Posts

Showing posts from November, 2020

การป้องกันกำจัด โรคแอนแทรคโนสในมะม่วง

Image
โรคแอนแทรคโนสในมะม่วง สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides Penz.อาการบนใบอ่อนเริ่มจากการเป็นจุดชุ่มน้ําและเปลี่ยนเป็นสีดําต่อไป บริเวณที่เป็นแผลจะหดตัวเล็กลงเล็กน้อยจนดึงให้ใบบิดเบี้ยว ใบแก่ขนาดของจุดจะมีขนาดคงที่ค่อนข้างเป็นเหลี่ยม เมื่อมะม่วงแทงช่อดอก เชื้อจะเข้าทําลายที่ช่อดอก ทําให้ช่อดอกแห้ง ดอกร่วง ช่อที่ติดผลอ่อนรวมทั้งผลแก่จะมีแผลเน่าดํา ในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง จะมีสปอร์สีชมพูเกิดขึ้นตามแผลที่เป็นโรค ยารักษา โรคแอนแทรคโนสมะม่วง  ปุ๋ยฉีดพ่น บำรุงมะม่วง การสั่งซื้อ โทร 090-592-8614 ไลน์ไอดี FarmKaset หรือทักแชทที่เพจ ฟาร์มเกษตร อ้างอิง opsmoac.go.th/singburi-local_wisdom-files-411891791796

การป้องกัน กำจัด โรคแอนแทรคโนสในทุเรียน

Image
โรคแอนแทรคโนสในทุเรียน  สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum zibethinum Sacc. อาการบนใบแผลเป็นจุดวงสีน้ําตาลแดงซ้อนกัน ลมและฝนพัดพาโรคจากใบและกิ่งสู่ดอก ในระยะช่อดอกบานจะถูกทําลาย โดยเชื้อรา ทําให้ดอกเน่าก่อนบาน มีราสีเทาดํา เจริญฟูคลุมกลีบดอก ทําให้ดอกแห้งร่วงหล่นไป ยารักษา  โรคแอนแทรคโนสในทุเรียน ปุ๋ย ยา บำรุงทุเรียน การสั่งซื้อ โทร 090-592-8614 ไลน์ไอดี FarmKaset หรือทักแชทที่เพจ ฟาร์มเกษตร อ้างอิง opsmoac.go.th/singburi-local_wisdom-files-411891791796

การป้องกันกำจัด โรคแอนแทรคโนสแตงโม

Image
โรคแอนแทรคโนสแตงโม  สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum lagenarium (Pass.)  อาการแรกๆของ โรคแอนแทรโนสแตงโม ที่ใบเป็นจุดเหลืองเล็กๆ หรือจุดฉ่ำน้ํา ซึ่งจะขยายใหญ่อย่างรวดเร็ว และเปลี่ยนเป็นสีน้ําตาลเข้ม จนถึงดําในแตงโม อาการที่ลําต้น แผลขยายยาวเปลี่ยนเป็นสีดํา ใบร่วง อาการที่ผลอ่อนอาจจะเปลี่ยนเป็นสีดํา ร่วง แตงโมผลใหญ่จะมีจุดแผลฉ่ำน้ําสีดํา ทําให้ผลเน่า ยารักษา โรคแอนแทรคโนสแตงโม ปุ๋ย ยา บำรุงแตงโม การสั่งซื้อ โทร 090-592-8614 ไลน์ไอดี FarmKaset หรือทักแชทที่เพจ ฟาร์มเกษตร อ้างอิง opsmoac.go.th/singburi-local_wisdom-files-411891791796

ป้องกันกำจัด โรคสแคป โรคใบจุด โรคเชื้อราต่างๆ ในสวนองุ่น

Image
โรคสแคป ในองุ่น กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกองุ่นให้สังเกตการระบาดของ โรคสแคป หรือ โรคใบจุด มักพบอาการของโรคได้ในระยะที่องุ่นแตกใบอ่อนและเริ่มติดผลอ่อน สำหรับโรคสแคปที่พบได้ในช่วงนี้จะแสดงอาการของโรคบนใบและกิ่งก้าน ในระยะแรกจะคล้ายกับอาการของโรคแอนแทรคโนส แต่จะเห็นอาการของโรคแตกต่างกันได้อย่างชัดเจนที่ผล ส่วนอาการบนใบ จะพบอาการบนใบอ่อนเป็นจุดแผลขนาดเล็กสีน้ำตาลอ่อนกระจายอยู่ทั่วใบ ใบหงิกงอ ต่อมาแผลขยายใหญ่ เนื้อใบที่เป็นแผลจะแห้งและเป็นรูพรุน อาการบนเถา กิ่ง ก้าน และมือเกาะ เริ่มแรกเป็นจุดแผลสีน้ำตาล กรณีโรคระบาดรุนแรง แผลขยายตัวขนาดใหญ่ติดต่อกัน แผลกลมสีน้ำตาล ค่อนข้างแห้ง ขอบแผลนูนแข็ง หากเกิดโรคบนกิ่งบริเวณส่วนยอด จะทำให้ยอดบิดเบี้ยว อาการที่ผล เกิดแผลจุดสีดำยุบตัวลง ขอบแผลนูนขึ้นเห็นได้ชัดเจน หากอาการรุนแรง แผลจะขยายใหญ่ติดต่อกัน ขอบแผลมีสีอ่อนกว่าตรงกลางแผล และแผลค่อนข้างแห้ง หากพบการระบาดมากของโรคสแคปในช่วงแตกใบอ่อน ให้เกษตรกรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง มีอากาศถ่ายเทสะดวก อย่าให้มีใบแน่นทึบจนเกินไป อีกทั้งควรตัดและเก็บส่วนที่เป็นโรคออกจากแปลงไปเผ

การป้องกัน กำจัด โรค แอนแทรคโนส ในต้นหอม

Image
โรคแอนแทรคโนสในหอม  สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides Penz. เป็นโรคที่มีความสําคัญที่สุดในหอม อาการมักเริ่มเกิดที่โคนใบ ทําให้ ใบหอมหักงอ แผลขยายลามออกไปเป็นวงๆขอบวงมีสี เหลืองจาง มีสปอร์ เกิดขึ้นภายในวงนั้น บางครั้งหอมต้นเล็กใบม้วนงอและบิดเป็น เกลียว ใบทอดนอนยาวอยู่ตามพื้น โรคเข้าทําลายถึงหัวทําให้หอมไม่ลงหัว และต้น เลื้อยได้ ต้นจะเตี้ยสั้นหัวเล็ก มีแผลที่หัวซึ่งกินลึกลงในเนื้อทําให้ส่วนโคนต้นแข็ง ผลผลิตไม่มีคุณภาพ เก็บรักษาได้ไม่นาน โรคมักเกิดรุนแรงในช่วงฤดูฝน ยารักษา โรคแอนแทรคโนส และโรคเชื้อราต่างๆ ปุ๋ย ยา บำรุงต้นหอม การสั่งซื้อ โทร 090-592-8614 ไลน์ไอดี FarmKaset หรือทักแชทที่เพจ ฟาร์มเกษตร อ้างอิง opsmoac.go.th/singburi-local_wisdom-files-411891791796

การป้องกันกำจัด โรคมะนาว แคงเกอร์ ราดำ กรีนนิ่ง โรคยางไหล รากเน่าโคนเน่า

Image
1. โรคแคงเกอร์มะนาว  ลักษณะอาการของ โรคแคงเกอร์ในมะนาว จะเกิดขึ้นได้แทบทุกส่วน ทั้งที่ใบ กิ่งก้าน และผล โดยอาการที่ใบและผล จะมีลักษณะคล้ายกัน คือจะเกิดเป็นแผลกลม แล้วจะขยายใหญ่ ฟู นูนคล้ายฟองน้ำ มีสีเหลืองอ่อนถึงสีเหลืองเข้ม ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม และจะแตกเป็นสะเก็ด มีวงแหวนสีเหลือง ล้อมรอบแผล ส่วนอาการที่กิ่งก้าน จะมีแผลฟูนูนสีเหลือง ต่อมาแผลจะ แตกแห้ง เป็นสีน้ำตาลขยายไปรอบๆ กิ่ง รูปร่างธองแผลไม่แน่นอน และไม่มีวงแหวน ล้อมรอบ เมื่อต้นมะนาวเป็นโรคนี้มากๆ จะแสดงอาการต้นโทรม แคระแกร็น ใบร่วง ผลผลิตลดลง กิ่งและต้นจะแห้งตายในที่สุด  การป้องกันกำจัดโรคแคงเกอร์มะนาว ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคเผาทำลาย ไม่ขยายพันธุ์จากต้นแม่ที่เป็นโรคแคงเกอร์ พยายามอย่าให้มะนาวเกิดบาดแผล และป้องกันแมลงที่เป็นพาหะ เช่น หนอนชอนใบ หรือฉีดพ่นด้วยสารเคมี กำจัดแมลงกลุ่มคาร์บาริล มาลาไธออ 2. โรคราดำมะนาว ลักษณะอาการของมะนาวเป็นโรคราดำ ใบ กิ่งก้าน และผลจะมีราสีดำ สกปรก กระด้าง ทำให้ผมไม่สวย ต้นมะนาวจะแคระแกร็น การป้องกันกำจัดโรคราดำในมะนาว ทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟหรือใช้ สารเคมีกำจัดแมลงฉีดพ่นเพื่อกำจัดแมลงประ

โรคราสนิม การป้องกันกำจัดโรคราสนิม

Image
ราสนิม ชื่อเชื้อสาเหตุของโรคราสนิม - เชื้อรา Phakopsora pachyrhizi Sydow ลักษณะอาการของโรคราสนิม อาการของโรคจะพบได้บนใบกิ่งก้านและลำต้น แต่ส่วนใหญ่จะพบบนใบอาการครั้งแรกจะสังเกตเห็นได้ โดยใต้ใบจะมีจุดสีน้ำตาลเทาเล็ก ๆ โดยจะเริ่มจากใบที่อยู่ด้านล่าง ๆ ของลำต้น จุดนี้จะขยายขึ้นมีลักษณะนูนดูคล้ายผงสีน้ำตาลคล้ายสีสนิมเหล็ก ซึ่งอาจพบได้ทั้งด้านบนและด้านใต้ใบ แต่จะพบเห็นได้ชัดเจนที่ด้านใต้ใบ (ภาพที่ 1) ในระยะหลังนี้เมื่อลองใช้มือลูบที่บริเวณจุดนูนเหล่านี้จะพบผงสปอร์สีน้ำตาลคล้ายสนิมเหล็กติดมือมา ใบถั่วเหลืองที่เป็นโรคมาก ๆ จะมีอาการเหลือง แห้ง และจะล่วงก่อนกำหนด อาจทำให้ฝักและเมล็ดที่ได้จะมีขนาดเล็กลง ผลผลิตลดลง อาการของโรคราสนิม ในระยะเริ่มแรกจะใกล้เคียงกับโรคใบจุดนูน ทำให้เกิดการสับสนในการวินิจฉัยได้ อย่างไรก็ตามหากดูด้วยแว่นขยายจะพบว่าเนื้อเยื่อรอบจุดแผลของโรคราสนิม จะไม่มีลักษณะช้ำน้ำให้เห็น และลักษณะของจุดแผลจะค่อนข้างแหลม การแพร่ระบาดของโรคราสนิม โรคราสนิมแพร่ระบาดได้ดีในสภาพพื้นที่ที่มีความชื้นสูง อุณหภูมิค่อนข้างต่ำ โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 18-21 องศาเซลเซียส ในการแพร่ระบาดจะอา

โรคราสนิมถั่วฝักยาว และโรคใบจุดถั่วฝักยาว การป้องกัน การรักษา

Image
โรคราสนิม ที่เกิดกับถั่วฝักยาว ในระยะถั่วฝักยาวเริ่มออกดอก  เกิดจาก เชื้อรายูโรมายเซส  เป็นช่วงที่ โรคราสนิมถั่วฝักยาว เข้าทำลาย มักพบใต้ใบแก่ของถั่วฝักยาว ลุกลามจากใบด้านล่าง ขึ้นบน บริเวณลำต้นมีแผลจุด สีเหลืองซีด มีตุ่มสีน้ำตาลกลางแผล และค่อยๆขยายแตกออกเป็นผงคล้ายสนิม สามารถลุกลามกระจายทั้งใบ ทำให้ใบหลุดร่วง โรคใบจุด ที่พบในถั่วฝักยาว อาการของ โรคใบจุดถั่วฝักยาว  เกิดจาก เชื้อราเซอโคสปอร่า  จะเริ่มที่ใบล่างใกล้ดินก่อน พบเป็นจุดเล็กๆสีน้ำตาล และขยายใหญ่ขึ้น จนสามารถกระจายไปทั่วใบ บางครั้งพบอาการเชื้อราขึ้นเป็นปุยๆ สีน้ำตาลบริเวณหลังใบร่วมด้วย ส่งผลให้ ถั่วฝักยาวใบแห้งกรอบ ถั่วฝักยาวใบร่วง ชะงักการเจริญเติบโต ส่งผลกระทบไปยังผลผลิต ทำให้ได้ผลผลิตไม่มีคุณภาพ ได้ผลผลิตน้อย การป้องกัน กำจัด โรคใบจุด และโรคราสนิม ในถั่วฝักยาว - ตัดใบที่เป็นโรค ไปเผาทำลายนอกแปลง - ฉีดพ่นด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ในอัตราส่วน 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วแปลง และบริเวณโดยรอบ ฉีดพ่นครั้งแรก เว้นระยะ 3 วัน ฉีดพ่นซ้ำ เฝ้าดูอาการทุก 7 วัน - สามารถฟื้นฟู และส่งเสริมให้พืชฟ

การป้องกันและกำจัดโรค ที่เกิดกับลิ้นจี่

Image
โรคใบจุดสนิม หรือจุดสาหร่าย ในลิ้นจี่ สาเหตุ สาหร่ายเซฟาลิวโรส ( Cephaleuros virescens) ลักษณะอาการ เกิดบนใบแก่ลิ้นจี่ แผลเริ่มแรกเป็นจุดขุยสีเทาอมเขียวฟูเล็กน้อย เกิดกระจัดกระจายบนใบ ต่อมาจุดจะขยายออกและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมส้มหรือสีสนิม ลักษณะค่อนข้างกลมขนาด 3-5 มิลลิเมตร ระยะต่อมาจุดจะแห้งและทำให้เนื้อเยื่อใบทั้งด้านบนและใต้ใบบริเวณแผลมีลักษณะสีน้ำตาลดำ ในที่สุดใบที่เป็นโรคจะมีสีซีดเหลืองปนน้ำตาลและใบร่วง การแพร่ระบาด ของโรคลิ้นจี่ใบจุดสนิม สาหร่ายแพร่ระบาดไปกับลมและพายุฝน  เข้าทำลายในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง พืชอาศัยของสาหร่ายชนิดนี้มีหลายชนิดเช่น มะม่วง ลำไย เงาะ ฝรั่ง ส้ม ทุเรียน และไม้ผลอื่น ๆ การป้องกันกำจัดโรคใบจุด ในลิ้นจี่ ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง และพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ โรคราสนิมลิ้นจี่ สาเหตุ เชื้อราสเกอกา (Skierka nephelii) ลักษณะอาการ ใบลิ้นจี่ที่แก่บริเวณใต้ทรงพุ่ม แสดงอาการเป็นจุดนูนขนาดเล็กมากสีเหลือง เกิดกระจัด กระจายทางด้านใต้ใบ และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในระยะต่อมา การแพร่ระบาด สปอร์ของเชื้อราฟุ้งกระจายแพร่ระบาดไปกับลมและพายุ ในสภาพอากาศทางภ

อาการป่วยของพืช ที่ ใบไม้ บอกให้คุณดูแล

Image
6 สัญญาณที่จะเตือนให้คุณรู้ล่วงหน้าว่า ตอนนี้ต้นไม้ของคุณโคม่าแค่ไหน และเราจะช่วยต้นไม้ของเราได้อย่างไรบ้าง 1. ใบไม้กลายเป็นสีน้ำตาลแห้งกรอบ หากเราต้องการให้ใบไม้กลับมาเขียวขจีเหมือนเดิม ก็ต้องรดน้ำต้นไม้เพิ่มความชุ่มชื่นให้กับดิน 2. ใบจะขาด ต้นไม่โต ต้นไม้ของคุณกำลังขาดน้ำ บางคนเลือกปลูกต้นไม้ที่ไม่ต้องการน้ำ เพราะตนเองไม่ค่อยมีเวลาดูแล เอาใจใส่ แต่ถ้าคุณสังเกตเห็นว่าตั้งแต่คุณซื้อต้นไม้ต้นนั้นมาแล้วมันยังเท่าเดิม แสดงว่าคุณควรให้น้ำมันบ่อยครั้งขึ้น 3. ขอบใบกำลังเป็นสีเหลือง นั่นแสดงว่าคุณอาจต้องลดการให้น้ำลง แต่ก็ไม่ใช่ขาดการให้น้ำไปเลยซะทีเดียว หรือไม่ใช่ว่ารดน้ำจนแฉะหรือท่วม 4. ใบไม้เริ่มผิดรูปหรือกำลังซีดจาง การให้น้ำต้นไม้มากเกินไปเป็นวิธีการฆ่าต้นไม้อันดับต้นๆ บางครั้งคุณอาจต้องสำรวจว่ากระถางปลูกต้นไม้ของคุณมีรูระบายน้ำเพียงพอไหม หากไม่มีอาจต้องเพิ่มเพื่อให้เกิดการระบายน้ำที่ดี 5. ใบของต้นไม้ซีดปกติ นั่นแสดงว่าต้นไม้หิวและขาดธาตุเหล็ก แนะนำให้คุณเปลี่ยนขนาดกระถางและเพิ่มดินและธาตุอาหารในดินให้กับต้นไม้ของคุณ 6. ใบของต้นไม้เอียงไปด้านข้าง ใบไม้ของคุณกำลังเอนตัวไปหาแสงแดด ดั

การฟื้นฟูต้นไม้ ไม่ดอก ไม้ประดับ ที่เป็นโรคต่างๆ ให้กลับมาสมบูรณ์ แข็งแรง เหมือนเดิม

Image
โรคที่เกิดขึ้นกับ ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถางนั้น เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง อากาศถ่ายเทไม่ดี วางในที่อัปชื้น ระบบระบายน้ำในกระถาง หรือบริเวณที่ปลูกไม่ดี แดดส่องไม่ถึง แดดจัดเกินไป รดน้ำบ่อยเกินไป ดินเก่า เป็นแหล่งสะสมของเชื้อรา ต้นกำเนิดของโรคต่างๆ  1. โรคเน่าเละ (Soft Rot) มักพบกับไม้ใบที่มีดินปลูกแน่นและไม่ได้เปลี่ยนดิน ทำให้น้ำขังแฉะ เซลล์ในรากพืชอวบเต่งและมีเชื้อแบคทีเรีย (Erwinia carotovora) เข้าทำลายจนรากเน่า 2. โรครากเน่า (Root Rot) เกิดจากวัสดุปลูกที่แฉะเกินไป ทำให้เชื้อรา Pythium spp. เข้าทำลายส่งผลให้ต้นเหี่ยว ใบที่โคนเหลืองและร่วง รากเน่า นอกจากนี้อาการรากเน่ายังพบกับไม้ใบที่เพิ่งนำเข้าจากต่างประเทศหรือเพิ่งปลูกใหม่ หากต้นปรับตัวได้อาการเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น 3. โรคโคนเน่า (Stem Rot) มักเกิดกับต้นที่เพิ่งตัดมาปักชำ โดยเฉพาะอโกลนีมาและสาวน้อยประแป้งจะมีเชื้อรา Fusarium spp. เข้าทำลายบริเวณรอยตัด ทำให้โคนกิ่งมีสีน้ำตาลและดำ ใบเหี่ยวเหลืองร่วง จนอาจทำให้กิ่งเน่าทั้งกิ่ง 4. โรคราเม็ดผักกาด (Southern Blight) มีเชื้อราสาเหตุคือ Sclerotium rolfsii ที่มักติ

โรคใบไหม้ในหน้าวัว และโรคใบไหม้ใน สาวน้อยปะแป้ง

Image
ชื่อศัตรูพืช (Name of pest) ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)   Xanthomonas axonopodis pv.dieffenbachiae (McCulloch & Pirone 1939) Vauterin et al.1995 ชื่อพ้อง (Synonym)   Bacterium dieffenbachiae, Phytomonas dieffenbachiae, Xanthomonas campestris pv. dieffenbachiae , Xanthomonas campestris pv. syngonii, Xanthomonas dieffenbachiae ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information) Domain (Kingdom)       Phylum  Proteobacteria       Class  Gammaproteobacteria          Order  Xanthomonadales              Family  Xanthomonadaceae                 Genus  Xanthomonas                    Species  axonopodis                    Sub Species                      Pathover/Biovar/Race   ชื่อโรค (Disease name) ชื่อโรคภาษาไทย (Disease name, Thai)  โรคใบไหม้หน้าวัว ชื่อโรคภาษาอังกฤษ (Disease name)  bacterial blight of anthurium ลักษณะอาการของโรค (Disease symptoms and developments) ระยะการเข้าทำลาย:  ลักษณะอาการทั่วไป: ใบไหม้ มีวงสีเหลืองรอบแผล ดอกไหม้ ทำให้ดอกร่วง ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย: ใบ ดอก พืชอาศัย

การป้องกันกำจัด โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว

Image
โรคยอดเน่ามะพร้าว (Heart leaf rot)  เกิดจาก เชื้อรา Pythium sp. และมักเกิดกับมะพร้าวพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น พันธุ์มลายูสีเหลือง ต้นเตี้ย โรคนี้มกพบบ่อยในระยะต้นกล้า ในสภาพที่มีฝนตกชุก และอากาศมีความชื้นสูง อาการมะพร้าวยอดเน่า มะพร้าวผลร่วง ลักษณะอาการ โรคมะพร้าวยอดเน่า ระยะแรกจะพบแผลเน่าสีดำบริเวณตรงโคนยอด จากนั้นจะขยายลุกลามต่อไปจนทำให้ใบย่อยทั้งใบแห้งเป็นสีน้ำตาล สามารถดึงหลุดออกได้ง่าย ต้นกล้าจะเหี่ยวเฉาและแห้งตายไปในที่สุด หากเกิดกับมะพร้าวใหญ่ อาจมีทางใหม่เกิดขึ้นแต่ใบจะผิดปกติ ก้านทางจะสั้น มีใบย่อยเล็กๆ เกิดเฉพาะบริเวณปลายก้านทาง การป้องกันกำจัดโรคยอดเน่าในมะพร้าว ในการย้ายต้นกล้าอย่าพยายามให้หน่อช้ำ เพราะโรคอาจจะเข้าทำลายได้ง่าย หากพบอาการของโรคในระยะแรกให้ตัดส่วนที่เป็นโรคออก แล้วฉีดพ่นด้วยสารฆ่าเชื้อรา ไอเอส ในอัตรา 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน หมั่นสังเกตุอาการ ต้นกล้าหรือส่วนที่โรคทำลายให้เผาทำลายให้หมดเพื่อป้องกันการทำลายต่อไป การเร่งฟื้นฟูมะพร้าว จากการเข้าทำลายของโรคนั้น ฉีดพ่นด้วย FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม เพื่อช่วยฟื้นตัว และส่งเสริมก

การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี

Image
การควบคุมศัตรูพืช โดยชีววิธี เป็นกรรมวิธีที่นำสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยนำเอาแมลงและสัตว์อื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ ได้แก่  ตัวห้ำ  ตัวเบียน  และเชื้อโรค มาช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืช  วิธีการนี้เป็นวิธีการดั้งเดิมซึ่งมนุษย์มีแนวความคิดที่จะใช้สิ่งที่มีประโยชน์ในธรรมชาติมาช่วยปราบแมลงศัตรูพืช  เป็นการลดการใช้ยาฆ่าแมลงซึ่งเป็นอันตรายทั้งต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม  การใช้ แมลง กำจัดแมลง ในสภาพธรรมชาติ มีสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีพโดยการกินหรืออาศัยสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นเป็นอาหาร ซึ่งเรียกสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้ ว่า ตัวห้ำและตัวเบียน แต่ในทางการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี เราจะมองเฉพาะในกลุ่มของแมลงเป็นหลัก เนื่องจาก แมลงเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีมากที่สุดและมีศักยภาพในการสามารถนำมาพัฒนาเพื่อใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งเรียกแมลงกลุ่มนี้ว่า แมลงห้ำ  และแมลงเบียน  แมลงห้ำ   ในทางวิชาการ หมายถึง แมลงที่กินแมลงชนิดอื่น ๆ เป็นอาหาร และจะกินเหยื่อได้หลายตัว จนกว่าจะเจริญเติบโตครบวงจรชีวิต ซึ่งการกินจะกินเหยื่อไปเรื่อย ๆ และมักจะไม่จำกัดวัยของเหยื่อคือสามารถทำลาย

เพลี้ย เพลี้ยจะใช้ปากดูดสารอาหารจากยางหรือของเหลวจากต้นไม้ เป็นเหตุให้ผลผลิตพืชเสียหาย

Image
เพลี้ย เจ้าแมลงตัวจิ๋ว ปากจู๋ สีกลืนกับใบไม้เหล่านี้ คือศัตรูพืชตัวฉกาจ ที่มาพร้อมฤทธิ์ระดับพระกาฬ จนผู้ปะกอบ อาชีพเกษตรกร มากมายผวา เพราะความสามารถทำลายล้างสูงมาก เรียกว่าพืชตายไปไร่ ล่มสลายกันเป็นสวนเลย เพลี้ย  จะแฝงกายตัวเองไว้ในทุกสวน ทุกไร่ แล้วแต่ว่าจะเป็นพันธุ์ไหน ซึ่งแต่ละพันธุ์ก็จะมีลักษณะแตกต่างกันไป เพลี้ยจะใช้ปากดูดสารอาหารจากยางหรือของเหลวจากต้นไม้ เพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ ที่เพลี้ยสามารถทำให้ต้นไม้ ดอกไม้เฉาตายลงได้ ดังนั้นเราต้องรีบทำลายล้างเขาก่อน ที่เขาจะมาทำลายผลผลิตครับ เพลี้ยจะตัวเล็กมาก ตาใส แทบมองไม่เห็น มีสีขาว ดำ น้ำตาล เทา เหลือง หรือแม้กระทั่งชมพู บางพันธุ์อาจจะมีขี้ผึ้งหรือมีขนห่อหุ้มลำตัว มีหนวดยาว ตัวอ่อนหรือตัวผู้ใหญ่ก็มีไซส์ไม่แตกต่างกัน โดยเพลี้ยผู้ใหญ่จะแตกต่างจากเพลี้ยอ่อนตรงไม่มีปีกแค่นั้น เมื่อเพลี้ยดูดกินสารอาหารจากต้นนึงหมดก็จะย้ายไปดูดต้นถัดไป เรียกว่าสร้างอาณาบริเวณของตนเองไปเรื่อยๆ ไม่จบสิ้น โดนที่กว่าเราจะรู้ตัว เพลี้ยก็ขยายเกาะกินพืชเราไปเยอะแล้ว ปกติแล้วเราจะเรียกชื่อเพลี้ยตามพฤติกรรมและลักษณะ เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดด เพลี้ยแป้ง และเราก็อาจจ

แมลงศัตรูพืช (Insect pest)

Image
การเพาะปลูกในระบบเกษตรอาจมีปัญหาแมลงศัตรูพืชระบาดได้ เช่น เพราะสมดุลระบบนิเวศของฟาร์มหรือแปลงปลูกอาจสูญเสียไปด้วยเหตุบางประการ ดังนั้นเกษตรกรจะต้องหมั่นสำรวจและสังเกตการเปลี่ยนแปลงของประชากรแมลงศัตรูพืช และศัตรูธรรมชาติว่าอยู่ในภาวะสมดุลหรือไม่ ซึ่งในระบบนิเวศการเกษตรที่สมดุลจะต้องมีทั้งแมลงศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติอยู่ จากนั้นเกษตรกรจะต้องประเมินว่าระบบนิเวศฟาร์มยังคงมีสมดุลของประชากรศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติอยู่หรือไม่ ในกรณีที่ระบบนิเวศยังสมดุล เกษตรกรไม่ควรดำเนินการใด ๆ ทั้งนี้เพราะความพยายามกำจัดแมลงศัตรูพืช หรือศัตรูพืชตามธรรมชาติในขณะที่นิเวศการเกษตรมีความสมดุลอยู่แล้ว อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสมดุล (เสียสมดุล) ในทิศทางที่ทำให้ประชากรของศัตรูพืชระบาดเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในแปลงนาข้าวที่มีเพลี้ยกระโดดอยู่จำนวนหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันก็มีแมงมุมและด้วงดิน ซึ่งเป็นตัวห้ำของเพลี้ยกระโดดอยู่แล้ว ความพยายามใช้สมุนไพรกำจัดเพลี้ยกระโดด (เช่น การฉีดสารสกัดหางไหลหรือใช้ยาสูบ) อาจทำให้แมงมุมและด้วงดินตายในสัดส่วนมากกว่าเพลี้ยกระโดด ซึ่งการเสียสมดุลนี้จะทำให้เพลี้ยกระโดดกลับขยายพันธุ์เพิ่มจำ

ศัตรูพืช และ การป้องกันกำจัด

Image
ศัตรูพืช ศัตรูพืชจัดว่าเป็นปัญหาสำคัญของการกสิกรรม ทั้งนี้เพราะว่ากว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตพืชอาหารของโลกต้องลดลง เนื่องจากการทำลายและการรบกวนของศัตรูพืช ทำให้กสิกรต้องหาหนทางและวิธีการต่างๆ นำมาใช้เพื่อการควบคุมศัตรูพืช พบว่าในแต่ละปีกสิกรได้ใช้จ่ายทั้งเงิน เวลา และความรู้ต่างๆ รวมกันเป็นมูลค่าถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าผลผลิตที่ได้รับ ดังนั้นจึงกล่าวโดยสรุปรวมกันว่าในแต่ละปีกสิกรได้สูญเสียแก่ศัตรูพืช และการควบคุมศัตรูพืชถึงกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าผลผลิตรวม (Shaw, 1982) สำหรับในประเทศไทยก็ได้มีรายงานว่าในแต่ละปีประมาณการสูญเสียผลผลิตพืชถึง 10-30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากศัตรูพืชชนิดต่างๆ (Soontorn et al., 1996) ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาเกี่ยวกับศัตรูพืช และวิธีการควบคุมเพื่อใช้เป็นพื้นฐานของการจัดการศัตรูพืชในการผลิตพืชให้ได้ผลผลิตตามศักยภาพของพันธุกรรมพืช ในหัวข้อศัตรูพืชและการป้องกันกำจัดเบื้องต้นนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะเรื่องต่อไปนี้คือ ชนิดของศัตรูพืช แหล่งที่มาของศัตรูพืช สาเหตุการแพร่ระบาดของศัตรูพืช ปัจจัยที่ควบคุมการแพร่ระบาด ความเสียหายเนื่องจากศัตรูพืช ระดับของความเส