ผักตำลึง ประโยชน์จากริมรั้ว

        ผักตำลึง คนไทยเรารู้จักกันดีและเห็นกันจนชินตา เพราะตำลึงเหมือนวัชพืชอย่างหนึ่งที่ขึ้นริมรั่ว ทำให้บ้านรกไปด้วยเถาไม้เลื้อย หลายคนเลยมองว่ามันคือวัชพืช ที่ไม่เจริญหูเจริญตาและมักจะกำจัดด้วยการถอนเถาตำลึงไปทิ้ง แต่เดี๋ยวก่อนนะครับตำลึกไม่ได้มีแต่สร้างความรำคาญ แต่ยังเป็นผักที่มีสารอาหารและคุณประโยชน์มากมายเลยทีเดียว สามารถนำมาประกอบอาหารได้ อร่อยด้วย เช่น เด็ดยอดตำลึงมาต้มจืดเต้าหู้อ่อนใส่หมูสับ เป็นอาหารที่มีคุณประโยชน์ครบถ้วนมากๆเลยครับ



            ผักตำลึงมีสารอาหารสำคัญคือ เอนไซม์อะไมเลส แบต้าแคโรทีน ช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้งได้ดีเหมาะสำหรับคนลดน้ำหนัก อีกทั้งยังมีสรรพคุณทางยา สามารถรักษาโรคต่างๆ ได้ ดังนี้

สรรพคุณ

รักษาโรคเบาหวาน : ใช้เถาแก่ๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ หรือน้ำคั้นจากผลดิบ ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จะสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ 

              ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ : ควรรับประทานสด ๆ เพราะเอนไซม์ในตำลึงจะย่อยสลายง่ายเมื่อโดนความร้อน 

  
           ลดอาการคัน อาการอักเสบเนื่องจากแมลงกัดต่อยและพืชมีพิษ : นำใบตำลึงสด 2-20 ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำ คั้นเอาน้ำ ทาบริเวณที่เป็นจนกว่าจะหาย (ใช้ได้ดี สำหรับหมดคันไฟ หรือใบตำแย) 

แผลอักเสบ : ใช้ใบหรือรากสด ตำพอกบริเวณที่เป็น 

            
แก้งูสวัด, เริม:ใช้ใบสด 2 กำมือ ล้างให้สะอาด ผสมพิมเสนหรือดินสอพอง 1 ใน 4 ส่วน พอกหรือทาบริเวณที่เกิดอาการ 

             แก้ตาช้ำตาแดง : ตัดเถาเป็นท่อนยาวประมาณ 2 นิ้วนำมาคลึงพอช้ำ แล้วเป่า จะเกิดฟองใช้หยอดตา 

            ทำให้ใบหน้าเต่งตึง:นำยอดตำลึง 1/2 ถ้วย น้ำผึ้งแท้ 1/2 ถ้วย นำมาผสม ปั่นให้ละเอียด พอกหน้า ทิ้งไว้ 20 นาที แล้วล้างออก ทำทุกวันได้จะดีมาก


        

Comments

Popular posts from this blog

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา