวเปลือกส่วนที่เป็นโรค และฉีดพ่นด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา ผสมด้วย FK-1 ที่มี ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแตสเซียม แมกนีเซียม สังกะสี เว้นสามวัน ฉีดพ่นอีกครั้ง และ เว้นอีก 7 วัน พ่นซ้ำอีกครั้ง และสังเกตุอาการ ว่าหยุดลุกลามแล้วหรือยัง

ดังนั้นเกษตรกรควรตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบส่วนของใบ ดอก และผลทุเรียนที่เป็นโรคดังกล่าวแล้วให้ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก และใช้ ไอเอส ฉีดพ่นทางใบ ให้ทั่วทรงพุ่ม และครอบคลุมบริเวณ เว้นระยะ 3 วัน พ่นซ้ำ ต่อเนื่อง 2-4 ครั้ง

ภายหลังจาการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วให้เกษตรกรตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรค กิ่งแห้ง และตัดขั้วผลที่ค้างอยู่นำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อลดการสะสมของเชื้อสาเหตุโรค

นอกจากนี้ เกษตรกรชาวสวนทุเรียนต้องเฝ้าระวังในเรื่องการระบาดของ โรค เพลี้ยไก่แจ้ ซึ่งโรคดังกล่าวนี้จะกัดกินใบอ่อนของทุเรียน โดยมักพบการเข้าทำลายในระยะที่ทุเรียนแตกใบอ่อนถึงออกดอก

สิ่งที่เกษตรกรควรทำในขณะนี้คือ การหมั่นสำรวจแปลงทุเรียนอย่างละเอียดโดยเฉพาะทุเรียนที่มียอดแตกใบอ่อน เนื่องจากใบอ่อนสำหรับทุเรียนสำคัญมากจะออกเพียง 2 – 3 ชุดต่อปีเท่านั้น หากใบอ่อนชุดแรกเสียหายจากเพลี้ยไก่แจ้ ต้นก็จะไม่สมบูรณ์ส่งผลต่อการออกลูก มีผลกระทบต่อพัฒนาการทุเรียนทั้งระบบด้วย ลักษณะการทำลายของเพลี้ยไก่แจ้ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนของทุเรียนทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลืองไม่เจริญเติบโตและจะเล็กผิดปกติ ถ้าระบาดมากใบจะหงิกงอ แห้ง และร่วงหมดถึงขั้นทำให้ยอดอ่อนของทุเรียนตายได้ ตัวอ่อนของเพลี้ยไก่แจ้จะขับสารสีขาวออกมาทำให้เกิดเชื้อราตามบริเวณสารสีขาวที่เพลี้ยไก่แจ้ขับออกมา ส่วนระยะที่ทำลายมากที่สุดคือเพลี้ยไก่แจ้ในระยะตัวอ่อน

การป้องกัน กำจัด เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน

1. กระตุ้นการแตกไปอ่อนให้พร้อมกันทุกต้นเพื่อลดช่วงระยะเวลาการเข้าทำลายของเพลี้ยไก่แจ้ให้สั้นลง 

2. หมั่นตรวจแปลงพืชอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะส่วนใต้ใบหากพบว่ามีเพลี้ยไก่แจ้ให้รีบทำลายทันที

3. ควบคุม โดยการ ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ ป้องกันและกำจัดเพลี้ย เพื่อควบคุม เพลี้ยไก่แจ้ ในอัตราส่วน 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงเย็น อากาศไม่ร้อน ให้ชุ่มทั้งใบ ทั้งบนใบและใต้ใบ ทรงพุ่ม และบริเวณโดยรอบ ฉีดพ่นทุก 7 วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง

เกษตรกรต้องหมั่นสำรวจแปลงพืชอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนถ้าพบไม่มากนักให้ตัดส่วนที่มีแมลงระบาดที่ไปทำลายทิ้ง เพราะเพลี้ยไก่แจ้มักจะอยู่กันเป็นกลุ่มบริเวณส่วนยอดอ่อนใต้ใบ กิ่ง ลำต้นของพืช

สั่งซื้อสินค้าได้ที่
ลิงค์สั่งซื้อ http://www.farmkaset.org/html5/customer_update_add_self.aspx
โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี FarmKaset

ยาแก้ ทุเรียนรากเน่า ทุเรียนโคนเน่า เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน

ข้อมูลอ้างอิง https://www.paaktai.com/news_economy/detail/1480

Comments

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา