โรคเหี่ยว ที่เกิดขึ้นกับ ไร่อ้อย มีสาเหตุจากเชื้อรา ป้องกันและกำจัดได้

โรคเหี่ยวอ้อย

โรคเหี่ยวอ้อย สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Cephalosporium, Fusarium  และ Acremonium

การระบาดของโรคเหี่ยวอ้อย

1.  โรคเหี่ยว ระบาดได้ทางท่อนพันธุ์อ้อย

2.  เชื้อราอยู่ในดินและเศษซาก จะเข้าทําลายอ้อย เมื่อปลูกพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรค จึงควรเลือกท่อนพันธุ์ จากพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรค

3.  โรคเหี่ยวอ้อย จะแพร่กระจายไปทางดินลม ฝน และน้ำชลประทาน ได้เช่นกัน

ลักษณะอาการของ โรคเหี่ยว ในอ้อย

อ้อยจะแสดงอาการใบเหลืองโทรม ต่อมาต้นจะแห้งตาย เมื่อตรวจดูบริเวณรากจะพบอาการรากเน่า อาจจะพบอาการช้ำเน่าในลําร่วมกับรากเน่าหรือพบแต่อาการรากเน่าอย่างเดียวก็ได้ มักจะพบระบาดกับพันธุ์มากอส แต่ในปัจจุบันเริ่มพบระบาดกับพันธุ์อ้อยอื่นๆที่ปลูกเป็นการค้า

การป้องกันกําจัดโรคเหี่ยวอ้อย

1.  เนื่องจากเชื้อราสาเหตุเป็นเชื้อในดินการป้องกันกําจัดค่อนข้างยาก ดังนั้นวิธีการที่ ได้ผลดีที่สุดคือการใช้พันธุ์ต้านทานปัจจุบันพันธุ์ที่พบว่าเป็นโรคน้อยคือ เค 90-77 และอู่ทอง4

2.  ถ้าพบการเกิดโรคเป็นหย่อมๆ ใช้สารเคมีฉีดพ่นหรือราดบริเวณกอที่เป็น จะช่วยลดความรุนแรงของการเกิดโรคลง ด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

3.  ในกรณีที่เป็นโรคกระจายทั่วทั้งแปลง ไม่แนะนําให้ใช้สารเคมีเนื่องจากไม่คุ้มกับการลงทุน ควรไถคราดตอที่เป็นโรคออกเผาทิ้งพักดินตาก แล้วเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นหรือปลูกอ้อยพันธุ์ที่ต้านทาน

สั่งซื้อสินค้าจาก ฟาร์มเกษตร ได้ที่ลิงค์ http://www.farmkaset.org/html5/customer_update_add_self.aspx
ไลน์ไอดี FarmKaset
โทร 090-592-8614

ไอเอส ป้องกัน โรคเหี่ยวอ้อย โรคอ้อยเหี่ยว

อ้างอิงบางส่วนจาก สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน

Comments

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา