Posts

Showing posts from August, 2015

ฟางข้าว คือคลังสมบัติ หยุดเผาตอซังฟางข้าวเถอะค่ะ

Image
ฟางข้าวที่ถึงแม้จะฟังดูบางเบาแต่คุณสมบัติของฟางข้าว ไม่ได้เบาเลย กลับให้ประโยชน์ที่มากมาย..เป็นวัสดุคลุมดินและเก็บความชื้นได้อย่างยอดเยี่ยม..เวลาเราปลูกผักหรือหว่านเมล็ดพันธุ์ลงไปในขณะที่เมล็ดผักยังไม่งอก..ป้องกันความร้อนจากแสงแดดแผดเผาและเก็บความชื้นไว้กับดินได้..หรือจะนำไปคลุมที่โคนต้นไม้ปล่อยให้ย่อยสบายไปตามธรรมชาติก็ใช้ประโยชน์ได้ ใช้เลี้ยงวัว..อย่างชาวนาทางภาคอิสาน..จะเก็บฟางไว้ในคอกหรือปั่นเป็น ทรงพุ่มรอบเสาไม้..เอาไว้ให้วัวควายกินเวลาหน้าฝน..หรือฤดูทำนา..ที่ไม่ สามารถปล่อยวัวออกมาหากินได้ต้องขังไว้อย่างเดียว..ฟางข้าวแห้งเป็นอาหารอย่างดีของวัวควายเลยค่ะ และจะไม่พูดถึงเลยไม่ได้...คือประโยชน์หลักๆ ของฟางข้าว..ในนาที่ให้ธาตุ อาหารคืนให้กับดิน..ที่นาใครที่มีการเผาทำลายฟางข้าว..ช่างน่าเสียดาย อย่างมาก..แทนที่จะได้ปุ๋ยและอินทรีย์วัตถุชั้นดี ช่วยปรับโครงสร้างของดิน กลับเผาทิ้งและไปเสียเงินมากมายกับการบำรุงด้วยวิธีการอื่นๆแทน การเผาฟางข้าวทำให้ดินเก็บน้ำไม่อยู่เป็นที่มาของการแพร่ระบาดของโรคต่างๆในนาข้าว สูญเสียธาตุอาหารหลักอย่าง ไนโตรเจนไป 6-9 กก.ต่อไร่ ฟอสฟอรัส 0.8 กก.ต่อไ

เพิ่มไนโตเจนและอินทรียวัตถุให้กับดินโดยการปลูก พืชตระกูลถั่ว

Image
ไนโตรเจน เป็นธาตุอาหารหลักที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโต หากไม่ต้องการซื้อปุ๋ยเคมีในราคาสุง... มาหว่านและต้องรอสภาพอากาศเป็นใจคือดินต้องมีความชื้นถึงจะหว่านปุ๋ยเม็ดได้... หรือไม่งั้นก็ต้องใช้การฉีดพ่นทางใบช่วยมีอีกทางที่ประหยัดแถมได้ประโยชน์หลายอย่างคือการปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วตระกูลถั่วที่ว่า มีอะไรบ้างที่น่าสนใจ เริ่มจากที่ปลูกง่ายและทน หว่านทิ้งๆ ขว้างๆ ก็เจริญเติบโตได้คือ - ปอเทือง สามารถหว่านทิ้งไว้หลังจากปลูกข้าวเสร็จแล้ว หรือจะปลูกเป็น พืชแซมในไร่ข้าวโพด อ้อย ก็ได้ ออกดอกเมื่ออายุได้ 50 วันแล้วไถกลบ ต้นสด 4 ตัน จะได้ไนโตรเจนประมาณ 10-20 กก.ต่อไร่ ชอบดินร่วนทราย งอกได้แม้สภาพอากาศแห้งแล้วนะคะ - โสน ดอกโสนสามารถนำมาชุบแป้งทอดกินอร่อยเลยค่ะ แต่ประโยชน์ที่มากกว่านั้นคือหากปลูกเป็นพืชคลุมดินต้นสด 2-4 ตัน....ให้ธาตุไนโตรเจน 12-20 กก.....เหมาะกับปลูกแซมไม้ยืนต้นสวนผลไม้พอปลูกแล้วอายุประมาณ 45 วันให้ตัดต้นให้ชิดกับดินเลย.. ปล่อยต้นโสนไว้ในแปลงจะช่วยคลุมดินคลุมหญ้าและช่วยเก็บความชื้นในดินได้ดีค่ะ.... โสนสามารถทนน้ำขังและดินเค็มได้ - พืชตระกูลถั่วอีกตัวที่น่าสนใจคือ ...ซีร

ทำแบบนี้แล้ว จะปลูกมันสำปะหลัง ได้กี่ตันต่อไร่?

Image
ประโยคนี้กลายเป็นคำถามยอดฮิตไปแล้ว หลังจากที่ฟังวิดิโอบรรยายการปลูกมันสำปะหลังของปริมจบ... ประเทศไทยปลูกมันสำปะหลังทั้งหมด 8,975,865 ไร่ และผลผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ที่ 3.56 ตันต่อไร่ ดังนั้นถ้าเราปลูกมันสำปะหลังแล้วได้ 3.6 ตันต่อไร่ก็ถือว่าปกติ แต่ถ้าได้ผลผลิตน้อยกว่านี้ แสดงว่าเราปลูกมันได้น้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ คนที่ปลูกได้ 5 ตันต่อไร่ หรือ 10 ตันต่อไร่..แสดงว่าเขาเก่งและศึกษามาเยอะ ..เรียนรู้มามาก... แต่สำหรับปริมแล้ว..ผลผลิตจะมากหรือน้อย..ไม่สำคัญ..แต่มันสำคัญที่.ทำแล้วคุ้มหรือเปล่า..ทำแล้วได้กำไรเท่าไหร่..ก่อนที่จะมองว่าอยากทำมันสำปะหลังให้ได้ 10 ตัน หรือหนักเข้าก็บอกว่าได้ 30 ตันต่อไร่ ต้องถามตัวเองก่อนว่า..มีทุนเท่าไหร่..การถามว่ามีทุนเท่าไหร่.. มันคือการเริ่มต้นจากตัวเอง..ไม่ได้เริ่มต้นจากคำบอกเล่าของผู้อื่น.. ทำอย่างไรที่จะควบคุมต้นทุนการผลิตให้คุ้มกับผลตอบแทนที่ได้รับเป็นสิ่งสำคัญ..โดยเฉพาะไร่ใหญ่ๆ..หรือเกษตรกรที่ทำเป็นร้อยๆ ไร่ เพราะแค่เริ่มต้นทำ..ก็เป็นการลงทุนที่มากมายแล้ว..อยากได้ผลผลิตสูง..การลงทุนก็ต้องมาก.. ยิ่งการเกษตรที่มีปัจจัยของธรรมชาติเข้ามาเกี่ยว

ความสำคัญของการวางแผนและการจัดการแปลงปลูกพืช

Image
ปัญหาหนักอกหนักใจของชาวเกษตร..คงหนีไม่พ้นเรื่องการทำแล้วขาดทุน..ทำอย่างไรให้มีกำไรหรืออย่างน้อยก็ไม่ขาดทุนก็ยังดีในสภาวะที่เราเองกำหนดราคาพืชที่เราปลูกไม่ได้.. คงมีทางที่ง่ายคือ..ทำให้ต้นทุนต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้..แล้วจะทำอย่างไรที่ว่าให้ต้นทุนต่ำๆ พูดนะง่ายนะแต่พอทำจริงๆ ..ต้นทุนมันก็สูงขึ้น..สูงขึ้นมาโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ..ถ้าไม่ทำก็กลัวไม่ได้ผลผลิต..ยกตัวอย่างที่ไม่ได้ตั้งใจ...หญ้าขึ้นรกงามกว่าพืชที่ปลูก..ตอนแรกก็ว่าจะทำพืชอินทรีย์ไม่ใช้สารเคมีเลย..ไม่ได้เข้าโครงการอะไรหรอกแต่มันคือความตั้งใจ..สุดท้ายสู้หญ้าไม่ไหวมันท้าทายเหลือเกิน..ต้องฉีดยาฆ่าหญ้า..ของดเกษตรอินทรีย์และความปลอดภัยไว้ก่อนละกัน เอาไว้ทำปีหน้าละกัน.. ต้นทุนที่เพิ่มเข้ามาคือ..ค่ายาฆ่าหญ้า..และแรงงานฉีดยาฆ่าหญ้าซึ่งจะแพงกว่าการฉีดปุ๋ยใส่ปุ๋ยปกติ หรือแม้กระทั่ง..เรืองการใส่ปุ๋ย..ใส่แล้วใส่อีก..สารพัดอย่างที่เขาว่าดีสรรหามาใช้หมด..ต้นทุนค่าปุ๋ยเพิ่มขึ้นโดยที่ไม่จำเป็น. หนักกว่านั้นปริมเคยเจอ..ลูกค้าซื้อเครืองมือมาผิดรุ่น..ยิ่งเป็นในรูปแบบขององค์กร..ปัญหานี้เกิดขึ้นได้บ่อยมาก..เช่นซื้อผาลมาผิดวัตถุประสงค์ของการใช

แรงเทียนแม้จะน้อยนิด แต่เมื่ออยู่ในความมืดมิด ก็ให้แสงสว่างนำทางได้

Image
ไทยเราตกอยู่ในสภาวะมืดหม่น.. เศรษฐกิจย่ำแย่... หากบ้านหลังใหญ่เราไม่สงบ.. ก็คงจะฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้ยาก ขอจุดเทียนและ.. ส่งแรงใจ..จากหนึ่งคนสู่สองสู่สาม.. แรงใจมากขึ้น..ก็เป็นแรงอันยิ่งใหญ่... ช่วยให้ไทยผ่านพ้นเหตุการณ์เลวร้ายไปโดยไว.. สิ่งไหนที่เป็นการกล่าวให้ร้ายกัน..สร้างความแตกแยก.. งดแชร์..งดวิจารณ์กันก่อนนะคะ.. รักเธอประเทศไทย.. สองวันแล้ว งดบทความด้านเกษตร คิดอะไรไม่ออกเลยในภาวะนี้..

วิธีการสังเกตุการขาดธาตุอาหารของพืชเบื้องต้น

Image
ทุกครั้งที่มีคำถามเข้ามาหาฟาร์มเกษตรว่า ใส่ปุ๋ยสูตรไหนดี หรือมีปุ๋ยอะไรดีบ้าง ปริมมักจะถามว่า "พี่ตรวจดินหรือยังค่ะ" คำตอบคือ.. "ยังไม่ได้ตรวจ" ส่วนใหญ่แล้ว ตั้งแต่ปลูกพืชมาหรือตั้งแต่ใช้ประโยชน์จากพื้นดินผืนนี้...... ไม่เคยตรวจดินเลยสักครั้ง เวลาจัดยาจัดปุ๋ยเลยต้องจัดให้แบบ...... ยาสามัญประจำบ้าน ไปก่อน โดยที่จะได้ผลหรือไม่ได้ผลก็เสี่ยงดวงจากโครงสร้างของดินที่ตอบสนองต่อยาและปุ๋ยเอาเองอีกทีหนึ่ง การสังเกตุดินง่ายๆ ว่าดินมีปัญหาหรือไม่ (เกษตรกรส่วนใหญ่ ถ้าไม่เกิดโรคระบาดซะก่อน ก็มองไม่เห็นประโยชน์ของการปรับปรุงดิน) และปัญหามักเกิดจากความไม่สมดุลของดิน.... พอไม่สมดุลก็เกิดปัญหา คือ - ผลผลิตจะน้อยลง ๆน้อยลงทุกปี ตรงกับข้ามกับการใส่ปุ๋ย ที่ต้องใส่เพิ่มขึ้นทุกปี - ใส่ปุ๋ยอย่างไร ก็เหมือนต้นพืชไม่ตอบสนองใดๆ ไม่เขียวขึ้น ไม่แตกยอดหรือไม่เจริญเติบโตขึ้นเลย - มักเกิดโรคระบาดซ้ำๆ ในบริเวณนั้นทุกๆ ปี หากขาดธาตุรองสำคัญ จะมีอาการเบื้องต้นดังนี้ - ขาดธาตุสังกะสี ยอดอ่อนที่แตกใหม่จะมีสีขาว และลำต้นแคระ - ขาดโบรอน ตามใบจะหงิก ยอดม้วน - ขาดธาตุแมกนีเซียม มักเกิดโรคร

มีคนถามว่า ทำเกษตรแล้วรวยไหม? รวย จน สวย ขีเหร่ ตอบยาก บรรทัดฐานทางจิตใจคนไม่เท่ากัน

Image
ทำเกษตรแล้วหวังอะไร มีคนเคยถามนะ... ว่าทำเกษตรแล้วรวยไหม.. ซึ่งตอบยากมาก..เพราะคำว่า "รวย" มันเป็นอะไรที่เหมือนกับคำว่าสวย คือสวยของเรากะสวยของเขา มันไม่เหมือนกัน มันเป็นเหมือนศิลปะ...และเคยได้ยินเพื่อนโพสว่า "มีเท่าไหร่ถึงเรียกว่ารวย" นั่นนะสิ มีแค่ไหนกันนะ ถึงจะเรียกว่ารวย สำหรับบางคน..ไม่มีหนี้ถือว่ารวย.. แต่กับบางคน..ไม่มีหนี้คือไม่มีธุรกิจ... หรือคนไม่มีเครดิต..แค่แนวคิดก็ต่างกันแล้ว..นะคะ.. อารัมภบทมาเยอะ..เข้าสู่เนื้อหาบ้าง.. ทำเกษตรก็มีทั้งจนและรวย เหมือนๆกับทุกอาชีพ..ที่มีสองด้านเสมอ..มีขาวมีดำ..มีมืดก็มีสว่าง..มีคนจนในวงการ ก็ต้องมีคนรวยจาก การเกษตรเหมือนกัน..จากคำถามทำเกษตรแล้วหวังอะไร..คงหวังทั้ง..ความสุข.. ความสบาย...และความร่ำรวย... ถ้าเราอยากได้สิ่งเหล่านี้ จากอาชีพที่เราประกอบอยู่...ต้องทุ่มเท..ศึกษา. เรียนรู้.. และต้องเรียนรู้อย่างมากโดยเฉพาะอาชีพเกษตรกร..ที่ปัจจัยรายล้อมรอบตัว..ล้วนควบคุมไม่ได้เลย..ไม่ว่าจะเป็นราคาพืชผลทางการเกษตร..ปัจจัยการผลิต..ซึ่งเกี่ยวข้องกับคน... แต่ที่หนักหนาสาหัสนัก...สำหรับเกษตรกรคือ ..สภาพดินฟ้าอากาศและโรคระ

ปลูกมันสำปะหลัง พันธุ์อะไรดี เกษตร 50 ระยอง 11 ระยอง 72 ห้วยบง 60 ระยอง 9 อ้าวเกล็ดมังกรไม่ได้รับรองพันธุ์ จริงหรือ?

Image
การเลือกพันธุ์มันสำปะหลัง วันนี้ขอคุยเกี่ยวกับพืชเฉพาะด้านนะคะ มาคุยกันเรื่องมันสำปะหลัง..มีพี่ๆ และเพื่อนๆ จากเฟสบุคที่ปลูกมันสำปะหลังอยู่..หลายท่านได้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปลูกมันกัน และปัญหาที่ถกกันบ่อยๆ และไม่รู้จบเรืองหนึ่งก็คือ ... ปลูกมันพันธุ์อะไรดี.... ปริมขอแนะนำจากประสบการณ์ที่ทำและเก็บข้อมูลด้วยตัวเอง ไม่มีผลงานวิจัยรองรับ.. ไม่มีเอกสารทางวิชาการแจก.. แต่ทั้งหมดนี้เกิดจากการลงแปลงในพื้นที่ ทำการเก็บข้อมูลและสังเกตุด้วยตัวเองนะคะ ผิดถูกอย่างไร แลกเปลี่ยนความเห็นกันได้ค่ะ พันธุ์มันสำปะหลังที่ได้ทดลองปลูกในสภาพพื้นที่เดียวกัน ภูมิอากาศเดียวกัน การให้ปุ๋ยเหมือนกัน และการดูแลและจัดการไร่เหมือนกัน เลย มี 6 สายพันธุ์คือ (สำหรับสายพันธุ์อื่นๆ ไม่ขอพูดถึงเพราะว่าไม่ได้ทดลองปลูกและเก็บข้อมูลด้วยตัวเองนะคะ) 1. เกษตรศาสตร์ 50 2. ระยอง 11 หรือเขียวปลดหนี้ 3. ระยอง 72 4. ห้วยบง 60 5. เกร็ดมังกร 6. ระยอง 9 เนื่องจากไร่ที่เราปลูกมีพื้นที่ขนาดใหญ่ เวลาปลูกต้องวางแผนให้รอบด้านและเวลาเก็บเกี่ยว ต้องเริ่มเก็บตั้งแต่มันสำปะหลังอายุ 8 เดือน เวียนไปเรื่อยๆ เพื่อให้หล

ปุ๋ยอินทรีย์ : เพิ่มผลผลิตพืชได้จริง วันนี้มาทำความเข้าใจการทำงานของมัน

Image
การดูแลดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ และการเลือกใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้ถูกวิธี สร้างผลผลิตพืชได้จริง.... จากบทความก่อนหน้าที่ปริมได้เขียนเกี่ยวกับ "ความสำคัญของอินทรีย์วัตถุ" ไปแล้วนั้น วันนี้มาเจาะลึกลงไปอีกนิด ขอพูดถึงปุ๋ยอินทรีย์ เพียงอย่างเดียวนะคะ หากเรามองย้อนไปรุ่นปู่รุ่นย่าที่ได้ทำการเกษตรนั้น ต้นทุนต่ำมากเมื่อเทียบความคุ้มค่ากับผลผลิตที่ได้รับ นั่นเป็นเพราะ สมัยก่อนการทำเกษตรไม่ได้เน้นความรีบเร่ง ทำกันเป็นครอบครัว แถมได้ประโยชน์โดยอ้อมเป็นการสร้างความชิดใกล้และความสามัคคีในครอบครัวได้อีก และที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวคือการรรักษาโครงสร้างของดิน โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ พวกหญ้าในแปลงปลูกที่แผ้วถางด้วยมือ ปล่อยให้หญ้าและวัชพืชแห้งตายภายในแปลง นั่นก็กลายเป็นปุ๋ยพืชสด อินทรีย์ชั้นดีเลยค่ะ...ที่สำคัญเมื่อก่อนทุกบ้านจะเลี้ยงวัว ควาย เป็ด ไก่ ห่าน และหมูหลุม เอาไว้ด้วย ทำให้ได้มูลสัตว์เหล่านั้น... เอามาใส่ในแปลงปลูกทุกๆปี ถึงแม้ว่าในระหว่างการปลูกจะนิยมใช้ปุ๋ยเคมีกันมาก แต่สภาพดินก็ไม่เสีย เพราะได้ปุ๋ยอินทรีย์ สารพัดวิธีที่ได้กล่าวไปแล้วนั่นเอง เมื่อใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไปในดิน ตัวอินทรี

ไม่ตรวจดิน แต่ซื้อปุ๋ยมาใส่เยอะๆ เปรียบเสมือนซื้อดินมาถมลงดิน

Image
ความสำคัญของการตรวจดิน เคยเป็นใหม..เวลาปลูกพืชแล้วเห็นของคนอื่นงามมาก ได้ผลผลิตดีมากๆ ก็ถามสูตรหรือวิธีการทำกันไป..เค้าทำงาม..แต่ทำไมเวลาเราปลูก..มันกลับไม่งาม..กลับไปใหม่..ทำผิดวิธีหรือเปล่า..ใช้ปุ๋ยสูตรไหนดี..มีเทคนิคดีๆอีกใหม..มียาวิเศษยี่ห้ออะไร..บลา...บลา... บางทีมันอาจแค่เส้นผมบังภูเขา...แค่เรืองของดิน..แต่มันไม่ใช่.."แค่" มันเป็นเรืองใหญ่..ที่เกษตรกรมักจะมองข้าม... มุ่งหาปุ๋ยดีสารเพ..มุ่งหาพืชพันธุ์ดีสารพัด..แต่สุดท้าย..ลืมนึกถึงโครงสร้างของดินที่เป็นพืนฐานของทุกสิ่ง..ทุกอย่าง... สำหรับปริมแล้ว..การทำเกษตรให้ได้ผล..เรืองใหญ่ที่สุดคือเรืองดินค่ะ ..หากเรารู้โครงสร้างของดิน..รู้ว่าในดินมีธาตุอาหารอะไรบ้าง..อะไรมีเพียงพอแล้ว...อะไรมีน้อยและยังขาดอยู่...เป็นคำตอบของการปลูกพืชได้ผลคุ้มกับต้นทุนอย่างแท้จริงค่ะ มองด้วยตา..ไม่สามารถตอบโจทย์นี้ได้..แต่เกษตรกรบางท่าน..ก็อาศัยความชำนาญจากการสังเกตุต้นพืช..ลักษณะของใบพืชหรือลักษณะที่มองเห็นได้จากภายนอกของดิน..ก็สามารถตอบโจทย์นี้..แต่จะมีสักกี่ท่าน..ที่จะเข้าใจลักษณะของดินและพืชได้อย่างถ่องแท้แบบนี้..ต้องอาศัยประสบการณ

ใช้ยาอินทรีย์ : ฉีดแล้วหนอนไม่ตาย เลยสรุปเอาเองว่ายาเคมีดีกว่า สาเหตุที่ทำเกษตรอินทรีย์ไม่ได้ผล เพราะเราไม่รักที่จะพัฒนาตนเอง

Image
คอเกษตรอินทรีย์ มาคุยกันทางนี้นะคะ หลายคนอยากปลูกพืชแบบอินทรีย์ แต่เวลาเกิดโรคระบาดที ก็ถอดใจว่า คงทำแบบอินทรีย์ไม่ได้ เลยหันหน้ามาเพิ่งยาเคมีเหมือนเดิม เพราะเห็นผลเร็วกว่า ได้ผลกว่า ในความเป็นจริงที่บ่นกันว่า ยาอินทรีย์ไม่ได้ผลนั้น เป็นเพราะขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกพืชแบบอินทรีย์ การปลูกพืชแบบอินทรีย์นั้น สามารถใช้ปุ๋ยเคมีได้ (เพราะปุ๋ยเคมีให้ธาตุอาหารหลักและกำหนดธาตุอาหารทั้งหลักและรองได้แน่นอน ควบคุมอาหารให้กับพืชเพื่อกำหนดผลผลิตได้ชัดเจน) แต่ห้ามใช้ยาเคมีและสารเคมี อย่างเด็ดขาด เพราะยาหรือสารเคมี มีฤทธิ์ตกค้างอยู่ในดินและพืชนานตั้งแต่ 7-15 วันเลยทีเดียว เกริ่นมาเยอะ มาเข้าสู่การรู้จักกับยาอินทรีย์กันนะคะ การจะใช้ยาอินทรีย์ให้ได้ผล ต้องเข้าใจว่า ยาอินทรีย์ ไม่ใช่ยาครอบจักรวาล หรือยาสามัญประจำ บ้านอย่างยา พาราเซตามอล ที่ไม่ว่าจะเจ็บจะป่วย จะปวดอะไร ก็หยิบมาใช้ได้ แต่ยาอินทรีย์จะออกฤทธิ์แบบเฉพาะเจาะจงเท่านั้น เพราะคำว่าปลอดภัยต้องแลกมากับการใส่ใจและจดจำ..นั้นคือ..ยาอินทรีย์แต่ละตัวใช้แก้โรคได้ผลกับโรคใดโรคหนึ่งเท่านั้น แบบเป็นหมอเฉพาะด้าน...ผู้ใช้อย่างเราต้องสังเกตุว่า

ความสำคัญของอินทรียวัตถุ (Organic matter)

Image
เกษตรกรส่วนใหญ่รู้จักปุ๋ยอินทรีย์ แต่ไม่เข้าใจคำว่า อินทรียวัตถุ และส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งนี้ มุ่งเน้นใส่ปุ๋ยธาตุอาหารหลักอย่างเดียว มีเงินมาก มีทุนมาก ก็ใช่ว่าจะปลูกพืชได้ผลดีนะคะ อินทรียวัตถุ หมายถึง สิ่งที่ได้จากการย่อยสลายของเศษซากพืช ซากสัตว์ ต่างๆ หรือมูลของสัตว์และคน ยกตัวอย่างเศษใบไม้และตะกอนทีทับถมกันนานๆเข้าเมื่อถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ นั่นแหละเรียกว่าอินทรียวัตถุ และเมื่ออินทรียวัตถุย่อยสลายๆไปเรือยๆ ก็จะกลายเป็นฮิวมัส สังเกตุดินที่มีฮิวมัสสูงๆ จะเป็นดินป่าพุเต็งและมีสีดำ ดินจากคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ควรจะมีค่าอินทรีย์วัตถุในดินไม่น้อยกว่า 1.5% ขึ้นไป ค่ะ ดินที่มีสภาพเป็นดินทราย และ ร่วนทราย มักจะมีอินทรียวัตถุต่ำ เม็ดดินจะไม่เกาะกัน ทำให้เก็บปุ๋ยไม่ค่อยได้ และไม่เก็บน้ำด้วย ส่วนในดินเหนียวที่ขาดอินทรียวัตถุ ก็จะทำให้ดินทึบเกาะกันแน่น ไม่มีอ๊อกจิเจนในดิน ทำให้รากของพืชที่เราปลูกหากินอาหารไม่ได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะมีสภาพดินเป็นดินร่วนทรายหรือดินเหนียว ก็ขาดอินทรียวัตถุไม่ได้นะคะ สังเกตุพื้นที่มีการขุดลอกหน้าดินไปทิ้งหรือขุดหน้าดินออก หรือดินที่เอามาจากที่

การผสมปุ๋ยเม็ด : ผสมปุ๋ยใช้เอง ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ได้ปุ๋ยในสูตรที่ต้องการ ไม่ต้องจ่ายค่าสารเติมเต็มโดยไม่รู้ตัว

Image
สำหรับใครที่ต้องการผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง เพื่อประหยัดต้นทุน หลังจากที่มีการตรวจดินและทราบค่าธาตุอาหารต่างๆ ที่มีอยู่ในดิน แล้ว มาทำความรู้จักกับปุ๋ยที่ใช้ สำหรับการผสมปุ๋ยใช้เองกันก่อนนะคะ ปุ๋ยโดยทั่วไปที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด มี 2 อย่างคือ  1. ปุ๋ยผสม พร้อมใช้งานได้เลย เช่น สูตร 15-15-15 , 16-8-8 , 13-13-21 เป็นต้น 2. แม่ปุ๋ย เหมือนแม่สีนะคะ เอาไว้เป็นตัวแม่..ผสมให้ได้สูตรปุ๋ยต่างๆ ตามต้องการ จะมีสารประกอบธาตุอาหาร 1 หรือ 2 ตัว เท่านั้น และสำหรับการผสมปุ๋ยใช้เองก็ใช้แม่ปุ๋ยนี่ละคะ แม่ปุ๋ยที่ใช้กันส่วนใหญ่มีดังนี้คือ 1. ปุ๋ยไนโตรเจน หรือ N นิยมใช้มี 2 ตัวคือ  - ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 เป็นปุ๋ยที่เลียนแบบปุ๋ยยูเรียที่มีตามธรรมชาติจะมีในน้ำปัสสาวะ มีคุณสมบัติละลายน้ำได้เร็ว และละเหยง่าย พร้อมกับดูดความชื้นได้ง่าย ด้วย ปุ๋ยแบบนี้แนะนำให้ใช้กับดินเหนียว - ปุ๋ย แอมโมเนียมซัลเฟต สูตร 21-0-0 แต่มีผลเกี่ยวเนื่องทำให้ดินเป็น กรดได้หากใส่ติดต่อกันนานๆ จึงเหมาะกับดินที่เป็นด่าง เพราะในปุ๋ยสูตรนี้ มีกำมะถัน ซึ่งเป็นธาตุรองที่จำเป็นสำหรับพืช ผสมอยู่ไม่เกิน 0.02% แนะนำให้ใช้กับดินร่วนทรา

เกษตรเคมี เลวร้ายจริงหรือ? มาตรฐานเกษตรอินทรีย์เพื่อใครกันแน่

Image
แค่ความคิดเห็นส่วนตัวนะคะ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ต่างๆ ของต่างประเทศที่กำหนดมาให้เราทำและปฎิบัติ ก็เป็นเพียงวิธีการหาเงินจากเราทางหนึ่งเท่านั้น ไหนจะต้องจ่ายค่าตรวจแปลงที่แสนแพง แม้จะผ่านได้ใบรับรองไปแล้วยังต้องจ่ายค่ารายปีอีกหลายหมื่นบาท จะดีกว่าใหม..แทนที่จะมุ่งสร้างใบรับรอง..แต่ให้สร้างที่จิตสำนึกแทน..ใส่สารเคมีมากๆ คนกินก็ตาย..คนฉีดก็แย่... ปุ๋ยเคมีกับสารเคมีต้องแยกออกจากกัน..ปุ๋ยเคมีที่เป็นธาตุอาหารหลัก NPK ไม่อันตรายเพียงแต่ต้องใส่ให้ถูกวิธีและต้องควบคู่กับการเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน พวกปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด หรือปุ๋ยอินทรีย์ ไปด้วยอย่าใส่เพียงแค่ปุ๋ยเคมีซ้ำๆ กันทุกปี จะทำให้ดินขาดธาตุอาหารรองตัวอื่นๆที่สำคัญ ส่วนสารเคมีที่กล่าวถึงว่าอันตรายคือ..พวกยาเคมี...ยาฆ่าหญ้า...หรือยาฆ่าแมลงต่างๆ..แต่ถ้าหากโครงสร้างของดินมีความสมดุลก็จะไม่เกิดโรคที่จำเป็นต้องใช้ยาเคมี ส่วนยาฆ่าหญ้า..ถ้ารู้จักวิธีกำจัดหญ้าตั้งแต่การเตรียมดินก่อนปลูกพืช..ก็ไม่เจอปัญหาหนักค่ะ แทนที่จะไปเสียเงินให้กับค่าตรวจมาตรฐานของต่างชาติ..ร่วมกันสร้างจิตสำนึกให้รักตัวเอง..เรากิน...ลูกค้ากิน..ปลอดภัย..เราก็กิน..ลู

ปลูกพืชให้ได้ผลดีที่สุด ต้องรู้จักดิน รู้จักโครงสร้างของดิน

Image
ห่างหายการเขียนบทความด้านการเกษตรมานาน วันนี้ฟ้าครึ้มฝนอีกวัน สมองแล่น ขอแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับดินให้เพื่อนๆ ฟังนะคะ การจะปลูกพืชให้ได้ผลดีสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือดินหรือโครงสร้างของดิน ไม่ใช่ปุ๋ยและปุ๋ยก็ไม่ใช่แค่ธาตุอาหารหลักอย่าง NPK นะคะ การให้ปุ๋ยซึ่งเป็นธาตุหลักอย่างเดียว บางครั้งพืชก็ไม่สามารถนำธาตุหลักไปใช้ประโยชน์ได้ หากขาดธาตุรองที่ส่งเสริมกัน ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน (N) ใส่อย่างไรก็ไม่เขียว หรือ พืชไม่โต เพราะอะไร เพราะยังมีปัจจัยเรืองธาตุรองที่เกียวข้องกัน ในเรืองความสามารถในการดูดไนโตรเจนขึ้นไปใช้อีก (เรื่องปุ๋ย จะแยกออกเป็นอีกหนึ่งบทความวันหลังนะคะ) แต่ที่สำคัญหลักๆเลยต้องพิจารณาเรืองดินเป็นหลักก่อน ดินที่เรารู้จักส่วนใหญ่ จะมีแค่ ดินเหนียว ดินร่วน และ ดินทราย แต่ยังมีเนื้อดินที่มีลักษณะผสมกันอีกหลายแบบ 1. ดินเหนียว - ดินเหนียวสีดำ ดินแบบนี้มักจะปลูกพืชไร่ได้ผลมาก เช่น ถั่วลิสง ข้าวโพด ข้าวฟ่าง เพราะในดินเหนียวสีดำนี้ จะมีธาตุอาหารหลัก โปแทสเซี่ยมและฟอสฟอรัส ค่อนข้างสูง แต่จะไม่เก็บธาตุไนโตรเจน ดินแบบนี้พบมากแถบจังหวัดที่เคยเป็นลุ่มน้ำมาก่อน หรือติดกับแม่น้ำ อย่าง กาญ

ใส่ปุ๋ยให้ได้ผลที่สุด ต้องเข้าใจ Law of minimum

Image
มาคุยกันเรืองปุ๋ย ใส่ปุ๋ยอะไรดีให้กับพืชที่ปลูก ก่อนอื่นมารู้จักกันก่อนว่า ธาตุอาหารที่พืชได้รับจากดินนั้นมีอยู่ 13 ตัว แต่หลักๆ ที่พืชต้องการ จะแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ 1. อาหารหลัก ที่พืชต้องการมากที่สุด มี 3 ตัวคือ ไนโตรเจน,ฟอสฟอรัส และ โปแทสเซี่ยม หรือ เราเราเรียกกันว่า NPK 2. นอกจากอาหารหลัก 3 ตัวนี้แล้ว พืชยังต้องการธาตุอาหารรองอีก 3 ตัวที่สำคัญคือ แคลเซียม,แมกนีเซี่ยม และ กำมะถัน 3. จุลธาตุ พืชต้องการในปริมาณเล็กน้อยแต่ก็ขาดไม่ได้ คือ เหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสี และ โบรอน มาขยายความกันว่า ธาตุอาหารหลัก NPK นั้นพืชจะนำไปใช้เป็นจำนวนมาก หากปลูกพืชไปนาน ๆจะทำให้ปริมาณ NPK ในดินน้อยลง น้อยลง ดังนั้นจึงต้องใส่เพิ่มทุกปี ผลผลิตถึงจะได้เท่าเดิมหรือมากกว่า ส่วนธาตุรอง พืชนำไปใช้มากเหมือนกันแต่ไม่มากเท่ากับธาตุหลัก โดยปกติในดินจะมีธาตุรองมากพอกับความต้องการของพืช แต่ถ้าปลูกพืชไปนานๆ ไม่เคยเติมก็มีวันหมดเหมือนกัน หากขาดธาตุเหล่านี้ พืชจะออกอาการเหลืองซีดไม่โต ขาดภูมิคุ้มกันต่อโรคระบาดของพืชโดยเฉพาะโรคเชื้อรา และเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของรากเป็นหลัก ส่วนจุลธาตุ พืชต้องการน้อ

ต้นกระดาษ สมุนไพร ไม้ประดับ ขับปัจสาวะ ห้ามเลือด แก้ไอได้

Image
กระดาษ หรือ ต้นกระดาษ มีชื่อเรียกต่างกันหลายชื่อ เช่น กระดาษเขียว กระดาษขาว บอนเขียว เผือกกะลา บอนกาวี ฯลฯ ต้นกระดาษ เป็นพืชวงศ์เดียวกับ บอนสี หน้าวัว พลูด่าง แต่มีขนาดใหญ่กว่ามากพอสมควร เป็นไม้ประดับที่เห็นได้บ่อย แต่หลายๆคนอาจจะไม่รู้ ว่าชื่อของมันคือ กระดาษเขียว เพราะลักษณะของมัน คล้ายจะเป็นบอนต้นใหญ่ๆ เจริญเติบโตได้ดีในดินชื้นแฉะ ขยายพันธุ์ได้โดยการแยกหน่อ  เหง้าของกระดาษเขียว มีสรรพคุณขับปัจสาวะ ในส่วนของใบ ใช้เป็นยาช่วยห้ามเลือด น้ำจากก้านใบมีรสเย็นจิบแก้ไอ รูปภาพจาก  en.wikipedia.org