Posts

Showing posts from August, 2020

ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป iLAB ตรวจดิน ตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุต่างๆในดิน และปุ๋ย รวดเร็ว แม่นยำ

Image
เหมาะสำหรับเกษตรกร นักลงทุน นักวิจัย ผู้ผลิตปุ๋ย และทุกท่านที่สนใจ ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ง่ายๆ แค่นับ 1 2 3 1.เลือกค่าธาตุที่ต้องการตรวจที่  http://www.farmkaset.org/ilab/iLab.html  และกดส่งข้อมูล 2.ส่งตัวอย่างดินหรือปุ๋ยไปที่ iLab คำแนะนำที่  http://www.farmkaset.org/ilab/iLab_howto.html 3.รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ที่  http://www.farmkaset.org/ilab/iLab_reports.aspx

โมลิบดินัม (Mo) สำคัญกับพืช พืชที่ ขาดธาตุโมลิบดินัม จะแสดงอาการอย่างไร - ตรวจดินออนไลน์ ตรวจธาตุโมลิบดินัมในดิน

Image
บทบาทของ โมลิบดินัม ต่อการเจริญเติบโตของพืช โมลิบดินัม (Mo) เป็นอีกหนึ่งธาตุอาหาร ที่มีความจำเป็นต่อพืช เช่นเดียวกับแมงกานิส และธาตุอาหารพืชอื่นๆ พืชมีความจำเป็นที่ต้องการใช้ โมลิบดินัม (Mo) เล็กน้อย เพื่อให้การเจริญเติบโตเป็นไปได้อย่างปกติ อย่างไรก็ตาม ธาตุโมลิบดินัม (Mo) ก็มีส่วนสำคัญ ในการควบคุมการทำงานต่างๆของพืช โมลิบดินัม (Mo) กล่าวได้ว่า เป็นธาตุอาหารตัวสุดท้าย ที่พืชต้องการในปริมาณน้อยที่สุด การขาดธาตุโมลิบดินัม จึงไม่พบบ่อยหนัก แต่หากขาดแล้ว จะส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตของพืช และส่งผลเสียต่อคุณภาพของผลผลิต หน้าที่ของ โมลิบดินัม (Mo) โมลิบดินัม เป็นส่วนประกอบสำคัญใน เอนไซม์ 2 ชนิด ที่เปลี่ยน ไนเตรท เป็นไนไตรต์ (ไนโตรเจนในรูปที่เป็นพิษ) แล้วจากนั้นเป็น แอมโมเนีย ก่อนที่จะใช้ในการสังเคราะห์ กรดอะมิโน ภายในพืช นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นต่อกระบวนการตรงในโตรเจนในอากาศ ของพืชตระกูลถั่ว ในส่วนของกระบวนการเปลี่ยน ฟอสฟอรัสอนินทรีย์ ให้อยู่ในรูปแบบอินทรีย์ ภายในพืชนั้น ก็ต้องใช้ โมลิบดินัม เช่นกัน อาการขาดโมลิบดินัม ของพืช เนื่องจาก โมลิบดินัม (Mo) มีความเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดกับ ไนโตรเ

ธาตุโบรอน ช่วยให้พืชดูดซึม ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมได้ดีขึ้น ขาดโบรอน พืชแคระ โตช้า : ตรวจดิน ตรวจค่าโบรอน (B)

Image
โบรอน (B) เป็นธาตุเสริม ที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต และสุขภาพของพืชทุกชนิด โบรอน เป็นส่วนประกอบของผนังเซลพืช และเป็นส่วนประกอบของ โครงสร้างการสืบพันธุ์ โบรอน เป็นธาตุอาหารที่เคลื่อนที่ได้ภายในดิน แม้พืชจะต้องการใช้ ธาตุโบรอน (B) ในประมาณน้อย แต่ปัญหาการขาดธาตุเสริมในพืชนั้น พบว่าขาดโบรอนมากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจาก ธาตุสังกะสี (Zn) หน้าที่หลักของ โบรอน ในพืช โบรอน มีหลากหลายบทบาทสำคัญ ในการทำงานของพืช รวมถึงการสร้างผนังเซลล์ และเสถียรภาพของผนังเซลล์ การบำรุงความสมบูรณ์ของโครงสร้าง การเคลื่อนย้ายน้ำตาล และการเคลื่อนย้ายพลังงานไปยังส่วนที่เจริญเติบโต การผสมเกสร และการตั้งเมล็ด พืชจำเป็นต้องใช้โบรอนในการตรึงในโตรเจน  พืชที่ขาด โบรอน (B) จะส่งผลกระทบที่ เกสร พลังงานของละอองเกสรไม่ดี จำนวนดอกลดลง อาการพืชได้รับ ธาตุโบรอน ต่ำ กระทบกับการเจริญเติบโตของรากพืชด้วยเช่นกัน  พืชที่ได้รับ ธาตุโบรอน (B) เพียงพอ เทียบกับที่ได้รับไม่เพียงพอ การวิเคราะห์พืชที่ขาด ธาตุโบรอน (B) พืชส่วนใหญ่ ไม่สามารถระดม ธาตุโบรอน จากเนื้อเยื่อ ไปสร้างการเจริญเติบโตของส่วนต่างๆ เช่น ดอก ใบ ผล หรือเมล็ด การเคลื่อนย้า

ซิลิกอน ทำให้ผนังเซลล์พืชแข็งแรง สร้างความต้านทานพืชต่อ แบคทีเรีย เชื้อรา และต้านทางแมลงศัตรูพืช ซิลิกอน Silicon (Si) : ตรวจดิน ตรวจค่าซิลิกอน

Image
ซิลิกอน Silicon (Si) บทบาทและความสำคัญต่อพืช ซิลิกอน เป็นธาตุที่อุดมสมบูรณ์ มีมากเป็นอันดับสองของโลก รองจาก ออกซิเจน เทียบเป็นสัดส่วนแล้วมีมากถึง 25% ของเปลือกโลก ซิลิกอน กล่าวได้ว่าเป็นธาตุที่มีประโยชน์ต่อมนุษยชาติธาตุหนึ่งก็ไม่ผิด ใช้ในการทำไดนาโม บล็อคเครื่องยนต์ กลไก และทำเป็นเครื่องมือต่างๆ และยังเป็นส่วนสำคัญในการผลิตอุปกรณ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปจนถึงชิปคอมพิวเตอร์ พบมากที่สุดในส่วนประกอบของทราย และเป็นธาตุที่มีความสำคัญ ต่อสิ่งมีชีวิตทั้งปวง ทั้งพืช และสัตว์ เนื่องจาก ซิลิกอน มีอยู่มากในเปลือกโลก พืชจึงได้รับซิลิกอน ในปริมาณมาก ใกล้เคียงกับ ธาตุหลัก แม้ ซิลิกอน จะมีประโยชน์มากมายในการเกษตร ซิลิกอน (Si) โดยทั่วไปแล้ว ไม่ถือว่าเป็น ธาตุอาหารพืชที่จำเป็น โดยทั่วไปแล้ว ซิลิกอน เกิดในรูปของ ออกไซด์ (ซิลิกา : silica) และเป็น ซิลิเกต (Silicates) ซึ่งใช้ในปุ๋ย พืช ดูดซึมซิลิกอนทางราก เป็นกรด ซิลิซิก (silicic) และจะเดินทางไปจุดที่มีการเจริญเติบโตภายในพืช ซึ่งมีสารประกอบอินทรีย์ที่ซับซ้อน ในผนังเซลล์ และมีบทบาททำให้ ผนังเซลมีความแข็งแรงขึ้น ประโยชน์ของ ซิลิกอน (Si) ที่มีต่อพืช  จากผลกา

พืชขาดธาตุแคลเซียม จะเกิด ใบจุดสีน้ำตาล ใบจุดสีเหลือง ที่ใบใหม่ พืชที่ขาดธาตุแมกนีเซียม จะเกิดใบจุดน้ำตาล ใบจุดเหลือง ที่ใบแก่ : ตรวจดิน ตรวจธาตุแคลเซียม ตรวจค่าแมกนีเซียม

Image
การวินิจฉัย อาการขาดธาตุรองของพืช พืชขาด ธาตุแคลเซียม หรือขาด ธาตุแมกนีเซียม เราสามารถสังเกตุได้จากอาการของพืช การวินิจฉัยนี้ เป็นการสังเกตุอาการเบื้องต้น ให้ผู้อ่านทำความเข้าใจว่า อย่างไรก็แล้วแต่ อาการที่พืชแสดงให้เราสังเกตุได้นั้น ยังประกอบด้วยปัจจัยพื้นฐานอีกหลายองค์ประกอบ ในบทความนี้ เป็นการสังเกตุอาการเบื้องต้น เป็นแนวทางให้เราพอจะสันนิษฐาน เพื่อแก้ปัญหาให้กับพืชที่เราปลูกได้ ผู้อ่านเคยสังเกตุไหมว่า ทำไมผู้ผลิตปุ๋ย จึงเลือกให้ธาตุอาหารรองกับพืช โดยการผสมในปุ๋ยสูตรหลัก โดยเน้นไปที่ธาตุรองเป็น ธาตุแคลเซียม และ ธาตุแมกนีเซียม เป็นพิเศษ ในหลายๆผลิตภันฑ์ และหลายๆสูตรปุ๋ย สาเหตุเป็นเพราะว่า การวินิจฉัยว่าพืช ขาดธาตุแคลเซียม หรือ ขาดธาตุแมกนีเซียมนั้น ค่อนข้างจะบ่งชี้ได้ยาก  เรื่องของปฏิสัมพันธ์ระหว่างธาตุนั้น จะเริ่มจากโบรอน ไปสู่ธาตุอื่นๆต่างๆ ดังนี้  โบรอน > ซิลิคอน > แคลเซียม > ไนโตรเจน > แมกนีเซียม > ฟอสฟอรัส > คาร์บอน > โพแทสเซียม  จะเห็นได้ว่า ธาตุแคลเซียม จะจับกับ ธาตุไนโตรเจน ซึ่งไนโตรเจนนั้น เป็นองค์ประกอบหลักของ กรดอะมิโน ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของโปรตีน ซ

ตรวจดินออนไลน์ FK iLab : ความสำคัญของธาตุอาหารพืช ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแตสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน ฯลฯ

Image
 ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ในจำนวนธาตุอาหารที่พืชจำเป็นต้องใช้เพื่อการเจริญเติบโตออกดอก ออกผล ซึ่งมีอยู่ 16 ธาตุนั้น  มี 3 ธาตุ ที่พืชได้มาจากอากาศและน้ำ คือ คาร์บอน ( C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O)  ส่วนอีก 13 ธาตุนั้น พืชต้องดูดดึงขึ้นมาจากดิน ซึ่งธาตุเหล่านี้ได้มาจากการผุพงสลายตัวของส่วนที่เป็นอนินทรียวัตถุและอินทรียวัตถุหรือฮิวมัสในดิน สามารถแบ่งตามปริมาณที่พืชต้องการใช้ได้ เป็น 2 กลุ่มคือ มหธาตุ และจุลธาตุ คลิกที่นี่ เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ห้องปฏิบัติการ iLab 1. มหธาตุ (macronutrients) มหธาตุหรือธาตุอาหารที่พืชต้องการใช้ในปริมาณมาก ที่ได้มาจากดินมีอยู่ 6 ธาตุ ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S) แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ธาตุอาหารหลัก หรือ ธาตุปุ๋ย  ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) เนื่องจากสามธาตุนี้พืชต้องการใช้ในปริมาณมาก แต่มักจะได้รับจากดินไม่ค่อยเพียงพอกับความต้องการ ต้องช่วยเหลือโดยใส่ปุ๋ยอยู่เสมอ ธาตุอาหารรอง  ได้แก่ แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S) เป็นกลุ่มที่พืชต้องการใช้ในปริมาณท

ธาตุอาหารพืช โบรอน ซิลิคอน แคลเซียม ไนโตรเจน แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส คาร์บอน โพแทสเซียม สำคัญกับพืชอย่างไร - FK iLab ตรวจวิเคราะห์ดิน ตรวจวิเคราะห์ปุ๋ย รายงานผลออนไลน์

Image
ลำดับการทำงานของธาตุอาหารพืช (BIOCHEMICAL SEQUENCE) ในระบบเกษตรกรรม การให้ปุ๋ยเป็นการเพิ่มปริมาณ ธาตุอาหารให้แก่พืช ในเกษตรแผนใหม่จะให้ปุ๋ยเคมีตามธาตุอาหารหลัก ได้แก่  NPK หรือ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) เพื่อให้พืชนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้โดยตรง ซึ่งเป็นแนวคิด ที่ต่างจากเกษตรธรรมชาติ หรือเกษตรเชิงนิเวศซึ่งเน้นที่ปฏิสัมพันธ์ในระบบนิเวศ ซึ่งธาตุต่างๆ ก็มีทำงานกันเป็นลำดับขั้น โดยเริ่มจาก โบรอน > ซิลิคอน > แคลเซียม > ไนโตรเจน > แมกนีเซียม > ฟอสฟอรัส > คาร์บอน > โพแทสเซียม  ในระบบนิเวศเกษตร ปฏิสัมพันธ์ระหว่างธาตุจะเริ่มที่โบรอน ซึ่งธาตุโบรอน (Boron) จะกระตุ้นการทำงานของ ธาตุซิลิคอน (Silicon) ซึ่งเป็นธาตุที่สำคัญต่อการจับตัวกับสารอาหารอื่นๆ และจับกับ ธาตุแคลเซียม (Calcium) ซึ่งต่อมาจะจับกับ ธาตุไนโจรเจน (Nitrogen) โดยไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบหลักของ กรดอะมิโน รหัสทางพันธุกรรม และมีส่วนสำคัญต่อการแบ่งตัวของเซลล์ กรดอะมิโน เป็นองค์ประกอบหลักของโปรตีน และสารตั้งตนในการสร้าง คลอโรฟิลล์ ซึ่งพืชใช้ใน การสังเคราะห์แสง การสร้างคลอโรฟิลล์เองก็ต้องใช้ ธาตุแมกนีเซี

กำจัด ป้องกัน เพลี้ยอ่อนถั่วฝักยาว สาเหตุ ถั่วฝักยาวใบหงิก ถั่วฝักยาวไม่ติดฝัก ถั่วฝักยาวดอกร่วง

Image
ถั่วฝักยาวเป็นพืชผักที่คนไทยนิยมรับประทานกันมาก เนื่องจากมีรสชาติดี อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุสำคัญหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี โฟเลต ธาตุเหล็ก ดังนั้น ถั่วฝักยาวจึงนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกอีกชนิดหนึ่ง โดยมีพื้นที่ปลูกสำคัญอยู่ในจังหวัดปทุมธานี เพชรบูรณ์ และศรีษะเกษ ในช่วงสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง เกษตรกรผู้ปลูกถั่วฝักยาวมักพบการระบาดทำลายของเพลี้ยอ่อน (Aphis craccivora Koch) จึงขอให้เกษตรกรเฝ้าระวังการระบาดทำลายของศัตรูดังกล่าว ลักษณะของเพลี้ยอ่อนเป็นแมลงปากดูดขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ตัวเต็มวัยสามารถขยายพันธุ์โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ และออกลูกเป็นตัว ตัวอ่อนลอกคราบ 4 ครั้ง และเป็นตัวเต็มวัยภายใน 5-8 วัน ตัวเต็มวัยยาวประมาณ 1.4-1.9 มิลลิเมตร ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีท่อเล็ก ๆ 2 ท่อยื่นออกมาที่ปลายของส่วนท้อง การทำลายทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใต้ใบ ยอดอ่อน ตาอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก และฝักอ่อน ทำให้ส่วนที่ถูกทำลาย เช่น ใบอ่อนหงิกงอ ดอกร่วง ไม่ติดฝัก และหากฝักอ่อนถูกดูดกินน้ำเลี้ยงจะทำให้ฝักมีขนาดเล็กลง หากการทำลายรุนแรงจะทำให้หยุดการเจริญเ

เพลี้ยไฟมะม่วง (เพลี้ยไฟพริก ที่เข้าทำลายมะม่วง) และวิธีป้องกันกำจัด เพลี้ยไฟ ในมะม่วง

Image
เพลี้ยไฟพริก เข้าทำลายมะม่วง ในช่วงที่มะม่วงสู่ช่วงพัฒนาดอกให้กลายเป็นผล กรมวิชาการเกษตรเตือนชาวสวนมะม่วงให้เฝ้าการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟพริก ที่จะมาดูดกินน้ำเลี้ยงใบอ่อน ยอดอ่อน ตุ่มตาใบ ตุ่มตาดอก ช่อดอกมะม่วง โดยเฉพาะฐานรองดอกและขั้วผลอ่อน อาการ มะม่วงปลายใบไหม้ มะม่วงยอดแห้ง เมื่อเพลี้ยไฟมะม่วง (เพลี้ยไฟพริก) เข้าทำลายบนยอดอ่อนมะม่วง จะทำให้ใบที่แตกใหม่แคระแกร็น ขอบใบและปลายใบไหม้ ใบอาจร่วงตั้งแต่ยังเล็ก ส่วนใบที่โตแล้วจะเข้าทำลายตามขอบใบ ทำให้ใบม้วนงอและปลายใบไหม้ เข้าทำลายที่ยอด จะมีความรุนแรงจนทำให้ยอดแห้ง ไม่แทงช่อใบหรือช่อดอก ช่อดอกมะม่วงหงิกงอ ช่อดอกมะม่วงบิดเบี้ยว เข้าทำลายที่ตาดอก ช่อดอกจะบิดเบี้ยว หงิกงอ หรือติดผลน้อย ผลเล็กๆที่ถูกเพลี้ยไฟพริกทำลาย อาจร่วงหล่นได้...เข้าทำลายในระยะติดดอก จะทำให้ช่อดอกหงิกงอ ดอกร่วงไม่ติดผล หรือติดผลน้อย มะม่วงผลดำ เข้าทำลายในระยะติดผลอ่อน จะพบแผลเป็นวงสีเทาเงินเกือบดำชัดเจนใกล้ขั้วผล หรือผลบิดเบี้ยว หากระบาดรุนแรง ผิวของผลมะม่วงจะเป็นสีดำเกือบทั้งหมด หากพบการระบาดไม่มาก ให้เกษตรกรตัดส่วนที่เพลี้ยระบาดไปเผาทำลายทิ้งนอกแปลงปลูก เพราะเพลี้ยไฟพริก

ยาฆ่าเพลี้ยไฟแตงโม ปลอดสารพิษ มาคา และปุ๋ยบำรุงแตงโม ให้ฟื้นตัวไว กลับมาให้ผลผลิตที่ดีขึ้น

Image
ป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟ ในแตงโม ด้วยการฉีดพ่น มาคา ผสมกับ FK-1 มาคา เป็นสารอินทรีย์ ป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟ ปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค ใช้ได้ผลเป็นอย่างดี เพราะสกัดจากพืชหลากหลายชนิด ทำให้เพลี้ยไฟ และแมลงศัตรูพืชอื่นๆ ไม่ดื้อยา มีคุณสมบัติ ฆ่า ไล่ และป้องกัน เพลี้ยไฟ และแมลงศัตรูพืชต่างๆ FK-1 นั้นประกอบด้วน สารจับใบ ธาตุรอง ธาตุเสริมต่างๆ ที่จะช่วยเร่งฟื้นฟูแตงโม จากการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้อย่างรวดเร็ว กลับมาเจริญเติบโตไว ให้ผลผลิตดี ผลโต มีคุณภาพ มีราสชาติดี อัตราส่วนผสม  มาคา 50ซีซี  FK-1 ถุงที่ 1 50กรัม  FK-1 ถุงที่ 2 50 กรัม  ต่อน้ำ 20 ลิตร  หมายเหตุ  50ซีซี คือ ใช้ฝาของมาคาเอง ตวง 2 ฝา 50กรัม คือ ใช้ช้อนโต๊ะตัก ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ สั่งซื้อได้ที่  http://www.farmkaset.org/html5/customer_update_add_self.aspx ไลน์ไอดี FarmKaset โทร 090-592-8614 หรือแชทผ่านทาง เฟสบุ๊คเพจ ฟาร์มเกษตร

พริกใบหงิก พริกยอดหงิก เกิดการ เพลี้ยไฟพริก และ ไรขาว การป้องกัน การทำจัด เพลี้ยไฟ และไรขาว ในพริก

Image
อาการใบหงิกพริก ที่เกิดจากเพลี้ยไฟและไรขาว อาการที่เกิดจากเพลี้ยไฟเข้าทำลาย : ยอด ตาดอกและใบหงิก ก้านใบหรือเนื้อใบด้านล่างมีรอยด้านสีน้ำตาล ขอบใบม้วนงอขึ้นด้านบนอาการรุนแรงปลายใบแห้งใบม้วนขึ้น พริกกำลังออกดอกจะทำให้ดอกร่วง กำลังติดผลจะทำให้ฝักบิดงอ อาการที่เกิดจาก เพลี้ยไฟ และ ไรขาว เข้าทำลาย : เนื้อใบบริเวณโคนใบรีดเรียวยาว ใบโค้ง ขอบใบม้วนลงด้านล่าง บริเวณยอดหงิกเป็นฝอยและสีน้ำตาลแดง ทำให้ต้นพริกแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโตชะงักการออกดอก สาเหตุ : เกิดจาก เพลี้ยไฟ และ ไรขาว ลักษณะอาการ : อาการที่เกิดจากเพลี้ยไฟเข้าทำลาย ยอด ตาดอกและใบหงิก ก้านใบหรือเนื้อใบด้านล่างมีรอยด้านสีน้ำตาล ขอบใบม้วนงอขึ้นด้านบน อาการรุนแรงปลายใบแห้งใบม้วนขึ้น พริกกำลังออกดอกจะทำให้ดอกร่วง กำลังติดผลจะทำให้ฝักบิดงอ อาการที่เกิดจากไรขาวเข้าทำลาย เนื้อใบบริเวณโคนใบรีดเรียวยาว ใบโค้ง ขอบใบม้วนลงด้านล่าง บริเวณยอดหงิกเป็นฝอยและสีน้ำตาลแดง ทำให้ต้นพริกแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโตชะงักการออกดอก การแพร่ระบาด  - เพลี้ยไฟ แพร่ระบาดช่วงอากาศร้อนและแล้ง - ไรขาว แพร่ระบาดในฤดูฝน เมื่อสภาพอากาศเย็นและชื้น พริกที่พบอาการใบหงิก : พริก

โรคอินทผลัมใบไหม้ อินทผลัมยอดเน่า และโรค ใบจุดอินทผลัม ฉีดพ่น ไอเอส เพื่อป้องกันกำจัดโรคต่างๆเหล่านี้

Image
โรคและแมลงศัตรูอินทผาลัม มีอยู่ไม่มากนัก และมีวิธีป้องกันกำจัดที่ไม่ยุ่งยาก หากเกษตรกรหรือผู้ปลูกอินทผาลัมละเลย ไม่ใส่ใจดูแล ก็จะทำให้เรื่องง่ายกลายเป็นยาก และเกิดความเสียหายอย่างแน่นอน…กันไว้ดีกว่าแก้ดีกว่านะคะ โรคอินทผาลัม โรคใบไหม้ โรคอินทผลัมใบไหม้ สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Curvularia eragrostidis อาการของโรคใบไหม้อินทผลัม เกิดแผลรูปร่างกลมรีที่มีรอยบุ๋มตรงกลางเนื้อแผลสีน้ำตาล ขอบแผลนูน มีลักษณะฉ่ำน้ำ มีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล ความยาวของแผลประมาณ 7 ถึง 8 มิลลิเมตร ในขั้นรุนแรง แผลขยายตัวรวมกันทำให้ใบแห้งม้วนงอ เปราะ และฉีกขาดง่าย ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต และตายได้ การป้องกันและกำจัด โรคอินทผลัมใบไหม้ เผาทำลายใบและต้นที่เป็นโรค ฉีดพ่นด้วยสารอินทรีย์ป้องกัน และยับยั้งโรคพืช ทีมีสาเหตุจากเชื้อรา ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน ในช่วงที่มีการระบาด โรคยอดเน่า โรคอินทผลัมยอดเน่า พบระบาดมากในฤดูฝน โรคนี้สามารถเข้าทำลายต้นอินทผาลัมตั้งแต่ในระยะต้นกล้า และพบมากกับต้นอินทผาลัมที่มีอายุ 1 ถึง 3 ปี สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากเชื้อโรคใด แต่จากการแยกเชื้อพบเชื้อโรคพืชหลาย