การปลูกมะม่วง และการดูแลรักษา การให้ปุ๋ยมะม่วง การป้องกัน กำจัดโรคมะม่วง และกำจัดแมลงศัตรูพืช


การปลูกมะม่วง และการดูแลรักษา ต้นมะม่วง

การขุดหลุมปลูกมะม่วง

การขุดหลุมปลูกมะม่วง ทั้งแบบปลูกบนร่อง และปลูกในที่ดอน ควรปลูกให้เป็นแถวเป็นแนว เพื่อสะดวกในการดูแลรักษาและการ ปฏิบัติงาน ขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้าง ยาวและลึก 50-100 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินดี ร่วนซุย มีอินทรีย์วัตถุมาก ก็ ขุดหลุมขนาดเล็กได้ ส่วนดินที่ไม่ค่อยดี ให้ขุดหลุมขนาดใหญ่ เพื่อจะได้ปรับปรุงดินในหลุมปลูกให้ดีขึ้น ดินที่ขุดขึ้นมาจากหลุมนั้นให้แยกเป็นสองกอง คือ ดินชั้นบนแยกไว้กองหนึ่ง ดินชั้นล่างอีกกองหนึ่ง ตากดินที่ขุดขึ้นมาสัก 15-20 วัน แล้วผสม ดินทั้งสองกองด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ก้นหลุมก็ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักรองพื้นไว้ด้วย แล้วจึงกลบดินลงไปในหลุมตามเดิม โดยเอา ดินชั้นบนลงไว้ก้นหลุม และดินชั้นล่างกลบทับลงไปทีหลัง ดินที่กลบลงไปจะสูงกว่าปากหลุม ควรปล่อยทิ้งไว้ให้ดินย ุบตัวดีเสียก่อน หรือรดน้ำให้ดินยุบตัวดีเสียก่อนจึงลงมือปลูก

การเว้นระยะปลูกมะม่วง

ระยะปลูกมะม่วง ระยะปลูกมีหลายระยะด้วยกัน แล้วแต่วัตถุประสงค์ในการปลูก ได้แก่

1.) ระยะปลูกแบบถี่ เช่น 2.5 x 2.5 เมตร, 4 x 4 เมตร หรือมากน้อยกว่านี้ตามความเหมาะสม

2.) ระยะปลูกแบบห่าง เช่น 8 x 8 เมตร, 10 x 10 เมตรหรือมากน้อยกว่านี้ตามความเหมาะสม


วิธีปลูกมะม่วง

การปลูกมะม่วงไม่ว่าจะปลูกด้วยกิ่งตอน กิ่งทาบ หรือต้นที่เพาะเมล็ดก็ตาม ต้องทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้รากขาดมาก เพราะจะทำ ให้ต้นชะงักการเติบโตหรือตายได้ ต้นมะม่วงที่ปลูกไว้ในภาชนะนาน ๆ ดินจะจับตัวกันแข็งและรากก็พันกันไปมา เวลานำออกจากภาชนะแล้วให้บิแยกดินก้นภาชนะให้กระจายออกจากกันบ้าง ส่วนรากที่ม้วนไปมาให้พยายามคลี่ออกเท่าที่จะทำได้ เพื่อจะได้เจริญเติบโตต่อไปอย่างรวดเร็ว

การปลูกมะม่วงด้วยกิ่งทาบ กิ่งติดตา

ให้ปลูกลึกระดับเดียวกับดินในภาชนะปลูกเดิม หรือสูงกว่าเดิมเล็กน้อย แต่ต้องไม่มิดรอยที่ติดตาหรือต่อกิ่งไว้ เพื่อจะได้เห็นว่ากิ่งที่แตกออกมานั้น แตกออกมาจากกิ่งพันธุ์หรือจากต้นตอ ถ้าเป็นกิ่งที่แตกจากต้นตอให้ตัดทิ้งไป

การทางกิ่งมะม่วง

การปลูกมะม่วงด้วยกิ่งตอน

ให้ปลูกลึกระดับเดียวกับดินในภาชนะเดิมหรือให้เหลือจุกมะพร้าวที่ใช้ในการตอนโผล่อยู่เล็กน้อย ไม่ควร กลบดินจนมิดจุกมะพร้าว เพราะจะทำให้เน่าได้ง่าย

เมื่อปลูกเสร็จให้ปักไม้เป็นหลักผูกต้นกันลมโยกแล้วรดน้ำให้ชุ่ม ต้นที่นำมาปลูก ถ้าเห็นว่ายังตั้งตัวไม่ดี คือแสดงอาการเหี่ยวเฉาตอนแดดจัด ควรหาทางมะพร้าวมาปักบังแดดให้บ้าง ก็จะช่วยให้ต้นตั้งตัวได้เร็วขึ้น ในระยะที่ต้นยังเ ล็กอยู่นี้ให้หมั่นรดน้ำอยู่เสมอ อย่าให้ดินแห้งได้ การปลูกในฤดูฝนจึงเหมาะที่สุด เพราะจะประหยัดเรื่องการให้น้ำได้มาก และต้นจะตั้งตัวได้เร็ว โดยเฉพาะการปลูกในที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ไม่มีน้ำที่จะให้แก่ต้นมะม่วงได้ทั้งปี ให้ปลูกในระยะต้นฤดูฝน ช่วงแรก ๆ อาจต้องรดน้ำให้บ้าง เมื่อฝนเริ่มตกหนักแล้วก็ไม่ต้องให้น้ำอีก ต้นจะสามารถตั้งตัวได้เต็มที่ก ่อนจะหมดฝน และสามารถจะผ่านฤดูแล้งได้โดยไม่ตาย ส่วนที่ที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์จะปลูกตอนไหนก็ได้แล้วแต่ความสะดวก

การให้น้ำมะม่วง หลักที่ควรยึดถือปฎิบัติดังนี้

1. เมื่อเก็บเกี่ยวผลเสร็จแล้ว ควรจะใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตรเสมอกัน และทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ยต้องรดน้ำถ้าฝนไม่ตกหรือดินไม่มีความชื้นพอ และควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอกับมะม่วงในช่วงต้องการเร่งการเจริญเติบโตทางลำต้น กิ่งและใบ โดยให้น้ำตั้งแต่เก็บเกี่ยวผลเสร็จไปจนถึงเดือนกันยายน

2. มะม่วงก่อนออกดอก ต้องไม่ให้น้ำเพราะมะม่วงต้องการพักตัวหรือหยุดการเจริญเติบโตทางลำต้น กิ่งและใบเพื่อสะสมอาหารเตรียมแทงช่อดอก ดังนั้นช่วงอดน้ำให้กับต้นมะม่วงเป็นเวลา 1 เดือน (ต.ค.-ต้นอพ.ย.) และอาจใช้วิธีรมควันโดยสุมไฟให้ควันร้อนไล่ความชื้นในดิน หรือวิธีควั่นตามกิ่งไม่ให้น้ำไปถึงยอด

3. เมื่อมะม่วงเริ่มออกดอกและดอกเริ่มบาน เริ่มให้น้ำโดยให้ทีละน้อยพอหน้าดินเปียก โดยใช้น้ำฉีดล้างช่อดอกก็ได้จนกว่าผสมเกสรติดเป็นผลอ่อนเล็ก ๆ จึงค่อยเพิ่มการให้น้ำขึ้นทีละน้อยแต่ยังไม่ต้องมาก หลังจากนั้น 47 วัน ผลมะม่วงได้วัยขนาดขบเผาะ (นับจากวันที่ดอกบาน) ต้นมะม่วงต้องการน้ำมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างสม่ำเสมอจนกว่าผลมะม่วงอายุได้ 70 วัน นับแต่ดอกบานให้ลดปริมาณการให้น้ำลงทีละน้อย จนกว่าผลอายุ 90 วัน หลังจากดอกบาน (ระยะเก็บเกี่ยวประมาณ 100-115 วัน)

การสังเกตว่าน้ำมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ให้สังเกตที่ขั้วดอกและขั้วผล คือถ้าขั้วแห้งแสดงว่าน้ำน้อย แต่ถ้าขั้วเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวลสีเขียวออกเหลืองนวล แสดงว่าน้ำมากเกินไป

สวนมะม่วง เว้นระยะปลูกมะม่วง

การให้ปุ๋ยมะม่วง

1. ก่อนเก็บเกี่ยวมะม่วง หรือช่วงเก็บเกี่ยวผลอยู่ให้ลำเลียงปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอก ไปกองไว้รอบ ๆ พุ่มต้น (ยังไม่ต้องรดน้ำ) จนกว่าเก็บเกี่ยวหมดจึงเกลี่ยปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกกลบดินเล็กน้อยพร้อมให้น้ำไปด้วยมะม่วง 5 ปีขึ้นไปใช้ต้นละ 2-3 ปี๊บ และฉีดพ่นด้วย FK-1 ที่เป็นปุ๋ยเคมี สำหรับฉีดพ่นทางใบ สูตรเสมอ 20-20-20 ซึ่ง FK-1 นั้นยังประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม แคลเซียม และสังกะสี ที่จะช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง ให้กับต้นมะม่วง เมื่อถึงเดือน กันยายน ไปจนถึง ตุลาคม เปลี่ยนมาให้ปุ๋ยที่มีสูตรตัวหลังสูงกว่าตัวหน้า ฉีดพ่น FK-3 ซึ่งเป็นสูตร 5-10-40 ซึ่งจะเห็นว่าให้โพแตสเซียม สูงถึง 40% สูตรนี้จะเร่งดอก และผลได้ดี

ปุ๋ยเร่งโตมะม่วง

2. เมื่อมะม่วงเริ่มติดผลอ่อน เริ่มให้ปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอกร่วมกับ ฉีดพ่นปุ๋ยเคมีทางใบ สูตรเสมอ FK-1 (20-20-20 พร้อมธาตุรอง และธาตุเสริม) อีกครั้งหนึ่งเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของผลอ่อน

3. เมื่อผลโต ขนาด 2 ใน 3 ของผลโตเต็มที่ ให้ใช้ปุ๋ย ฉีดพ่นทางใบ FK-3 (สูตร 5-10-40 พร้อมธาตุรองและธาตุเสริม) อีกครั้ง ซึ่งเป็นสูตรตัวท้ายสูง เพื่อช่วยให้คุณภาพและรสชาติหวานขึ้น

ปุ๋ยเร่งผลผลิตมะม่วง ปุ๋ยเร่งผลมะม่วง

ยารักษาโรค และยากำจัดแมลงศัตรูพืช เมื่อเกิดปัญหา โรค และแมลงศัตรูมะม่วง 

เมื่อเกิดโรคมะม่วงต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา 

โรคจากเชื้อรา เช่น โรคมะม่วงใบไหม้ โรคราสนิม โรคใบจุด โรคมะม่วงกิ่งแห้ง โรคมะม่วงยอดแห้ง ให้ ฉีดพ่นด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ผสมในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นครอบคลุมบริเวณที่มีการระบาดของโรค สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน เพื่อส่งเสริมให้พืชฟื้นตัว กลับมาสมบูรณ์แข็งแรงได้เร็วขึ้น

ยาแก้ มะม่วงใบไหม้

เมื่อพบเพลี้ย แมลงศัตรูพืชระบาดในสวนมะม่วง

อาการใบมะม่วงหงิก ม้วนงอ อาจจะเกิดจากเพลี้ย หรือแมลงจำพวกปากดูดต่างๆ ดูดกินน้ำเลี้ยงที่ผิวใบมะม่วง ทำให้ใบมะม่วงหดตัว และแสดงอาการใบหงิก ม้วนงอ ผิดรูปร่าง มะม่วงยอดหงิก และนอกจากนั้นแล้ว เพลี้ย ยังเป็นพาหะนำโรคเชื้อราต่างๆ มาติดมะม่วงได้อีกด้วย หากป้องกันได้ตั้งแต่ยังไม่ระบาด จะดีที่สุด ป้องกันเพลี้ย หรือกำจัดเพลี้ยต่างๆ ฉีดพ่นด้วย มาคา ยาฆ่าเพลี้ยอินทรีย์ ปลอดสารพิษ ผสมในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณที่มีการระบาด และสามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกัน เพื่อช่วยให้มะม่วง ฟื้นตัว กลับมาสมบูรณ์ได้ในระยะเวลาสั้นขึ้น

ยาฆ่าเพลี้ย มะม่วง

สั่งซื้อสินค้าได้ที่ http://www.farmkaset.org/html5/customer_update_add_self.aspx

โทร 090-592-8614
ไลน์ FarmKaset

อ้างอิงเนื้อหา และรูปภาพ บางส่วนจาก 
sites.google.com/a/benchama.ac.th/chotikan48617/my-friend
technologychaoban.com/news-slide/article_79959
sentangsedtee.com/wp-content/uploads/2016/09/2-25-728x546.jpg

Comments

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา