การป้องกันกำจัดโรคลิ้นจี่ โรคใบจุดสนิม ราดำ ราสนิม ลิ้นจี่ใบไหม้ กิ่งแห้ง ใบแห้ง ผลแตก ผลร่วง ป้องกัน แก้ไขได้อย่างไร

โรคลิ้นจี่ โรครา โรคใบจุดสนิม ใบจุดสาหร่ายในลิ้นจี่

โรคใบจุดสนิม หรือจุดสาหร่าย ที่เกิดขึ้นกับลิ้นจี่

สาเหตุ เชื้อราเซฟาลิวโรส ( Cephaleuros virescens)

ลักษณะอาการ เกิดบนใบแก่ลิ้นจี่ แผลเริ่มแรกเป็นจุดขุยสีเทาอมเขียวฟูเล็กน้อย เกิดกระจัดกระจายบนใบ ต่อมาจุดจะขยายออกและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมส้มหรือสีสนิม ลักษณะค่อนข้างกลมขนาด 3-5 มิลลิเมตร ระยะต่อมาจุดจะแห้งและทำให้เนื้อเยื่อใบทั้งด้านบนและใต้ใบบริเวณแผลมีลักษณะสีน้ำตาลดำ ในที่สุดใบที่เป็นโรคจะมีสีซีดเหลืองปนน้ำตาลและใบร่วง

การแพร่ระบาด
สาหร่ายแพร่ระบาดไปกับลมและพายุฝน  เข้าทำลายในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง พืชอาศัยของสาหร่ายชนิดนี้มีหลายชนิดเช่น มะม่วง ลำไย เงาะ ฝรั่ง ส้ม ทุเรียน และไม้ผลอื่น ๆ

การป้องกันกำจัด
ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง และฉีดพ่นด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งเชื้อรา

โรคราสนิมลิ้นจี่

สาเหตุ เชื้อราสเกอกา (Skierka nephelii)
             
ลักษณะอาการ ใบลิ้นจี่ที่แก่บริเวณใต้ทรงพุ่ม แสดงอาการเป็นจุดนูนขนาดเล็กมากสีเหลือง เกิดกระจัด กระจายทางด้านใต้ใบ และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในระยะต่อมา
             
การแพร่ระบาด สปอร์ของเชื้อราฟุ้งกระจายแพร่ระบาดไปกับลมและพายุ ในสภาพอากาศทางภาคเหนือ ของประเทศไทย
             
การป้องกันกำจัด ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง และพ่นด้วย ไอเอส เพื่อป้องกันและยับยั้งการระบาดของโรค

โรคลำต้นและกิ่งแห้ง

สาเหตุ ยังไม่ทราบสาเหตุ
             
ลักษณะอาการ พบเป็นกับลิ้นจี่หลายพันธุ์ อายุ 3-20 ปี ส่วนใหญ่เมื่อต้นลิ้นจี่มีอายุตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป เริ่มแรกแสดงอาการทรุดโทรมใบร่วงและปลายกิ่งแห้งเป็นบางกิ่งหรือทั้งต้น บริเวณโคน ลำกิ่งหรือลำต้น มีแผลลักษณะเป็นรอยแตก รูปร่างและขนาดไม่แน่นอน เมื่อเฉือนผิวเปลือกออก แผลมีอาการไหม้สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลดำ การพัฒนาของโรคจะเป็นไปอย่างช้า ๆ กรณีต้นลิ้นจี่ที่มีอายุยังน้อยการพัฒนาการจะเป็นอย่างเฉียบพลัน ใบจะร่วงและกิ่งแห้งอย่างรวดเร็ว ในที่สุดต้นลิ้นจี่มีลักษณะยืนต้นตาย
             
การแพร่ระบาด พบเป็นกับต้นลิ้นจี่ตลอดทั้งปี
             
การป้องกันกำจัด ตัดแต่งกิ่งเป็นโรคนำไปเผาทำลาย แล้วบำรุงรักษาต้นให้สมบูรณ์แข็งแรง ฉีดพ่นด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งเชื้อรา และ บำรุงต้นลิ้นจี่ให้แข็งแรง สมบูรณ์ ต้านทานต่อโรค ด้วยการฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก N-P-K ธาตุรอง ธาตุเสริม

โรคราดำลิ้นจี่

สาเหตุ เชื้อรา แคบโนเดียม และเมลิโอลา (Copnodium sp. และ Meliola sp.)
             
ลักษณะอาการ ใบ กิ่ง ช่อดอก และช่อผล มีลักษณะเป็นคราบเขม่าหรือฝุ่นผง มีสีดำ ขึ้นเจริญปกคลุมทำให้ชะงักการเจริญเติบโตและผิวของผลไม่สะอาด เมื่อถูกน้ำฝนชะล้างคราบเขม่าสีดำของเชื้อราจะหลุดไปเอง
             
การแพร่ระบาด เชื้อราดำแพร่ระบาดภายหลังแมลงพวกดูด เช่น เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้งเข้าทำลายต้นลิ้นจี่ แล้วขับถ่ายสารเหนียวเป็นละอองน้ำหวาน (honey dew) ลงบนพืช ซึ่งเป็นอาหารของเชื้อราดำ
             
การป้องกันกำจัด ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง ควบคุมการแพร่ระบาดของแมลงเพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้ง และพ่น ด้วย มาคา สารอินทรีย์สำหรับ กำจัดแมลง

โรคเปลือกผลลิ้นจี่ไหม้

สาเหตุ ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคที่ชัดเจน
             
ลักษณะอาการ โรคเปลือกผลไหม้ มี 2 ลักษณะ

- อาการไหม้บริเวณขั้วผล แผลมีลักษณะสีน้ำตาลอ่อนขอบแผลสีน้ำตาล รูปไข่และขนาดไม่แน่นอน ขนานไปตามความยาวผลพบในระยะที่ผลลิ้นจี่กำลังสร้างเนื้อผล (เปลือกสีเขียวปนเหลือง) ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลปนดำ บางครั้งแผลแตกปริเนื่องจากเนื้อผลขยายขนาด

- อาการไหม้ทั่วไปบนผล แผลมีลักษณะสีน้ำตาลอ่อนจนถึง น้ำตาลปนดำบนผล ตำแหน่ง ขนาดและรูปร่างของแผล ไม่แน่นอน พบในระยะที่ผลลิ้นจี่กำลังสร้างเนื้อเป็นต้นไป แผลอาจแตกปริเนื่องจากเนื้อผลขยายขนาด

โรคลิ้นจี่ผลแตก

สาเหตุ ลิ้นจี่ได้รับน้ำหรือธาตุอาหารไม่เพียงพอในระยะระหว่างที่ผลลิ้นจี่กำลังพัฒนา
             
ลักษณะอาการ เปลือกผลแตกตามความยาวของผลบริเวณก้นผลในระยะที่ผลลิ้นจี่กำลังสร้างเนื้อผลหุ้มเมล็ด และระยะที่เปลือกผลเริ่มเปลี่ยนสี ต่อมาเนื้อผลเน่าเนื่องจากมีจุลินทรีย์เข้าทำลายซ้ำเติม การแพร่ระบาด เป็นโรคที่ไม่ติดเชื้อไม่มีการแพร่ระบาด
             
การป้องกันกำจัด

1. ให้น้ำลิ้นจี่ทีละน้อยและสม่ำเสมอระหว่างที่ผลลิ้นจี่ กำลังพัฒนา

2. ให้ปุ๋ยธาตุอาหารหลัก และธาตุรองอย่างสม่ำเสมอ ระหว่างที่ผลลิ้นจี่กำลังพัฒนา ฉีดพ่นด้วย FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแตสเซียม และ ธาตุรอง ธาตุเสริม แมกนีเซียม สังกะสี

3. พ่นสารป้องกันและกำจัดโรคแมลงศัตรูพืชโดยสม่ำเสมอ ฉีดพ่นด้วย มาคา สารอินทรีย์ป้องกัน และกำจัด เพลี้ยแมลงศัตรูพืช

โรคลินจี่ผลร่วง

สาเหตุเป็นผลมาจากการตายของคัภพะในระหว่างที่ใบเลี้ยงมีการพัฒนา เกิดในช่วงที่ผลลิ้นจี่มีอายุ ประมาณ30-50 วัน ภายหลังการผสมเกสร และบางครั้งอาจเกิดจากการทำลายของหนอนเจาะขั้วลิ้นจี่
             
ลักษณะอาการ ผลลิ้นจี่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ร่วง ผลลิ้นจี่บางส่วนอาจไม่ร่วงและมีการพัฒนาเจริญเติบโตไปจนแก่และสุก แต่ผลจะมีขนาดเล็กกว่าผลที่มีเมล็ดปกติ
             
การแพร่ระบาด สาเหตุที่เกิดจากการตายของคัภพะ ไม่ทำให้โรคแพร่ระบาด ปัจจัยที่เกิดจากหนอนเจาะขั้ว ลิ้นจี่ ดูรายละเอียดในแมลงศัตรูลิ้นจี่และการป้องกันกำจัด
             
การป้องกันกำจัด การตายของคัภพะไม่ทราบวิธีการป้องกันกำจัด ส่วนการป้องกันกำจัดหนอนเจาะขั้วลิ้นจี่ ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์ ป้องกันและกำจัดแมลง ที่ประกอบด้วย BT สองสายพันธุ์ ไอซาวาย และ เคิร์ซตากี้

โรคราน้ำค้างเทียม ในลิ้นจี่ หรือโรคผลไหม้สีน้ำตาล

สาเหตุ เชื้อราเพอร์โรโนไฟโธรา (Peronophythora litchii)

ลักษณะอาการ เกิดแผลสีน้ำตาลดำรูปร่างและขนาดไม่แน่นอน และขอบแผลมีลักษณะไม่ชัดเจนบนก้านผล ผล ใบ และรากลิ้นจี่ เชื้อราสร้างส่วนขยายพันธุ์สีขาวฟูบนแผลในช่วงระยะหลังของการติดเชื้อ เมื่อสภาพแวดล้อมชุ่มชื้นและมีฝนตก
             
การแพร่ระบาด เชื้อราฟักตัวข้ามฤดูถัดไป หรือเศษซากพืชที่ติดเชื้อ แล้วแพร่ระบาดไปกับน้ำฝน ลมพายุ แมลง และดินที่มีเชื้อในฤดูถัดไป สภาพอุณหภูมิที่ 22-25 0C และมีฝนตกชุกเกือบทุกวัน โรคจะลุกลามและแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง
             
การป้องกันกำจัด การป้องกันกำจัดโรคราน้ำค้างเทียม จะให้ผลดีถ้าใช้วิธีผสมผสานกันระหว่างวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

1. ปลูกลิ้นจี่ให้มีระยะห่างที่พอเหมาะไม่ปลูกชิดเกินไป

2. ตัดแต่งกิ่งให้โปร่งเพื่อให้แสงแดดส่องถึงโคนต้น และกำจัดวัชพืชภายใต้ทรงพุ่ม แล้วขนย้ายกิ่งแห้ง และกิ่งที่ติดเชื้อออกไปจากแปลงแล้วเผาทำลาย

3 บำรุงรักษาต้นลิ้นจี่ให้เจริญเติบโตแข็งแรง โดยการฉีดพ่น FK-1 ให้น้ำในช่วงที่อากาศแห้งแล้งและพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ไอเอส และสารอินทรีย์ฆ่าแมลง มาคา อย่างสม่ำเสมอ

4. หมั่นตรวจแปลงในฤดูหนาวเมื่อพบใบลิ้นจี่เป็นโรค ควรพ่นต้นลิ้นจี่และผิวดินบริเวณ โคนต้นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ไอเอส จากนั้นโรยปูนขาวบริเวณโคนต้น

5. การป้องกันกำจัดโรคในระยะแตกตาดอก ระยะเริ่มติดผลไปจนถึงก่อนผลสุกควรพ่นป้องกันด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ไอเอส 1-2 ครั้ง ผสม FK-1 ฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน

6. กรณีที่ผลและใบลิ้นจี่เป็นโรคแล้วร่วงหล่นอยู่บนพื้นดินภายใต้ทรงพุ่ม ควรรีบเก็บแล้วนำไปเผาทำลาย ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน เนื่องจากเชื้อราสามารถมีชีวิตและอาศัยอยู่ในดินข้ามฤดู เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมจะทำให้เกิดการติดเชื้อใหม่ในฤดูต่อไป

7. การควบคุมโดยชีววิธี โดยใช้เชื้อปฏิปักษ์ Trichoderma หรือ Bacillus
ผสมคลุกเคล้ากับดินภายใต้ทรงพุ่ม และผสมน้ำพ่นให้ทั่วทั้งต้น เป็นวิธีการหนึ่งที่มีประสิทธิภาพทั้งในแง่การป้องกันและกำจัดโรค

โรคลิ้นจี่ผลเน่า ภายหลังการเก็บเกี่ยว

สาเหตุ เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น เชื้อราคอเลคโตตริคัม (Colletrichum gloeosporioides)
เชื้อราโบทรัยโอดิโพลเดีย (Botryodipia theobromae) เชื้อราโฟมา (Phoma sp.) เชื้อราโฟมอพซิส (Phomopsissp.) เป็นต้น
             
ลักษณะอาการ ผลลิ้นจี่สุกภายหลังเก็บเกี่ยวที่เก็บรักษาไว้ในสภาพควบคุมความชื้น จะแสดงอาการแผลเน่า สีน้ำตาลเข้มจนถึงสีน้ำตาลดำ ลักษณะแผลค่อนข้างกลมมีขนาดไม่แน่นอน เชื้อราสร้างเส้นใยและมวลสปอร์บนผิวเปลือกที่เป็นโรค ภายใต้สภาพอุณหภูมิห้องโรคผลเน่าจะพัฒนาอย่างรวดเร็วภายในเวลา 2-3 วัน การเก็บรักษาผลลิ้นจีในสภาพอุณหภูมิ 5-6๐C
             
อาการโรค ผลเน่าจะมีการพัฒนาการไปอย่างช้า ๆ และอาการรุนแรงน้อยกว่าการเก็บรักษา ในสภาพอุณหภูมิห้อง
             
การแพร่ระบาด เชื้อราแพร่ระบาดไปกับลมและพายุฝน เข้าทำลายผลลิ้นจี่แบบแฝงตั้งแต่ในแปลงปลูก แต่จะปรากฏอาการให้เห็นภายหลังการเก็บเกี่ยว
             
การป้องกันกำจัด พ่นป้องกันด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ไอเอส และหยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต

สินค้าจากฟาร์มเกษตร
สั่งซื้อได้ที่ลิงค์ http://www.farmkaset.org/html5/customer_update_add_self.aspx
ไลน์ไอดี FarmKaset
โทร 090-592-8614

ยาแก้โรคลิ้นจี่ ปุ๋ยลิ้นจี่ กำจัดแมลงลิ้นจี่

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก http://www.arda.or.th/kasetinfo/north/plant/lychee_disease.html

Comments

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา