ปลูกกาแฟ : หลัง AEC มีสถาณการณ์อย่างไร


คราวนี้มาดูอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ในการผลิตกาแฟของโลก ซึ่งอินโดนีเซียนั้นได้เปรียบตรงที่ความเหมาะสมของภูมิประเทศและภูมิอากาศทำให้กาแฟเติบโตได้ดี จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจหลัก สามารถผลิตได้เป็นลำดับที่ 4 ของโลก มีหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟของอินโดนีเซียจำนวนมาก ได้แก่ สมาคมผู้ส่งออกกาแฟอินโดนีเซีย เป็นผู้สนับสนุนเงินทุนและความรู้แก่ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมกาแฟ สมาคมผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านกาแฟของอินโดนีเซีย จะส่งเสริมและปรับปรุงเมล็ดพันธุ์กาแฟทั่วประเทศ ภูมิประเทศที่เป็นเกาะของอินโดนีเซีย ทำให้สามารถผลิตเมล็ดกาแฟได้หลากหลายแบบและรสชาติ

ปัจจุบันผู้ผลิตกาแฟ ก็ยังเป็นเจ้าของที่ดินขนาดเล็กและเกษตรกรรายย่อย ประมาณ  90% การบริโภคภายในประเทศนิยมกาแฟแบบคั่วเป็นส่วนใหญ่ มีสัดส่วนถึง 70% ส่วนกาแฟพร้อมชงละลายน้ำ มีราว 30%

ขณะที่ประเทศไทยเรา สถานการณ์ด้านการผลิตอยู่ในอาการที่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะกาแฟพันธุ์โรบัสต้า ที่ปลูกทางภาคใต้ อาทิ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นับวันพื้นที่ปลูกน้อยลงอย่างต่อเนื่อง หากปล่อยให้เป็นไปเช่นนี้เราต้องพึ่งพานำเข้าเป็นหลัก ถึงเวลาที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องต้องเร่งดัน “ยุทธศาสตร์กาแฟ” ให้เกิดขึ้น เพื่อหาแนวทางในการที่จะช่วยรักษาพื้นที่ปลูก เมื่อไม่นานมานี้ นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ก็ยอมรับครับว่า สถานการณ์การผลิตกาแฟของไทยในปี 2558 นี้ เหลือพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ จำนวน 248,193 ไร่ ลดลงจากปี 2557 จำนวน 11,256 ไร่ คิดเป็น 4.34% ได้ผลผลิตรวม 26,472 ตัน ซึ่งลดลงจากปีที่ผ่านมา 11,319 ตัน คิดเป็น 29.95%

ในจำนวนนี้กาแฟโรบัสต้ามีพื้นที่ปลูกและให้ผลผลิตอยู่ที่ 187,776 ไร่ ลดลงจาก 5 ปีที่ผ่านมา ที่มีพื้นที่ปลูกถึง 3 แสนไร่ เนื่องจากแหล่งผลิตในภาคใต้ประสบปัญหาฝนทิ้งช่วง อากาศร้อนและแห้งแล้ง ทำให้กาแฟออกดอกและติดผลไม่ดี จะเห็นได้ว่าผลผลิตกาแฟโรบัสต้าลดลงเหลือเพียงประมาณ 17,800 ตัน ขณะที่กาแฟอาราบิก้ามีเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้นเป็น 60,417 ไร่ คิดเป็น 14.08 และได้ผลผลิต 8,636 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 8.04% ครับ

ความจริงในปัจจุบันเราผลิตกาแฟไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศที่มีถึงปีละ 8 หมื่นตัน โดยเฉพาะกาแฟโรบัสต้าซึ่งมีโรงงานแปรรูปมีความต้องการใช้เป็นวัตถุดิบกว่า 7 หมื่นตัน ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งในรูปเมล็ดกาแฟและกาแฟคั่วบด โดยปีนี้ไทยได้อนุญาตให้มีการนำเข้าสินค้ากาแฟ ประมาณ 5.6 หมื่นตัน

ปัญหาที่เกิดขึ้นนี่แหละครับ ที่กรมวิชาการเกษตรได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกรรักษาพื้นที่ปลูกกาแฟเอาไว้ เพราะเกรงว่า อนาคตพื้นที่ปลูกกาแฟของไทยอาจลดน้อยลงและหมดไป โดยได้เร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตกาแฟอย่างเหมาะสมทั้งในพื้นที่ปลูกเดิมและเขตปลูกใหม่

ขณะเดียวกันยังส่งเสริมให้พัฒนากาแฟคุณภาพดีป้อนเข้าสู่ตลาด พร้อมพัฒนากาแฟชนิดพิเศษหรือกาแฟที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นด้วย ซึ่งจะมีการสร้างเรื่องราวหรือสตอรี่ของกาแฟแต่ละท้องถิ่นเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นจุดขายและให้เป็นที่รู้จักของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศต่อไปครับ

ข้อมูลจาก komchadluek.net

Popular posts from this blog

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา