โรคใบด่าง เกิดจากเชื้อไวรัส แตงกวา และพืชตระกูลแตง ยังไม่มียารักษา ต้องกำจัดแมลงพาหะ
โรคใบด่าง ใน แตงกวา และพืชตระกูลแตงต่างๆ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกร ที่ปลูกพืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงไทย แตงโม แคนตาลูป ฟักทอง มะระหวาน บวบ เฝ้าสังเกตุ โรค ไวรัส ให้ดี เนื่องจากปัจจุบัน ยังไม่มียารักษาโรค
โรคใบด่าง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งแมลงหวี่ขาว และเพลี้ยอ่อน เป็นแมลงพาหะ เมื่อมันเข้าดูดกินใบ ของพืชตระกูลแตงต่างๆ จะแพร่เชื้อเข้าสู่ลำต้น ทำให้ใบพืชแสดงอาการด่างเหลือง ด่างเขียว สีใบพืชไม่เขียวสม่ำเสมอ มีรอยดวงด่าง เขียวซีดเป็นวงให้เห็น ส่งผลให้ยอดใบพืช หงิก งอ ม้วนผิดรูปร่าง ทำให้พืชสังเคราะห์แสงได้ไม่เต็มที่ ผลผลิตมีรูปร่างเล็ก ไม่ได้คุณภาพ บิดเบี้ยว ขายไม่ได้ราคา
เกษตรกรต้องหมั่นตรวจกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงอย่างสม่ำเสมอ เพราะเป็นแหล่งพักพิงของแมลงพาหะ หากพบต้นที่เป็นโรคให้ถอนทิ้งไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อลดแหล่งสะสมเชื้อไวรัส ที่แมลงตัวอื่นจะมากัดกินเอาเชื้อไปแพร่ต่อ เครื่องมือทางการเกษตรต่างๆที่นำไปใช้กับต้นที่เป็นโรค ต้องล้างทำความสะอาด และผึ่งแดดให้แห้งหลังการใช้งานทุกครั้ง
กำจัดแมลงพาหะ ได้โดยการฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ป้องกันและกับจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืช
ผสมในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นในแปลงที่มีการระบาด โดยใช้ยาที่ผสมน้ำแล้ว ฉีดพ่นประมาณ 80 ลิตร ต่อไร่ และฉีดพ่นซ้ำทุก 7 วัน ต่อเนื่อง 2-4 ครั้ง ตามความรุนแรงของการระบาด
เพื่อเร่งบำรุงให้พืชฟื้นตัวจากการเข้าทำลาย ของเพลี้ย แมลง และไวรัส สามารถ ฉีดพ่น FK-1 ผสมไปด้วยพร้อมกับ มาคา เนื่องจากใน FK-1 ประกอบไปด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จะช่วยสร้างความสมบูรณ์แข็งแรงให้กับพืช ส่งผลให้ พืช ต้านทานต่อโรคและแมลงได้ดีขึ้น
สำหรับพื้นที่ที่พบการระบาดของโรคใบด่างในฤดูปลูกครั้งต่อไป ให้เกษตรกรปลูกพืชหมุนเวียนชนิดอื่น หลีกเลี่ยงการปลูกพืชตระกูลแตง ตระกูลถั่ว มะเขือเทศ มะเขือยาว ขึ้นฉ่าย ยาสูบ งา กะเพราขาว ตำลึง หงอนไก่ บานไม่รู้โรย ทานตะวัน ลำโพง และขี้กาขาว
สั่งซื้อได้ที่ http://www.farmkaset.org/html5/customer_update_add_self.aspx
โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี FarmKaset
Comments
Post a Comment