ทุเรียน พันธุ์สาลิกา เนื้อเต็มพูหวานมันหอม


ทุเรียนชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในพื้นที่ ต.ท่านา อ.กะปง จ.พังงา ซึ่งปัจจุบันต้นแม่มีอายุมากกว่า 100 ปี ยังคงยืนต้นตระหง่านและให้ผลผลิตติดผลดกอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอไม่ขาดต้นเหมือนเดิม ขนาดของต้นแม่ดังกล่าวใหญ่ขนาด 3 คนโอบ เจ้าของดูแลรักษาเอาไว้เป็นอย่างดี โดย “ทุเรียนพันธุ์สาลิกา” มีลักษณะเด่นประจำพันธุ์คือ ทรงผลกลมสวย ผลโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1.5-2 กิโลกรัมเท่านั้นพูใหญ่ เนื้อเต็มพู เปลือกผลบาง เมล็ดเล็กและลีบ เนื้อสุกเป็นสีเหลืองเข้ม รสชาติหวานแหลม เหนียวละเอียด ไม่เละแม้สุกงอม มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รับประทานอร่อยมาก คนในท้องถิ่นยุคสมัยก่อนเปรียบเทียบความอร่อยของทุเรียนชนิดนี้เหมือนกับเสียงร้องของนกสาลิกาที่มีเสียงไพเราะ จึงตั้งชื่อว่า “ทุเรียนพันธุ์สาลิกา” ดังกล่าวและเรียกขานกันเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

ทุเรียนพันธุ์สาลิกา มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับทุเรียนทั่วไปทุกอย่าง แต่ขนาดของผลจะไม่ใหญ่โตนัก รูปทรงของผลสวย เนื้อหนาแน่นเต็มพู รสชาติหวานมันหอมอร่อยตามที่กล่าวข้างต้นทุกคนที่ได้ลิ้มรสชาติของ “ทุเรียน พันธุ์สาลิกา” ต่างพากันลงความเห็น เป็นเสียงเดียวกันว่า รสชาติดีเหนือกว่าทุเรียนพันธุ์ดังๆหลายสายพันธุ์และถือเป็นของดีประจำจังหวัดพังงา นิยมซื้อเป็นของฝากมอบให้กับผู้นับถือถูกอกถูกใจทั้งผู้ให้และผู้รับ ซึ่ง “ทุเรียนพันธุ์สาลิกา” จัดเป็นทุเรียนพันธุ์เบา ติดผลง่ายและติดผลดกมาก จะติดผลหลังปลูกเพียง 4–5 ปี จากนั้นเมื่อต้นมีอายุ 10 ปีขึ้นไปจะให้ผลผลิต 100–200 ผลต่อต้นและต่อปีขยายพันธุ์ทั่วไปด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

ใคร ต้องการกิ่งพันธุ์ไปปลูก ติดต่อ “สวนณัฐธิดาพันธุ์ไม้” โทร. 08–0646–4699 หรือไปซื้อ ที่ งาน “เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) เกษตรแฟร์” ม.เกษตรฯ บางเขน กทม. ระหว่างวันที่ 19-28 มิ.ย.58 บริเวณโซนบี 38–39 เป็นกิ่งตอนด้วยระบบเสียบยอดกับตอทุเรียนพื้นเมือง มีรากแก้วดีทุกต้น ราคาสอบถามกันเองครับ.

ข้อมูลจาก
“นายเกษตร”
thairath.co.th/content/504441

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา