ปาล์มไผ่ : ไม้ประดับ ที่ดูดสารพิษได้


ปาล์มไผ่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chamaedorea seifrizii เป็นไม้ประดับที่จัดอยู่ในวงศ์ PALMAE ต้นกำเนิดอยู่ทีประเทศเม็กซิโกและอเมริกาใต้ ลำต้นจะมีลักษณะคล้ายปาล์มใบไผ่ (Bamboo Palm) แต่จะมีขนาดใหญ่กว่านิดหน่อย ลำต้นมีสีเขียวขนาดเล็กเป็นข้อปล้องเห็นได้ชัด ดูคล้ายต้นไผ่ แต่จะสูงเพียง 1.5-2 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว เรียวแหลม สีเขียวมัน ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ แผ่ออกดูอ่อนช้อย มีความสามารถในการดูดซับสารพิษจากอากาศเหมือนกันกับปาล์มใบไผ่ แต่จะดูดได้น้อยกว่า แต่ถึงอย่างไรก็จัดเป็นไม้ประดับที่มีความสวยงาม และได้รับความนิยมนำมาปลูกประดับภายในบ้านเรือนหรืออาคารสำนักงานต่างๆไม่แพ้กัน

การปลูกการดูแลปาล์มไผ่

ปาล์มไผ่เป็นปาล์มที่มีหน่อและแตกเป็นกอ นิยมขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อหรือเพาะเมล็ด เป็นไม้ประดับที่ไม่ต้องการแสงแดดมากแต่ต้องการน้ำพอสมควร โดยเฉพาะในระยะกำลังเจริญเติบโต สามารถปลูกได้ในที่ร่มรำไร ถ้าปลูกในห้องหรือภายในอาคารสำนักงานควรรดน้ำวันละครั้ง ในการปลูกให้ใช้ดิน 2 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน เศษใบไม้ผุ 1 ส่วนผสมให้เข้ากันรองกระถางหรือหลุมปลูก

ความสามารถพิเศษในการดูดซับสารพิษ

ปาล์มไผ่เป็นไม้ประดับที่มีความสามารถสูงมากในการดูดสารพิษที่ปนเปื้อนในอากาศ โดยเฉพาะสารพิษจำพวกไตรคลอไรเอททาริน เบนชิน ฟอร์มาดิไฮ จึงเป็นไม้ประดับที่สมเหมาะเป็นอย่างยิ่ง ที่จะนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคารหรือสำนักงาน และเพื่อฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ รักษาสภาวะแวดล้อมทางด้านมลภาวะพิษได้เป็นอย่างดี

ข้อมูลจาก
garden-treed.blogspot.com

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา