เปิดตัวโคพันธุ์ใหม่ น้ำนมมาก รีดได้ 345 วัน


นายนพดล ตันวิเชียร รองผู้อำนวยการทำการแทนผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เผยว่า แม้ประเทศไทยจะมีขีดความสามารถในการเลี้ยงโคนม จนสามารถส่งออกนมพาสเจอไรส์ไปยังประเทศอาเซียนได้แล้วก็ตาม แต่โคนมให้ปริมาณน้ำนมดิบยังไม่ได้เกณฑ์มาตรฐานสากล ที่ต้องได้วันละ 17 กก.ต่อตัว เราทำได้แค่ 14 กก.เท่านั้น

ทาง อ.ส.ค.จึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยฟลอริดา สหรัฐอเมริกา พัฒนาพันธุ์โคนมของไทยให้มีปริมาณน้ำนมมากขึ้น หลังจากพัฒนาพันธุ์มา 13 ปี วันนี้เราประสบความสำเร็จ ได้พันธุ์โคที่ให้น้ำนมเฉลี่ยวันละ 17-20 กก.และรีดนมได้นานมากขึ้น

นายธรรมนูญ ทองประไพ หัวหน้าแผนกผลิตน้ำเชื้อและพิสูจน์พันธุ์โคนม อ.ส.ค. บอกว่า การปรับปรุงพันธุ์ครั้งนี้ เริ่มมาจากนำแม่โคที่ชนะจากการประกวดในปี 2545 มาผสมกับน้ำเชื้อพ่อพันธุ์จากอเมริกา ซึ่งมีความต้านทานโรคเต้าอักเสบได้ดีและมีระยะเวลาการให้นมแต่ละปียาวนาน
“มีการผสมปรับปรุงพันธุ์ 3 ชั่วรุ่น ปรากฏว่า แม่โคสาวที่ผ่านการผสมพันธุ์จากพ่อพันธุ์ หมายเลข C-4705 ชื่อ แพลนเน็ท ได้น้ำนม 20 กก.ต่อวัน ส่วนแม่โคสาวที่ผสมพันธุ์จากพ่อพันธุ์หมายเลข C-4904 ชื่อ โปรเซส ได้น้ำนม 17 กก.ต่อวัน


หัวหน้าแผนกผลิตน้ำเชื้อและพิสูจน์พันธุ์โคนมบอกอีกว่า จากผลการทดลองปรับปรุงพันธุ์ประสบความสำเร็จ ได้มีการนำเชื้อพ่อพันธุ์ไปทดลองผสมพันธุ์กับโคสาวตามฟาร์มต่างๆในพื้นที่ อ.ส.ค. เพื่อทดสอบให้แน่ใจว่าลักษณะเด่นของโคพันธุ์ใหม่ไม่มีการกลายพันธุ์ และประสิทธิภาพการให้น้ำนมของพันธุ์ยังคงเดิมหรือไม่

ผลปรากฏว่าแม่โคทั้งหมดยังคงให้ปริมาณน้ำนมมากเหมือนเดิม ที่สำคัญยังมีระยะเวลาในการรีดนมนานมากขึ้น จากเดิมปีหนึ่งแม่โคพันธุ์ทั่วไปรีดน้ำนมได้แค่ 305 วัน แต่แม่โคพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่ตั้งชื่อสามารถรีดนมได้นานถึง 345 วันต่อปีทั้งสองพันธุ์.

ข้อมูลจาก
thairath.co.th/content/503770

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา