เพลี้ยไฟ เข้าทำลายข้าว ดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบข้าว ข้าวปลายใบม้วน ระบาดรุนแรง ข้าวแห้งตายทั้งแปลง ยาฆ่าเพลี้ย มาคา ยาอินทรีย์ป้องกันและกำจัดเพลี้ย

เพลี้ยไฟ ในนาข้าว เข้าทำลายข้าว โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบข้าว ปลายใบข้าวจะเหี่ยวแห้ง ขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบ เพลี้ยไฟอาศัยอยู่ในใบที่ม้วน ถ้าระบาดมากๆ ทำให้ต้นข้าวแห้งตายได้ทั้งแปลง

เพลี้ยไฟ Stenchaetohrips biformis (Bagnall) เป็นแมลงจำพวกปากดูด ขนาดเล็กลำตัวยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัยวางไข่ในเนื้อเยื่อของใบข้าว ตัวอ่อน มี 2 ระยะ ระยะเวลาตั้งแต่ตัวอ่อนถึงตัวเต็มวัยนานประมาณ 15 วัน

เพลี้ยไฟในนาข้าว

ลักษณะการทำลายของเพลี้ยไฟ และการระบาดของเพลี้ยไฟ

เพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยง จากใบข้าวที่ยังอ่อนโดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ ระบาดในระยะกล้า เมื่อใบข้าวโตขึ้นใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบและ อาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น พบทำลายข้าวในระยะกล้าหรือหลังปักดำ 2-3 สัปดาห์ โดยเฉพาะในอากาศร้อนแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงนานติดต่อกันหรือสภาพนาข้าวที่ ขาดน้ำ ถ้าระบาดมากๆ ทำให้ต้นข้าวแห้งตายได้ทั้งแปลง

ลักษณะการทำลายของ เพลี้ยไฟข้าว

ใบข้าวที่แสดงอาการปลายใบม้วน ข้าวใบม้วน หากระบาดมาก ข้าวอาจจะแห้งตายได้

พืชอาหารของเพลี้ยไฟ ได้แก่ ข้าวทุกสายพันธุ์ ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ มิลเลท ป่านลินิน หญ้าข้าวนก หญ้าไซ และหญ้าต่างๆ


เพลี้ยไฟ (rice thrips)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stenchaetothrips biformis (Bagnall)
วงศ์ : Thripidae
อันดับ : Thysanoptera
ชื่อสามัญอื่น : -
 
การป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ ในนาข้าว

ดูแลแปลงข้าวระยะกล้าหรือหลังหว่าน 7 วัน อย่าให้ขาดน้ำ

หากพบเพลี้ย ตัวเต็มวัย 1-3 ตัวต่อต้นในข้าวอายุ 6-7 วันหลังหว่าน 

หากกรณีที่มีน้ำ ในเขตชลประทาน สามารถปล่อยน้ำท่วมข้าว 1-2 วันแล้วปล่อยออก เพื่อกำจัดเพลี้ย และฉีดพ่นปุ๋ย FK-1 เมื่อข้าวอายุ 10 วัน เพื่อเร่งการเจริญเติบโต สร้างความสมบูรณ์แข็งแรง เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานให้แก่ต้นข้าว

กรณีไม่มีน้ำเพียงพอ ฉีดพ่นด้วย ยาฆ่าเพลี้ย มาคา สารอินทรีย์ป้องกันและกำจัดเพลี้ย และแมลงจำพวกปากดูด ผสมในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง เว้นระยะ 7 วัน พ่นซ้ำ ต่อเนื่อง 1-3 ครั้ง แล้วแต่ความรุนแรงของการระบาด ผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกันกับ มาคา จะทำให้ข้าวฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของเพลี้ยได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และกลับมาเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง และให้ผลผลิตดีขึ้น

สั่งซื้อสินค้าได้ที่ http://www.farmkaset.org/html5/customer_update_add_self.aspx
ไลน์ไอดี FarmKaset
โทร 090-592-8614

ยาฆ่าเพลี้ยไฟ ในนาข้าว

อ้างอิงบางส่วนจาก ricethailand.go.th/Rkb/disease%20and%20insect/index.php-file=content.php&id=39.htm

Comments

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา