การปลูกกล้วยน้ำว้า ตอนที่2-4


การปลูกกล้วยน้ำว้า ตอนที่2-4




การดูแลบำรุงรักษาต้นกล้วยนั้นเมื่อเราปลูกต้นกล้วยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ที่นี้ก็อยู่ที่การดูแลล่ะ แต่ผู้เขียนคิดว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่จะมีความสุขที่สุด เพราะเราจะได้คอยดูมันแตกใบ แตกหน่อ แล้วก็โตวันโตคืน พอเริ่มปลูกอาทิตเดียวใบก็จะเริ่มแตก แล้วก็เริ่มโตแต่ก็เป็นช่วงที่สำคัญดังนั้นเราจะจัดเป็นลำดับการดูแลรักษาดังนี้
1.การรดน้ำ ให้รดน้ำทุก 2 - 3 วัน แต่ถ้าฝนตกเราก็งดการรดน้ำ นอกจากนี้กล้วยก็ยังเป็นพืชที่ เจริญเติบโต ในเขตภูมิประเทศบ้านเราได้ดีอยู่แล้ว หากขาดการดูแลรักษา หรือ จะไปธุระสักอาทิตย์สองอาทิตย์ ต้นกล้วยของเราก็ยังอยู่ได้สบายๆ โดยเราไม่ต้องเป็นห่วง
2.การใส่ปุ๋ย จริงๆแล้ว ปุ๋ยอะไรก็ได้ แล้วแต่เท่าที่เราจะสะดวก หาซื้อง่ายใกล้มือ ก็เอาเป็นว่าถ้าเราใส่ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพ ก็ให้ใช้อัตราการใส่ปุ๋ย 1 กิโลกรัม ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 เดือนครั้ง ครั้งละ 250 กรัม แต่ถ้าจะ ใส่มากกว่านั้นก็ไม่ว่ากัน เอาขั้นต่ำไปแล้วกันแบ่งเป็นข้อๆตามนี้
2.1 ใส่ปุ๋ยหลังปลูก 1 สัปดาห์ ปุ๋ยหมัก ชีวภาพ ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยเคมีโดยใช้สูตร 15-15-15

2.2 ใส่ปุ๋ยหลังครั้งที่ 1 ประมาณ 3 เดือน ปุ๋ยหมัก ชีวภาพ ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยเคมีโดยใช้สูตร 15-15-15

2.3 ใส่ปุ๋ยหลังครั้งที่ 2 ประมาณ 3 เดือน ปุ๋ยหมัก ชีวภาพ ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยเคมีโดยใช้สูตร 15-15-15

2.4 ใส่ปุ๋ยหลังครั้งที่ 3 ประมาณ 3 เดือน ปุ๋ยหมัก ชีวภาพ ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยเคมีโดยใช้สูตร 13-13-21
2.5 ปุ๋ยพืชสด เมื่อกล้วยออกเครือจนเราสามมารถตัดได้ เราก็นำต้นเก่า มาสับให้เป็นชินเล็กๆ แล้วมาใส่ก็จะมีขอดีตรงที่เราจะได้ ช้วยป้องกันความชื่น และในระยะยาวยังเป็นปุ๋ยให้กับต้นใหม่อีกด้วย




Comments

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา