การปลูก มะกรูด

การปลูก มะกรูด
มะกรูด ปลูกได้ดีในดินทุกชนิด ระยะปลูกมะกรูด นั้นปลูกได้หลายระยะ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และพื้นที่ของผู้ปลูก ซึ่งระยะปลูกไม่ควรติดกันเกิน 1 เมตร โดยทั่วไปนิยมปลูกมะกรูด ระยะชิด คือ 2x2 เมตร 1 ไร่จะได้มะกรูด 400 ต้น หากปลูกระยะ 1.5 x 1.5 เมตร 1 ไร่จะได้ 1067 ต้น ในการปลูกระยะชิดนี้จะเป็นการปลูกมะกรูด เพื่อจำหน่ายใบ เนื่องจากมีการตัดใบจำหน่ายทุกๆ 3 – 4 เดือน

 พุ่ม มะกรูด ก็จะไม่ชิดกันมาก หากต้องการปลูกเพื่อจำหน่ายเป็นลูก มะกรูด ผู้ปลูกอาจปลูกระยะห่าง 4 x 4 เมตร 1 ไร่จะได้ 200 ต้น หรือ 5 x 5 เมตร 1 ไร่จะได้ 65 ต้น เป็นต้นการ ปลูก มะกรูด ตัดใบ ต้องเลือกสภาพพื้นที่ปลูกให้เหมาะสม โดยเลือกพื้นที่เป็นสภาพดินร่วนปนทราย หรือพื้นที่ที่มีการระบายน้ำที่ดีเพราะ มะกรูด เป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำขัง ที่สำคัญการปลูก มะกรูด เพื่อตัดใบขายนั้นจะต้องมีสภาพแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ ถึงแม้มะกรูดจะเป็นพืชทนแล้งและไม่ต้องการน้ำมาก แต่หากเราต้องการจำหน่ายใบ มะกรูด ทั้งปี การให้น้ำมีความจำเป็นในการแตกใบของ มะกรูด เป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะในฤดูแล้ง จะเริ่มตั้งแต่เดือน พ.ย. ไปจนถึงเดือน พ.ค.การเตรียมดิน ก็เหมือนการปลูกไม้ผลทั่วไป ขุดหลุม ขุดหลุมกว้าง x ยาว x ลึก ประมาณ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยขี้วัวผสมดิน กรีดถุงดำออก น้ำต้นกล้าลงปลูก กลบดิน รดน้ำ คลุมฟาง และทำหลักปักกับต้นเพื่อกันโยกเวลาลมพัดในการปลูกปีแรก สำหรับบางท่านก็แนะนำว่าควรทำที่พรางแสง หรืออาจจะปลูกต้นกล้วยระหว่างแถว ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะการปลูกของผู้ปลูกแต่ละราย หากปลูกระยะชิดมาก การปลูกกล้วยแทรก อาจไม่เหมาะสม ผู้ปลูกอาจปลูกข้าวโพดแทรกระหว่างแถวได้ในปีแรก หรือใช้ผ้าซาแล็มในการพรางแสง ซึ่งขึ้นอยู่กับความสะดวกและความเหมาะสมแต่ละพื้นที่

Comments

Popular posts from this blog

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา