พยากรณ์อากาศ ผลกระทบต่อเกษตร 08 มิย. - 14 มิย. 2558
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 9-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนและด้านตะวันตกของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.- สัปดาห์นี้ แม้จะมีฝนตก แต่บางพื้นที่ยังมีฝนตกน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล หากขาดน้ำจะทำให้ผลผลิตด้อยคุณภาพ
- ส่วนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เช่น ลิ้นจี่ และมะม่วง เกษตรกรควรรีบตัดแต่งกิ่ง และใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็ว และมีเวลาพักตัวได้นานขึ้น
-นอกจากนี้เกษตรกรควรบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย หรือฝนทิ้งช่วง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 9-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.- สัปดาห์นี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบอาจป่วยเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยได้
- สำหรับผู้ที่ปลูกพืชไร่ในระยะนี้ไม่ควรปลูกแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้ความชื้นสะสมภายในแปลงปลูกมาก ซึ่งทำให้เป็นโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราได้
- นอกจากนี้ เกษตรกรควรกักเก็บน้ำฝนเพื่อใช้ในด้านการเกษตร ในช่วงที่มีฝนน้อย หรือฝนทิ้งช่วง
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 9-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.- สัปดาห์นี้ แม้จะมีฝนตก แต่ในบางพื้นที่ปริมาณฝนยังมีน้อย เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ ควรมีแหล่งน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโต เพื่อป้องกันพืชขาดน้ำ ซึ่งจะทำให้ต้นชะงักการ เจริญเติบโต ผลผลิตลดลงได้
- สำหรับพื้นที่ที่มีฝนตก เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตด้อยคุณภาพ
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 9-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส- สัปดาห์นี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง สภาพอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนไม้ผลและสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
- สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่ง เพื่อให้ต้นได้พักตัว และทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา รวมทั้งกำจัดเปลือกและผลที่เน่าเสียและร่วงหล่นให้ถูกวิธีโดยเผาหรือฝังให้ลึก ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ในสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 9-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.- สัปดาห์นี้จะมีฝนเพิ่มมากขึ้น ชาวสวนไม้ผล ที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะเจาะผล และกัดกินผลทำให้ผลเสียหาย ผลผลิต ด้อยคุณภาพ
- ส่วนชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งเพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา รวมทั้งใช้สารป้องกันเชื้อราทาบริเวณหน้ากรีดยาง
- สำหรับพื้นที่การเกษตรในที่ลุ่มอาจเกิดน้ำขังในแปลงปลูกได้ เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.- สัปดาห์นี้จะมีฝนเพิ่มมากขึ้น ชาวสวนไม้ผล ที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะเจาะผล และกัดกินผลทำให้ผลเสียหาย ผลผลิต ด้อยคุณภาพ
- ส่วนชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งเพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา รวมทั้งใช้สารป้องกันเชื้อราทาบริเวณหน้ากรีดยาง
- สำหรับพื้นที่การเกษตรในที่ลุ่มอาจเกิดน้ำขังในแปลงปลูกได้ เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก
ข้อมูลจาก tmd.go.th