ป้องกันและกำจัด โรคมะละกอ เพลี้ยไฟมะละกอ โรครามะละกอ มะละกอใบด่าง มะละกอโคนเน่า แอนแทรคโนสมะละกอ

โรคมะละกอ

โรคและแมลงที่เกิดกับมะละกอ

เพลี้ยไฟมะละกอ

เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็กมาก มี 6 ขา มีลำ ตัวแคบยาว สีเหลืองซีด เมื่อโตเต็มที่มีปีกยาวบนหลังจึงบิดได้และปลิวไปตามลมได้ด้วย มักพบระบาดในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูแล้ง อาการที่พบใต้ผิวใบจะแห้งเหี่ยว โดยเฉพาะเส้นกลางใบหรือขอบใบแห้งเป็นสีนํ้าตาลถ้าเป็นกับผลทำ ให้ผลกร้านเป็นสีนํ้าตาล
ป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟ ได้โดยการ ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ป้องกันและกำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืช

ไรแดงมะละกอ

เป็นสัตว์ขนาดเล็กมี 8 ขา จะทำ ให้ผิวใบจะไม่เขียวปกติเกิดเป็นฝ้าด่าง ถ้าดูใกล้ๆจะพบตัวไรสีคลํ้าๆ อยู่เป็นจำ นวนมาก เดินกระจายไม่ว่องไว หรืออาจเห็นคราบไรสีขาวกระจายอยู่ทั่วไป แมลงศัตรูธรรมชาติคือด้วยเต่าเล็ก ตัวดำ ลำ ตัวรี ตัวอ่อนด้วงเต่าก็กินไรได้ดี

แมลงวันทองในมะละกอ

แมลงวันทองเป็นแมลงที่ทำ ลายผลไม้หลายชนิด โดยจะวางไข่ที่ผลขณะแก่ ทำ ให้หนอนที่ฟักเป็นตัว ทำ ลายเนื้อของผลเสียหาย เมื่ออยู่บนต้นหรือในขณะบ่มผลแมลงวันทองจะระบาดในช่วงเดือมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดินชื้นตัวเต็มวัยจะขึ้นจากดินมาผสมพันธุ์กัน และวางไข่ได้หลายจิด ช่วงที่ทำ ความเสียหายให้กับเกษตรกรมากที่สุดคือ ระยะที่เป็นตัวหนอน มักจะพบในมะละกอสุกทำ ให้ผู้บริโภคเสียความรู้สึกในการรับประทานทางป้องกันคือ เก็บผลมีสีเหลืองที่ผิว 5% ของพื้นที่ผิวผล ไม่ปล่อยให้สุกคาต้นร่วมกับการใช้ ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์ ป้องกัน และกำจัดหนอน ฉีดพ่น ผสมในอัตราส่วน 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร

เพลี้ยอ่อนมะละกอ

เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงดูดที่สำ คัญชนิดหนึ่งในมะละกอ สันนิษฐานกันว่าเป็นตัวถ่ายทอดโรคใบด่างเหลืองที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งโรคนี้พบว่ากำ ลังเป็นกับมะละกอในแหล่งผลิตทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง

โรคใบด่างของมะละกอ

อาการที่เกิดกับต้นกล้ามะละกอจะแสดงอาการใบด่างผิดปกติ ใบมีขนาดเล็กลง สีซีดต่อมาใบร่วงและทำ ให้ต้นตายสำ หรับต้นที่โตแล้ว จะแสดงอาการโดยใบยอดเหลืองซีด ใบมีขนาดเล็กลง ก้านใบสั้น ใบด่างสีเหลืองสลับเขียว ส่วนต้นหรือก้านใบจะพบจุดหรือขีดสีเข้ม มะละกอจะให้ผลผลิต น้อยหรือไม่ได้ผลเลย
สาเหตุเกิดจากเชื้อปาปายาริงสปอทไวรัส ถ้าพบว่าเป็นโรคต้องโค่นทิ้งและไม่นำ มีดที่มีเชื้อไปตัดต้นดีเพราะจะทำ ให้เชื้อแพร่กระจายไปได้และฉีดพ่นยาป้องกันเพลี้ยอ่อน หรือเพลี้ยอื่นๆ บางชนิด เช่น เพลี้ยไก่ฟ้า ไม่ให้มาดูดกินนํ้าเลี้ยงจากต้นมะละกอที่ปกติ นอกจากนี้อาจใช้พันธุ์ต้านทานปลูกก็ได้

การป้องกันโรคใบด่างมะละกอ ทำได้โดยการกำจัด เพลี้ย ซึ่งเป็นแมลงพาหะ ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ป้องกันและกำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืช ผสมในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร

โรคราแป้งมะละกอ

อาการปรากฏบนใบและบนผลที่มีสีเขียว เกิดคราบฝุ่นของเชื้อราเป็นขุยสีขาวๆคล้ายแป้งที่บนใบ ก้านใบ และผล ใบอ่อนที่ถูกทำ ลายจะร่วงหรือใบเสียรูป ยอดชะงักการเจริญเติบโต ผลอ่อนมากๆ ถ้าเป็นโรคผลจะร่วง แต่ถ้าเป็นกับผลโตผลจะไม่ร่วงยังเจริญเติบโตได้ แต่ผิวจะกร้าน และขรุขระไม่น่าดู ส่วนที่ก้านนั้นมีสีเทาจาง ๆ แผลจะมีขอบเขตไม่แน่นอน

โรคนี้มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Oidium sp. โดยเชื้อราจะสร้างสปอร์ปลิวไปตามลมแพร่ระบาดไปได้ไกล ๆ โรคนี้มักจะเกิดในปลายฤดูฝนหรือต้นฤดูหนาวควรพ่นด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งเชื้อรา อัตราส่วนผสม 50cc ต่อน้ำ 20ลิตร

โรคมะละกอโคนเน่า

อาการของโรคพบทั้งที่ราก และโคนลำ ต้น อาการเน่าที่โคนต้นจะเน่าบริเวณระดับดิน แผลจะลุกลามมากขึ้น และจะปรากฏอาการที่ใบทำ ให้ใบเหี่ยวและเหลือง ยืนต้นตายหรือล้มได้ง่ายที่สุดเพราะเมื่อโคนลำ ต้นเน่า ก็หมายถึงภายในเนื้อเยื่อจะเน่าเละหมด ไม่มีส่วนแข็งแรงที่จะทรงตัวอยู่ได้โรคโคนเน่าเกิดจากเชื้อ Phytophthora plamivora พบเป็นมากในฤดูฝน เชื้อราเป็นพวกเชื้อราในดิน เมื่อมะละกอเจริญเติบโต เชื้อรานี้จะแพร่ระบาดได้รวดเร็ว เมื่อมีความชื้นสูงโดยสปอร์จะไหลไปกับนํ้าเข้าทำ ลายต้นอื่นถ้าหากมีนํ้าท่วมขังชื้นแฉะจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคนี้ได้ง่าย การจัดระบบปลูกให้มีการระบายนํ้าที่ดีจึงเป็นสิ่งจำ เป็น ฉะนั้น เมื่อปรากฏอาการของโรคควรถอน ขุดทำ ลาย ถ้าตรวจพบว่าโรคนี้เริ่มเข้าทำ ลายก็ควรรดด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน และยับยั้งโรคพืชจากเชื้อรา

โรคแอนแทรคโนสมะละกอ

อาการที่ผลอ่อนจะเกิดจุดและเน่าเสียหาย ส่วนที่ผลแก่จะเกิดจุดแผลสีนํ้าตาลลุกลามเป็นวงกลม เมื่อผลใกล้สุกมีความหวานมากขึ้น และเนื้อเริ่มนิ่มอาการของโรคจะยิ่งลุกลามรวดเร็วและเป็นรุนแรง ลักษณะอาการที่เห็นได้ชัดคือแผลกลมนุ่ม และเป็นวงซ้อน ๆกัน เป็นได้ทั้งบนต้นและในระหว่างบ่มตลอดจนในช่วงวางขายในตลาด

สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาดเกิดจาก เชื้อรา Colletotrichum gloeosporieides (Glomerella cingulata) เชื้อราชนิดนี้ ทำ ลายทั้งใบอ่อนและผล ความสำ คัญและพบระบาดเสมออยู่ที่ผลสปอร์ของเชื้อราดังกล่าวจะแพร่ระบาดไปยังผลมะละกอในต้นเดียวกันและต้นอื่น ๆ ตลอดจนในภาชนะบรรจุผลมะละกอได้โดยง่าย โดยอาศัยอาการสัมผัสติดไปหรือลมเป็นพาหนะนำ เชื้อโรคไป

ป้องกันและกำจัดโรค แอนแทรคโนสมะละกอ โดยการใช้ ไอเอส ผสมน้ำในอัตราส่วน 50cc ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณที่มีการระบาด

สั่งซื้อสินค้าที่ลิงค์ http://www.farmkaset.org/html5/customer_update_add_self.aspx
ไลน์ไอดี FarmKaset
 โทร 090-592-8614


ยาแก้โรค และแมลง ในมะละกอ

อ้างอิง sites.google.com/site/papayazap/rokh-laea-maelng-thi-keid-kab-malakx

Comments

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา