ข้าวใบไหม้ หรือ โรคไหม้ข้าว (Rice Blast Disease) มีสาเหตุจากเชื้อรา การสังเกตุอาการ และการป้องกันกำจัด โรคไหม้

โรคไหม้ (Rice Blast Disease)

พบมาก ในนาน้ำฝน ข้าวพันธุ์พื้นเมืองไวต่อช่วงแสง พบส่วนใหญ่ใน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และ ภาคใต้


สาเหตุ ข้าวใบไหม้ เกิดจากเชื้อรา Pyricularia grisea Sacc. 

อาการข้าวใบไหม้

ลักษณะอาการต่างๆของโรคไหม้ข้าว ที่แสดงออกให้พบเห็น

อาการแผลจุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา, อาการแผลรูปตาตรงกลางมีสีเทา, อาการใบไหม้คล้ายน้ำร้อนลวก
,โรคไหม้ระบาดในแปลงกล้า

อาการของโรค ข้าวใบไหม้

ระยะกล้า ใบมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้

ระยะแตกกอ อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบใบเสมอ

ระยะออกรวง (โรคเน่าคอรวง) ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราเข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก

การแพร่ระบาด พบโรคในแปลงที่ต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อับลม ถ้าใส่ปุ๋ยสูงและมีสภาพแห้งในตอนกลางวันและชื้นจัดในตอนกลางคืน น้ำค้างยาวนานถึงตอนสายราว 9 โมง ถ้าอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 22-25 oC ลมแรงจะช่วยให้โรคแพร่กระจายได้ดี

โรคเน่าคอรวง ข้าวเน่าคอรวง

อาการโรคไหม้ข้าวในระยะข้าวออกรวง (โรคเน่าคอรวง)

การป้องกันกำจัดโรคข้าวใบไหม้

ใช้พันธุ์ข้าวที่ต้านทานโรคไหม้
ภาคกลาง เช่น สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 ชัยนาท 1 ปราจีนบุรี 1
พลายงาม คลองหลวง 1 พิษณุโลก 1

ภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น สุรินทร์ 1 เหนียวอุบล 2 เหนียวแพร่ สันปาตอง 1
หางยี 71 กู้เมืองหลวง ขาวโปร่งไคร้ น้ำรู

ภาคใต้ เช่น ดอกพะยอม

ข้อควรระวัง : ข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 60 และชัยนาท 1 ที่ปลูกในภาคเหนือตอนล่าง พบว่า แสดงอาการรุนแรงในบางพื้นที่ และบางปี โดยเฉพาะเมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย เช่น ฝนพรำ หรือหมอก น้ำค้างจัด อากาศเย็น ใส่ปุ๋ยมากเกินความจำเป็น หรือเป็นดินหลังน้ำท่วม

หว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสม คือ 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ควรแบ่งแปลงให้มีการระบายถ่ายเทอากาศดี และไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงเกินไป ถ้าสูงถึง 50 กิโลกรัม/ไร่ โรคไหม้จะพัฒนาอย่าง
รวดเร็ว
 

ยาแก้โรคข้าวใบไหม้

ใช้ ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ผสมในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง ครอบคลุมบริเวณที่มีการระบาด ต่อเนื่อง สองถึงสามครั้ง ระยะห่างของการพ่นแต่ละครั้งประมาณ 4-7 วัน

สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน เพื่อส่งเสริมให้ข้าว ฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรค ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ยาแก้โรคใบไหม้ ยาอินทรีย์แก้โรคไหม้ข้าว

สั่งซื้อสินค้าได้ที่ http://www.farmkaset.org/html5/customer_update_add_self.aspx

ไลน์ไอดี FarmKaset
โทร 090-592-8614

อ้างอิงบางส่วนจาก ricethailand.go.th/Rkb/disease%20and%20insect/index.php-file=content.php&id=112.htm

Comments

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา