ฆ่าเพลี้ยแป้งทุเรียน เพลี้ยแป้งจะดูดกินน้ำเลี้ยง จากช่อกิ่ง ช่อดอก ผลอ่อนทุเรียน และผลแก่ และจะขับน้ำหวานออกมา ราดำจะเข้าเกาะซ้ำ ทำให้ทุเรียนโตช้า คุณภาพไม่ดี

เพลี้ยแป้งทุเรียน

กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งปลูกทุเรียนที่มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ แหล่งปลูกทุเรียนที่สำคัญของไทยมีหลายภาคโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคตะวันออก เช่น ระยอง จันทบุรี และตราด และภาคใต้ เช่น ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ในช่วงที่สภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ขอให้เกษตรกรเฝ้าระวังการระบาดทำลายของเพลี้ยแป้งทุเรียน

โดยรูปร่างของเพลี้ยแป้งทุเรียนเพศเมีย (Planococcus minor (Maskell) และ Planococcus lilacinus (Copckerell) มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 3.0 มิลลิเมตร มีสีเหลืองอ่อนหรือชมพู ตัวอ้วนสั้น ผลสีขาวคล้ายผงแป้งปกคลุมลำตัว วางไข่เป็นกลุ่มๆ ละ 100-200 ฟอง เพศเมียตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้ 600-800 ฟอง ภายในเวลา 14 วันไข่จะฟักอยู่ในถุงใต้ท้อง ระยะไข่ประมาณ 6-10 วัน เพศเมียเมื่อวางไข่หมดแล้วจะตายไป เพลี้ยแป้งเพศเมียลอกคราบ 3 ครั้ง และไม่มีปีก ส่วนเพศผู้ลอกคราบ 4 ครั้ง มีปีกและมีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย เพลี้ยแป้งสามารถขยายพันธุ์ได้ 2-3 รุ่น ใน 1 ปี

ลักษณะการทำลาย เพลี้ยแป้งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากบริเวณกิ่ง ช่อดอก ผลอ่อน ผลแก่ โดยมีมดดำเป็นตัวคาบพาไปยังส่วนต่างๆ ของพืช นอกจากนี้เพลี้ยแป้งจะขับน้ำหวาน (honey dew) ออกมาเป็นสาเหตุให้ราดำที่มีอยู่ในธรรมชาติเข้าทำลายซ้ำ หากพบเพลี้ยแป้งเข้าทำลายทุเรียนในระยะผลเล็กจะทำให้ผลแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต แต่ถ้าเป็นผลใหญ่ทำให้คุณภาพผลทุเรียนลดลงและไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค

แนะนำให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งทุเรียน โดยหมั่นสำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบเพลี้ยแป้งระบาดเล็กน้อย เช่น บนกิ่ง ให้ตัดส่วนที่ถูกทำลายทิ้งไป หากพบบนผลทุเรียนในปริมาณน้อยอาจใช้แปลงปัด ใช้ มาคา สารอินทรีย์ ป้องกันและกำจัดเพลี้ยแมลงศัตรูพืช ผสมในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณที่มีการระบาด พ่นซ้ำทุก 7 วัน ต่อเนื่อง 2-4 ครั้ง และสังเกตุว่ายังพบการระบาดอยู่หรือไม่ เกษตรกรชาวสวนทุเรียน สามารถ ผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ มาคา เพื่อช่วยให้ทุเรียนฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งได้รวดเร็วยิ่งขึ้น กลับมาเจริญเติบโต และมีความสมบูรณ์แข็งแรงได้อีกครั้ง

สั่งซื้อสินค้าได้ที่ http://www.farmkaset.org/html5/customer_update_add_self.aspx
โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี FarmKaset

ยาฆ่าเพลี้ยแป้งทุเรียน กำจัดเพลี้ยแป้งทุเรียน

อ้างอิง siamrath.co.th/n/144049

Comments

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา