ส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีทดแทนสวนเก่า


นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กรมฯ ได้จัดทำโครงการส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีทดแทนสวนเก่าเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้า AFTA

โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ดำเนินงานสนับสนุนแผนพัฒนาอุตสาห กรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม และเป็นการเตรียมความพร้อมเกษตรกรสำหรับการที่ประเทศไทยได้เปิดเสรีการค้าสินค้าน้ำมันปาล์มและเมล็ดในปาล์มตามข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ซึ่งได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 เป็นปีที่ 1 และปีที่ 2 ดำเนินการปลูกทดแทนไปแล้วกว่า 20,000 ไร่ และอยู่ระหว่างดำเนินการ ระยะที่ 3 อีก 10,000 ไร่ พื้นที่ดำเนินการใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร ตรัง และจังหวัดสตูล มีเกษตรกรเป้าหมาย จำนวน 1,000 ราย

สำหรับการดำเนินงานระยะที่ 3 (พ.ศ.2557–2559) ได้กำหนดแผนการดำเนินงาน โดยทำการประชาสัมพันธ์รับสมัครเกษตรกรและคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ จำนวน 1,172 ราย พื้นที่ 10,000 ไร่ มีจังหวัดกระบี่ 420 ราย พื้นที่ 3,600 ไร่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 225 ราย พื้นที่ 2,000 ไร่ จังหวัดชุมพร 350 ราย พื้นที่ 3,000 ไร่ จังหวัดสตูล 124 ราย พื้นที่ 1,000 ไร่ และจังหวัดตรัง 53 ราย พื้นที่ 400 ไร่

ซึ่งได้รับสมัครและคัดเลือกเกษตรกรตามเงื่อนไขของโครงการ พร้อมทั้งการฝึกอบรม/ดูงานเกษตรกรหลักสูตร “การปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีทดแทนสวนเก่า” และการจัดทำแปลงส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีทดแทนสวนเก่า ซึ่งโครงการฯ ได้สนับสนุนปุ๋ย สารเคมี และต้นกล้าปาล์มน้ำมัน โดยเฉพาะต้นกล้าปาล์มน้ำมัน ได้นำเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน (เมล็ดงอก) พันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 และสุราษฎร์ธานี 7 จากกรมวิชาการเกษตร มาเพาะเลี้ยงและอนุบาลโดยศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จนต้นกล้าปาล์มน้ำมันอายุได้ 10–12 เดือน จึงส่งมอบให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนำไปปลูกในเดือนมิถุนายน ถึง สิงหาคม 2558 นี้ต่อไป

ข้อมูลจาก :
dailynews.co.th/agriculture/330596

Popular posts from this blog

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา