Posts

Showing posts from July, 2020

การป้องกันและกำจัด โรคข้าวโพด ข้าวโพดใบไหม้ โรคราสนิมข้าวโพด โรคราน้ำค้าง โรคข้าวโพดใบด่าง

Image
โรคข้าวโพดใบไหม้แผลเล็ก (Southern Corn Maydis Leaf Blight) การระบาดของโรคนี้ในประเทศไทยมีเสมอทุกปีและระบาดเพิ่มมากขึ้นในหลายพื้นที่จนถึงปัจจุบัน โดยมีความรุนแรงกับข้าวโพดสายพันธุ์แท้ (Inbred line) บางสายพันธุ์ ข้าวโพดหวานข้าวโพดเทียน ข้าวโพดข้าวเหนียว เป็นต้น ลักษณะอาการ ระยะแรกจะเกิดจุดเล็ก ๆ สีเขียวอ่อนฉ่ำน้ำ ต่อมาจุดจะขยายออกตามความยาวของใบ โดยจำกัดด้านกว้างของแผลขนานไปตามเส้นใบตรงกลาง แผลจะมีสีเทา ขอบแผลมีสีเทาน้ำตาล ขนาดของแผลไม่แน่นอน แผลที่ขยายใหญ่เต็มที่มีขนาดกว้าง 6-12 มิลลิเมตร และยาว 6-27 มิลลิเมตร ในกรณีที่ใบข้าวโพดเป็นโรครุนแรง แผลจะขยายตัวรวมกันเป็นแผลใหญ่ และทำให้ใบแห้งตายในที่สุด อาการของโรคเมื่อเกิดในต้นระยะกล้าจะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ทุกใบอาจจะเหี่ยวและแห้งตายภายใน 3-4 สัปดาห์หลังปลูก แต่ถ้าเกิดกับต้นแก่อาการจะเกิดบนใบล่าง ๆ ก่อน นอกจากจะเกิดบนใบแล้วยังเกิดกับต้นกาบใบ ฝักและเมล็ดอีกด้วย เชื้อสาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Bipolaris maydis (Nisik.) Shoemaker. มีชื่อเดิมว่า Helminthosporium maydisNisik. เข้าทำลายข้าวโพดในเขตอบอุ่นและร้อนชื้น เชื้อมีสปอร์ยาวโค้ง ปลายเ

กำจัดเพลี้ยแป้งนาสาร เพลี้ยแป้งนาสาร

Image
เพลี้ยแป้งนาสาร เป็น ศัตรูที่สำคัญของต้นทุเรียนที่ชาวสวนพบบ่อย แมลงชนิดนี้เป็นเพลี้ยชนิดหนึ่งระบาดหนักในช่วงเดือน ตุลาคม- กุมภาพันธ์ ชาวสวนผลไม้เรียกกันว่า เพลี้ยงแป้งนาสารเพราะติดมากับ กล้าผลไม้ที่ชาวนาสาร จ.สุราษธานีมาขาย ลักษณะของเพลี้ยตัวนี้คือเป็นแมลงที่เกาะกับใบ โดยเฉพาะส่วนใบ ที่ไม่โดนแดดและลมลำตัวเป็นเส้นขีดสีขาวยาวประมาณ 1 มม. มันจะเกาะนิ่งๆและดูดน้ำเลี้ยงจนเกิดอาการใบเหลืองฝ่อและตายในที่สุด การป้องกันกำจัด เพลี้ยแป้งนาสาร ฉีดพ่นด้วย มาคา สารอินทรีย์ป้องกันและกำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืชจำพวกปากดูดต่างๆ อัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกัน เพื่อส่งเสริมให้พืชฟื้นตัว จากการถูกเพลี้ยเข้าทำลายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น สั่งซื้อได้ที่  http://www.farmkaset.org/html5/customer_update_add_self.aspx ไลน์ไอดี FarmKaset โทร 090-592-8614 อ้างอิง : http://www.fernsai.com

ยาฆ่าหนอนพุทรา ปลอดสารพิษ หนอนแดงพุทรา หนอนแมลงวันพุทรา หนอนผีเสื้อในพุทรา หนอนต่างๆ ใช้ ไอกี้

Image
หนอนเจาะพุทรา พุทราเป็นหนอน หนอน เป็นศัตรูตัวร้ายของต้นพุทรา สร้างความเสียหายได้เป็นจำนวนมาก ทำให้คุณภาพผลผลิตลดลง หากพุทราเป็นหนอน และหลุดออกไปสู่ตลาด เป็นที่แน่นอนว่า จะสร้างความจดจำที่ไม่ดี ให้กับลูกค้า การป้องกันและกำจัดหนอน ด้วยสารเคมีนั้น อันตรายทั้งต่อเกษตรกรผู้ใช้ และอันตรายไปถึงผู้บริโภค ควรป้องกันกำจัดโดย สารชีวินทรีย์ ป้องกันศัตรูพืช คำว่าสารชีวินทรีย์นั้น อาจจะเรียกได้ว่าเป็น สาร หรือ ยา ชีวภาพก็ได้เช่นกัน หนอนแดง เป็นแมลงศัตรูพืชพุทรา ที่ระบาดมากในช่วงเดือนมีนาคม ถึงมิถุนายน และหนอนแมลงวัน หรือแมลงวันก็เช่นกัน ระบาดมากในช่วงเดียวกัน หนอนผีเสื้อต่างๆ ก็เป็นแมลงศัตรูพืช ของพุทราอีกด้วยเช่นกัน ป้องกันและกำจัดหนอนต่างๆ ในพุทรา ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์ป้องกันและกำจัดศัตรูพืชปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค ไอกี้-บีที นั้น เป็นยาชีวินทรีย์ เป็นแบคทีเรียแกรมบวก ที่คัดสายพันธุ์มาโดยเฉพาะ ที่ออกฤทธิ์กำจัดหนอนได้ทุกชนิด และจะเป็นอันตรายกับหนอนเท่านั้น ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์อื่นๆเลย ไม่ว่าจะเป็นคน หรือสัตว์เลี้ยงในไร่ สวน นา ไอกี้-บีที จึงเหมาะสม ที่จะใช้กำจัดหน

ยาฆ่าเพลี้ยจักจั่นมะม่วง ปลอดสารพิษ ปราบเพลี้ยจักจั่นมะม่วงช่วงออกดอก

Image
ในระยะเข้าสู่ช่วงที่มะม่วง เริ่มแทงช่อดอกจนถึงระยะพัฒนาผล กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนมะม่วงให้เฝ้าระวัง สังเกตการเข้าทำลายของ เพลี้ยจักจั่นมะม่วง มักพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเข้าทำลายใบอ่อน ช่อดอก ก้านดอก และยอดอ่อน โดยระยะที่มะม่วงกำลังออกดอกจะเกิดความเสียหายมากที่สุด เพลี้ยจักจั่นมะม่วง จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้ดอกแห้ง ดอกร่วง และติดผลน้อยหรือไม่ติดผล ขณะที่เพลี้ยจักจั่นดูดกินน้ำเลี้ยงจะถ่ายมูล เป็นน้ำหวานเหนียวๆ ติดตามใบ ช่อดอก ผล และรอบทรงพุ่ม ทำให้ใบเปียก เกิดราดำปกคลุมมาก ส่งผลต่อการสังเคราะห์แสงของใบ ส่วนใบอ่อน (ใบเพสลาด) จะบิดงอโค้งลง ให้สังเกตด้านใต้ใบมีอาการปลายใบแห้งได้ หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตมะม่วง ให้เกษตรกรตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มต้นมะม่วงให้โปร่งอยู่เสมอ เพื่อช่วยลดที่หลบซ่อนต่อการแพร่ขยายพันธุ์ของ เพลี้ยจักจั่นมะม่วง จากนั้น ให้เกษตรกรพ่นด้วย สารอินทรีย์ฆ่าแมลง มาคา ในอัตราส่วน 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เกษตรกรควรปรับหัวฉีดให้เป็นแบบละอองฝอย และพ่นให้ทั่วถึงทั้งลำต้นในระยะก่อนที่มะม่วงจะออกดอก 1 ครั้ง มิเช่นนั้น ตัวเต็มวัยจะย้ายไปหลบซ่อนยังบริเวณที่

การปลูกมะม่วง และการดูแลรักษา การให้ปุ๋ยมะม่วง การป้องกัน กำจัดโรคมะม่วง และกำจัดแมลงศัตรูพืช

Image
การปลูกมะม่วง และการดูแลรักษา ต้นมะม่วง การขุดหลุมปลูกมะม่วง การขุดหลุมปลูกมะม่วง ทั้งแบบปลูกบนร่อง และปลูกในที่ดอน ควรปลูกให้เป็นแถวเป็นแนว เพื่อสะดวกในการดูแลรักษาและการ ปฏิบัติงาน ขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้าง ยาวและลึก 50-100 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินดี ร่วนซุย มีอินทรีย์วัตถุมาก ก็ ขุดหลุมขนาดเล็กได้ ส่วนดินที่ไม่ค่อยดี ให้ขุดหลุมขนาดใหญ่ เพื่อจะได้ปรับปรุงดินในหลุมปลูกให้ดีขึ้น ดินที่ขุดขึ้นมาจากหลุมนั้นให้แยกเป็นสองกอง คือ ดินชั้นบนแยกไว้กองหนึ่ง ดินชั้นล่างอีกกองหนึ่ง ตากดินที่ขุดขึ้นมาสัก 15-20 วัน แล้วผสม ดินทั้งสองกองด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ก้นหลุมก็ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักรองพื้นไว้ด้วย แล้วจึงกลบดินลงไปในหลุมตามเดิม โดยเอา ดินชั้นบนลงไว้ก้นหลุม และดินชั้นล่างกลบทับลงไปทีหลัง ดินที่กลบลงไปจะสูงกว่าปากหลุม ควรปล่อยทิ้งไว้ให้ดินย ุบตัวดีเสียก่อน หรือรดน้ำให้ดินยุบตัวดีเสียก่อนจึงลงมือปลูก การเว้นระยะปลูกมะม่วง ระยะปลูกมะม่วง ระยะปลูกมีหลายระยะด้วยกัน แล้วแต่วัตถุประสงค์ในการปลูก ได้แก่ 1.) ระยะปลูกแบบถี่ เช่น 2.5 x 2.5 เมตร, 4 x 4 เมตร หรือมาก

โรคใบด่าง เกิดจากเชื้อไวรัส แตงกวา และพืชตระกูลแตง ยังไม่มียารักษา ต้องกำจัดแมลงพาหะ

Image
โรคใบด่าง ใน แตงกวา และพืชตระกูลแตงต่างๆ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกร ที่ปลูกพืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงไทย แตงโม แคนตาลูป ฟักทอง มะระหวาน บวบ เฝ้าสังเกตุ โรค ไวรัส ให้ดี เนื่องจากปัจจุบัน ยังไม่มียารักษาโรค โรคใบด่าง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งแมลงหวี่ขาว และเพลี้ยอ่อน เป็นแมลงพาหะ เมื่อมันเข้าดูดกินใบ ของพืชตระกูลแตงต่างๆ จะแพร่เชื้อเข้าสู่ลำต้น ทำให้ใบพืชแสดงอาการด่างเหลือง ด่างเขียว สีใบพืชไม่เขียวสม่ำเสมอ มีรอยดวงด่าง เขียวซีดเป็นวงให้เห็น ส่งผลให้ยอดใบพืช หงิก งอ ม้วนผิดรูปร่าง ทำให้พืชสังเคราะห์แสงได้ไม่เต็มที่ ผลผลิตมีรูปร่างเล็ก ไม่ได้คุณภาพ บิดเบี้ยว ขายไม่ได้ราคา เกษตรกรต้องหมั่นตรวจกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงอย่างสม่ำเสมอ เพราะเป็นแหล่งพักพิงของแมลงพาหะ หากพบต้นที่เป็นโรคให้ถอนทิ้งไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อลดแหล่งสะสมเชื้อไวรัส ที่แมลงตัวอื่นจะมากัดกินเอาเชื้อไปแพร่ต่อ เครื่องมือทางการเกษตรต่างๆที่นำไปใช้กับต้นที่เป็นโรค ต้องล้างทำความสะอาด และผึ่งแดดให้แห้งหลังการใช้งานทุกครั้ง กำจัดแมลงพาหะ ได้โดยการฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ป้องกันและกับจัดเพลี้

เพลี้ยไฟทุเรียนระบาด ใช้ ยาฆ่าเพลี้ย มาคา ปลอดสารพิษ

Image
เพลี้ยไฟจะระบาดในสวนทุเรียน เกษตรควรหมั่นสังเกตุ และป้องกันกำจัด เพื่อยับยังการระบาด สร้างความเสียหายไปในวงกว้าง ในช่วงสภาพอากาศแดดแรง ร้อนและแห้งแล้ง ความชื้นต่ำ เป็นสภาวะอากาศที่เอื้ออำนวย ให้เพลี้ยไฟระบาดได้ เราควรหมั่นสำรวจต้นทุเรียนอย่างสม่ำเสมอ การสังเกตเพลี้ยไฟที่เข้าทำลายพืชในระยะเริ่มแรกได้ยากด้วยตาเปล่า การป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟให้ได้ผลดี จึงเป็นเรื่องยากสำหรับเกษตรกร ลักษณะ เพลี้ยไฟเข้าทำลายทุเรียน ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทําลายทุเรียนในระยะใบอ่อน เพลี้ยไฟจะดูดกินน้ำเลี้ยง ซึ่งจะเห็นอยู่ตามเส้นกลางใบ เส้นกลางใบจะเป็นสีน้ำตาล ทําให้ใบหงิก ถ้ารุนแรงอาจทําให้ใบอ่อนร่วงได้ ในระยะดอกอ่อนและดอกบานจะพบเพลี้ยไฟตามดอก ถ้าดอกบานจะอาศัยอยู่ตามเกสร กลีบดอก ทําให้การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ และดอกร่วง ระยะหางแย้ไหม้ – ผลอ่อน จะพบตามซอกหนามทุเรียน ทําให้หนามทุเรียนติดกัน เมื่อลูกโตจะเป็นทุเรียนหนามจีบหรือหนามติด ส่งผลให้ราคาตกต่ำ วิธีป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟทุเรียน 1. หากพบเพลี้ยไฟระบาดเล็กน้อย ให้ตัดส่วนที่ถูกทำลายทิ้ง 2. หากพบเพลี้ยไฟระบาด ใช้ ยาฆ่าเพลี้ยไฟ มาคา สารอินทรีย์ป้องกันแล

เผยเคล็ดลับ การปลูกทุเรียน ทำไมต้องพูนดิน ห้ามขุดหลุม ทำไมต้องปลูกปลายฝน ปลูกอย่างไรห่างไกลจากโรคเชื้อรา กับอีกหลายๆเคล็ดลับ

Image
ในช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด สำหรับการปลูกทุเรียน เนื่องจากฝนเริ่มน้อย มีแดดที่ไม่แรงมากโดยธรรมชาติ มีภาวะการเปลี่ยนแปลงแบบไม่รุนแรง ไม่กระทันหัน มีทั้งแดด ลมหนาว และฝนเล็กน้อย ทำให้ต้นทุเรียนอ่อน สามารถฝึกการปรับตัวได้ดี ส่วนการปลูกทุเรียนในช่วงต้นฝน อาจจะทำให้ต้นทุเรียนเล็กต้องเผชิญกับอาการแปรปรวน พายุฝนหนัก เสี่ยงกับการหักโค่น น้ำขัง แฉะ ชื้น เสียงต่อโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อรา มีโอกาสเป็นโรครากเน่า ส่วนการปลูกทุเรียนใน ฤดูร้อน จำเป็นต้องทำหลังคากันแดด สิ้นเปลือง และเจริญเติบโตได้ช้า ระยะปลูกทุเรียน หากต้องการความสวยงามในอนาคตข้างหน้า ให้ปลูกระยะ 8×8 เมตร หากมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด ให้ปลูกระยะ 6.5×6.5 เมตร ทุเรียน มีลักษณะพิเศษอยู่อย่างหนึ่ง คือ รากทุเรียนนั้น ต้องการแสงแดด การขุดหลุมปลูกอย่างพืชอื่นๆ จะทำให้ต้นทุเรียนโตช้า เพราะรากไม่ได้รับแสงแดด และมีโอกาสสูง ที่ทุเรียนจะอ่อนแอต่อโรคเชื้อราในดิน ข้อแนะนำการปลูกทุเรียน ให้พูนดินเป็นกองสูง 50 ซม.โดยประมาณ ขนาดกว้าง 1.5-2.0 เมตร และให้ขุดหลุมบนกองดิน ที่เราได้พูนขึ้นมา ลึกประมาณ 30ซม. กว้าง 50ซม. ใช้

เพลี้ยไฟทุเรียน ระบาดในสวนทุเรียน เพลี้ยไฟจะดูดน้ำเลี้ยง เกาะที่เส้นกลางใบ ทำให้ใบหงิก ใบอ่อนทุเรียนร่วง ทำผลผลิตตกต่ำ ไม่มีคุณภาพ เร่งกำจัดได้

Image
ในช่วงฤดูแล้ง เพลี้ยไฟจะระบาดในสวนทุเรียน เกษตรควรหมั่นสังเกตุ และป้องกันกำจัด เพื่อยับยังการระบาด สร้างความเสียหายไปในวงกว้าง ในช่วงสภาพอากาศแดดแรง ร้อนและแห้งแล้ง ความชื้นต่ำ เป็นสภาวะอากาศที่เอื้ออำนวย ให้เพลี้ยไฟระบาดได้ เกษตรควรหมั่นสำรวจต้นทุเรียนอย่างสม่ำเสมอ การสังเกตเพลี้ยไฟที่เข้าทำลายพืชในระยะเริ่มแรกได้ยากด้วยตาเปล่า การป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟให้ได้ผลดี จึงเป็นเรื่องยากสำหรับเกษตรกร ลักษณะ เพลี้ยไฟเข้าทำลายทุเรียนนั้น ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทําลายทุเรียนในระยะใบอ่อน เพลี้ยไฟจะดูดกินน้ำเลี้ยง ซึ่งจะเห็นอยู่ตามเส้นกลางใบ เส้นกลางใบจะเป็นสีน้ำตาล ทําให้ใบหงิก ถ้ารุนแรงอาจทําให้ใบอ่อนร่วงได้ ในระยะดอกอ่อนและดอกบานจะพบเพลี้ยไฟตามดอก ถ้าดอกบานจะอาศัยอยู่ตามเกสร กลีบดอก ทําให้การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ และดอกร่วง ระยะหางแย้ไหม้ – ผลอ่อน จะพบตามซอกหนามทุเรียน ทําให้หนามทุเรียนติดกัน เมื่อลูกโตจะเป็นทุเรียนหนามจีบหรือหนามติด ส่งผลให้ราคาตกต่ำ วิธีป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟทุเรียน 1. หากพบเพลี้ยไฟระบาดเล็กน้อย ให้ตัดส่วนที่ถูกทำลายทิ้ง 2. หากพบเพลี้ยไฟระบาด ใช้ ยาฆ่าเพลี้ยไฟ มาคา สาร

เพลี้ยไฟ เข้าทำลายข้าว ดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบข้าว ข้าวปลายใบม้วน ระบาดรุนแรง ข้าวแห้งตายทั้งแปลง ยาฆ่าเพลี้ย มาคา ยาอินทรีย์ป้องกันและกำจัดเพลี้ย

Image
เพลี้ยไฟ ในนาข้าว เข้าทำลายข้าว โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบข้าว ปลายใบข้าวจะเหี่ยวแห้ง ขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบ เพลี้ยไฟอาศัยอยู่ในใบที่ม้วน ถ้าระบาดมากๆ ทำให้ต้นข้าวแห้งตายได้ทั้งแปลง เพลี้ยไฟ Stenchaetohrips biformis (Bagnall) เป็นแมลงจำพวกปากดูด ขนาดเล็กลำตัวยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัยวางไข่ในเนื้อเยื่อของใบข้าว ตัวอ่อน มี 2 ระยะ ระยะเวลาตั้งแต่ตัวอ่อนถึงตัวเต็มวัยนานประมาณ 15 วัน ลักษณะการทำลายของเพลี้ยไฟ และการระบาดของเพลี้ยไฟ เพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยง จากใบข้าวที่ยังอ่อนโดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ ระบาดในระยะกล้า เมื่อใบข้าวโตขึ้นใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบและ อาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น พบทำลายข้าวในระยะกล้าหรือหลังปักดำ 2-3 สัปดาห์ โดยเฉพาะในอากาศร้อนแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงนานติดต่อกันหรือสภาพนาข้าวที่ ขาดน้ำ ถ้าระบาดมากๆ ทำให้ต้นข้าวแห้งตายได้ทั้งแปลง ลักษณะการทำลายของ เพลี้ยไฟข้าว ใบข้าวที่แสดงอาการปลายใบม้วน ข้าวใบม้วน หากระบาดมาก ข้าวอาจจะแห้งตายได้ พืชอา

เคล็ดลับการปลูกทุเรียนให้รอด แถมโตไว สมบูรณ์แข็งแรง ให้ผลผลิตดี ปลอดโรค ปัญหาเพียงอย่างเดียวคือ เมื่อได้รู้แล้ว มีระเบียบพอที่จะทำให้ครบ ทำต่อเนื่องได้หรือไม่

Image
ในช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด สำหรับการปลูกทุเรียน เนื่องจากฝนเริ่มน้อย มีแดดที่ไม่แรงมากโดยธรรมชาติ มีภาวะการเปลี่ยนแปลงแบบไม่รุนแรง ไม่กระทันหัน มีทั้งแดด ลมหนาว และฝนเล็กน้อย ทำให้ต้นทุเรียนอ่อน สามารถฝึกการปรับตัวได้ดี ส่วนการปลูกทุเรียนในช่วงต้นฝน อาจจะทำให้ต้นทุเรียนเล็กต้องเผชิญกับอาการแปรปรวน พายุฝนหนัก เสี่ยงกับการหักโค่น น้ำขัง แฉะ ชื้น เสียงต่อโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อรา มีโอกาสเป็นโรครากเน่า ส่วนการปลูกทุเรียนใน ฤดูร้อน จำเป็นต้องทำหลังคากันแดด สิ้นเปลือง และเจริญเติบโตได้ช้า ระยะปลูกทุเรียน หากต้องการความสวยงามในอนาคตข้างหน้า ให้ปลูกระยะ 8×8 เมตร หากมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด ให้ปลูกระยะ 6.5×6.5 เมตร ทุเรียน มีลักษณะพิเศษอยู่อย่างหนึ่ง คือ รากทุเรียนนั้น ต้องการแสงแดด การขุดหลุมปลูกอย่างพืชอื่นๆ จะทำให้ต้นทุเรียนโตช้า เพราะรากไม่ได้รับแสงแดด และมีโอกาสสูง ที่ทุเรียนจะอ่อนแอต่อโรคเชื้อราในดิน ข้อแนะนำการปลูกทุเรียน ให้พูนดินเป็นกองสูง 50 ซม.โดยประมาณ ขนาดกว้าง 1.5-2.0 เมตร และให้ขุดหลุมบนกองดิน ที่เราได้พูนขึ้นมา ลึกประมาณ 30ซม. กว้าง 50ซม. ใช้แ

ยาฆ่าหนอนเจาะทุเรียน หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน หนอนเจาะผลทุเรียน จัดการด้วย ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์ ฆ่าหนอน ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค

Image
กรมส่งเสริมการเกษตร แจ้งเตือนภัย หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ในช่วงต้นฤดูฝน หวั่นสร้างความเสียหายให้แก่ผลผลิตของเกษตรกร “ทุเรียน” เป็นไม้ผลหลักที่สำคัญของภาคใต้ ซึ่งมีพื้นที่ปลูกมากที่สุดเมื่อเทียบกับไม้ผลชนิดอื่นๆ โดยมีพื้นที่ปลูกครอบคลุมทั้ง 14 จังหวัด จำนวน 543,587 ไร่ พื้นที่ให้ผล จำนวน 401,555 ไร่ ในปีที่ผ่านมา เกษตรกรประสบปัญหา “หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน” เข้าไปวางไข่ แล้วทำให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิต โดยเฉพาะใน จ.ยะลา ส่งผลต่อคุณภาพของผลผลิตทุเรียน ทำให้เกษตรกรขายทุเรียนได้ในราคาที่ต่ำลง และขาดความน่าเชื่อถือทางการค้า ทุเรียน ในช่วงพัฒนาผลอ่อน จึงเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงที่หนอนเจาะเมล็ดทุเรียนสามารถเข้าไปวางไข่ ต้นฤดูฝนเป็นช่วงที่พบการระบาดทำลายของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนสูงมาก เนื่องจากสภาพอากาศมีความชื้นสูง ดินนิ่ม ดักแด้หนอนเจาะเมล็ดทุเรียนที่อยู่ในดินจะฟักตัวออกมา และทำลายภายในผลทุเรียน และเมื่อมองจากภายนอกผลจะไม่พบร่องรอยของการทำลาย ดังนั้น เกษตรกรจึงควรหมั่นสำรวจสวนทุเรียนอย่างสม่ำเสมอ หากพบการทำลายให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้านทันที เพื่อห

ฆ่าเพลี้ยแป้งทุเรียน เพลี้ยแป้งจะดูดกินน้ำเลี้ยง จากช่อกิ่ง ช่อดอก ผลอ่อนทุเรียน และผลแก่ และจะขับน้ำหวานออกมา ราดำจะเข้าเกาะซ้ำ ทำให้ทุเรียนโตช้า คุณภาพไม่ดี

Image
กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งปลูกทุเรียนที่มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ แหล่งปลูกทุเรียนที่สำคัญของไทยมีหลายภาคโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคตะวันออก เช่น ระยอง จันทบุรี และตราด และภาคใต้ เช่น ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ในช่วงที่สภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ขอให้เกษตรกรเฝ้าระวังการระบาดทำลายของเพลี้ยแป้งทุเรียน โดยรูปร่างของเพลี้ยแป้งทุเรียนเพศเมีย (Planococcus minor (Maskell) และ Planococcus lilacinus (Copckerell) มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 3.0 มิลลิเมตร มีสีเหลืองอ่อนหรือชมพู ตัวอ้วนสั้น ผลสีขาวคล้ายผงแป้งปกคลุมลำตัว วางไข่เป็นกลุ่มๆ ละ 100-200 ฟอง เพศเมียตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้ 600-800 ฟอง ภายในเวลา 14 วันไข่จะฟักอยู่ในถุงใต้ท้อง ระยะไข่ประมาณ 6-10 วัน เพศเมียเมื่อวางไข่หมดแล้วจะตายไป เพลี้ยแป้งเพศเมียลอกคราบ 3 ครั้ง และไม่มีปีก ส่วนเพศผู้ลอกคราบ 4 ครั้ง มีปีกและมีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย เพลี้ยแป้งสามารถขยายพันธุ์ได้ 2-3 รุ่น ใน 1 ปี ลักษณะการทำลาย เพลี้ยแป้งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากบริเวณกิ่ง ช่อดอก ผลอ่อน ผลแก่ โดยมีมดดำเป

ป้องกันและกำจัด โรคมะละกอ เพลี้ยไฟมะละกอ โรครามะละกอ มะละกอใบด่าง มะละกอโคนเน่า แอนแทรคโนสมะละกอ

Image
โรคและแมลงที่เกิดกับมะละกอ เพลี้ยไฟมะละกอ เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็กมาก มี 6 ขา มีลำ ตัวแคบยาว สีเหลืองซีด เมื่อโตเต็มที่มีปีกยาวบนหลังจึงบิดได้และปลิวไปตามลมได้ด้วย มักพบระบาดในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูแล้ง อาการที่พบใต้ผิวใบจะแห้งเหี่ยว โดยเฉพาะเส้นกลางใบหรือขอบใบแห้งเป็นสีนํ้าตาลถ้าเป็นกับผลทำ ให้ผลกร้านเป็นสีนํ้าตาล ป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟ ได้โดยการ ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ป้องกันและกำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืช ไรแดงมะละกอ เป็นสัตว์ขนาดเล็กมี 8 ขา จะทำ ให้ผิวใบจะไม่เขียวปกติเกิดเป็นฝ้าด่าง ถ้าดูใกล้ๆจะพบตัวไรสีคลํ้าๆ อยู่เป็นจำ นวนมาก เดินกระจายไม่ว่องไว หรืออาจเห็นคราบไรสีขาวกระจายอยู่ทั่วไป แมลงศัตรูธรรมชาติคือด้วยเต่าเล็ก ตัวดำ ลำ ตัวรี ตัวอ่อนด้วงเต่าก็กินไรได้ดี แมลงวันทองในมะละกอ แมลงวันทองเป็นแมลงที่ทำ ลายผลไม้หลายชนิด โดยจะวางไข่ที่ผลขณะแก่ ทำ ให้หนอนที่ฟักเป็นตัว ทำ ลายเนื้อของผลเสียหาย เมื่ออยู่บนต้นหรือในขณะบ่มผลแมลงวันทองจะระบาดในช่วงเดือมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดินชื้นตัวเต็มวัยจะขึ้นจากดินมาผสมพันธุ์กัน และวางไข่ได้หลายจิด ช่วงที่ทำ ความเสียหายให้กับเกษตรกรมากที่ส

โรคไฟทอปธอราในทุเรียน เป็นโรคจากเชื้อรา ที่ก่ออาการ ทุเรียนรากเน่า ทุเรียนโคนเน่า ทุเรียนกิ่งแห้ง ยืนต้นตาย

Image
โรคไฟทอปธอราในทุเรียน เป็นโรคที่เข้าทำลายทุเรียน และเป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่ง ที่ผู้ปลูกสวนทุเรียนต้องพบกับปัญหา โรคทุเรียนต่างๆ ที่มีสาเหตุจาก เชื้อจุลินทรีย์ หรือเชื้อรา ไฟทอปธอร่า (Phytophthora spp.) โรคทุเรียน ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ไฟทอปธอร่า นั้น มักถูกเรียกชื่อไปตามอาการ ที่แสดงออกให้สังเกตุเห็นได้ เช่น โรคทุเรียนรากเน่า ทุเรียนโคนเน่า ใบเหลือง ยอดแห้ง ทุเรียนใบร่วง ผลเน่า แท้ที่จริงแล้ว เชื้อรา ไฟทอปโธร่า สามารถเข้าทำลาย ก่อให้เกิดอาการของโรคทุเรียน ได้ตั้งแต่ระบบราก โคนต้น ลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ และ ผลทุเรียน คือ สามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนเลยก็ว่าได้ ฉนั้น โรคไฟทอปธอร่า หรือ Phytophthora diseases ในทุเรียน เมื่อกล่าวถึง จึงมีความหมายครอบคลุม โรคต่างๆ ดังได้กล่าวไว้ข้างต้น อาการของโรคไฟทอปธอราในทุเรียน เชื้อราไฟทอปธอร่า จะเข้าลำลายต้นทุเรียน จากระบบราก เข้าสู่โคนต้น และเข้าสู่ระบบท่อนน้ำเลี้ยง จึงสามารถลุกลาม แพร่ระบาดเข้าทำลายได้ทั้งระบบ ของต้นทุเรียน เราสามารถสังเกตุอาการได้จาก แผลบนลำต้น ลักษณะแผลจะตกสะเก็ดสีน้ำตาล ใบทุเรียนจะมีอาการใบเหลือง ยอดหลุดร่วง เหลือแต่กิ่ง โ

โรคราดำมะม่วง มะม่วงเป็นโรคราดำ เพราะเพลี้ยเป็นพาหะนำโรค การป้องกัน กำจัดโรคราดำในมะม่วง ที่ต้นเหตุ

Image
กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนมะม่วง เฝ้าระวังในช่วงที่มีสภาพอากาศแห้งแล้ง ให้เกษตรกรหมั่นสังเกตการระบาดของโรคราดำ มักพบคราบราสีดำติดตามส่วนต่างๆ ของต้น เช่น ใบ ยอด ช่อดอก และผล ซึ่งจะทำให้ช่อดอกบานช้า หรือบานผิดปกติ เหี่ยว และหลุดร่วงลงได้ บางครั้งอาจทำให้ไม่ติดผล ถ้าพบอาการของโรคที่ผลมะม่วง จะทำให้ ผลเหี่ยวและหลุดร่วงในที่สุด โดยมากจะพบการระบาดของโรคราดำในช่วงที่มีแมลงปากดูด อาทิ เพลี้ยจักจั่น และเพลี้ยแป้ง นอกจากนี้ หากพบการระบาดของโรคราดำ ให้เกษตรกรพ่นด้วยน้ำเปล่าล้างสารเหนียวที่แมลงปากดูด ขับถ่ายไว้และคราบราดำ เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค เนื่องจากเชื้อราจะเจริญบนสารเหนียวที่แมลงปากดูด ขับถ่ายไว้ คือ เพลี้ยจักจั่น และเพลี้ยแป้ง ดังนั้น เกษตรกรควรพ่นด้วยสารกำจัดแมลง กรณีพบเพลี้ยจักจั่น ฉีดพ่นด้วย มาคา สารอินทรีย์ป้องกันกำจัด เพลี้ย และแมลงจำพวกปากดูด และกำจัดเพลี้ยออกจากแปลงแล้ว แต่โรคราดำ ลุกลามขยายวงออกไป ให้ฉีดพ่นด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา การฉีดพ่น มาคา และไอเอส ให้ฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณที่มีโรคระบาด เว้นระยะการพ่นซ้ำ 7 วัน ต่อเนื่อง 2-4 ครั้ง และหมั่นสังเกตุอ

โรคราแป้ง Powdery mildew ที่เกิดกับผลไม้ และพืชผักต่างๆ และ การป้องกันกำจัดโรคราแป้ง ในผลไม้ต่างๆ

Image
เป็นโรคพบได้ทั่วไป เกิดได้กับทั้งในไม้ผล และพืชผัก รากลุ่มนี้สามารถพัฒนาและก่อให้เกิดโรคได้ดีในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง (arid หรือ semi arid) ราแป้งขาวจัดอยู่ในวงศ์ Erysiphaceae ทุก species เป็น obligate parasite เส้นใยจะเจริญอยู่บนผิวพืช และยึดติดอยู่บนพืชด้วย haustoium ซึ่งเจริญผ่านเข้าไปใน epidermal cell ของพืชเพื่อดูดเอาธาตุอาหารต่างๆ haustoium อาจมีลักษณะโครงสร้างโป่งพองขึ้นอย่างง่าย ๆ หรือมีการแตกแขนงมากมายการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เส้นใยสีขาวจะสร้าง conidiophore ลักษณะยาว ตั้งตรง ใส จากนั้นจะสร้าง conidia ต่อกันเป็นลูกโซ่ conidia ใส เซลล์เดียว รูปร่างแบบรูปไข่ (oval) หรือรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีมุมผนังบาง อาจเรียก conidia ของราแป้งขาวว่า oidium ตัวอย่างโรคราแป้งในพืชผัก ผลไม้ต่างๆ การป้องกัน และกำจัดโรคราแป้ง ฉีดพ่นด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ให้ครอบคลุมบริเวณที่มีการระบาดของราแป้ง ในอัตราผสม 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร เว้น 3 วันฉีดพ่นซ้ำ และเว้น 7 วัน ฉีดพ่นซ้ำอีกครั้ง และสังเกตุอาการของโรค ในขั้นตอนการฉีดพ่น ไอเอส เพื่อยับยั้งการ