การป้องกัน และการกำจัด เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน ยาฆ่าเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน

เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน (Durain psyllid )

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติของ เพลี้ยไก่แจ้

ตัวเต็มวัยวางไข่เข้าไปในเนื้อเยื่อพืช ท าให้เห็นเป็นวงสีเหลืองหรือน้ าตาลตามใบเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มหนึ่งมี

ประมาณ 8 - 14 ฟอง หลังจากนั้นไข่จะฟักออกเป็นตัวอ่อนขนาดยาวประมาณ 3 ม.ม. และมีปุยสีขาวติดอยู่ตามลำตัว โดยเฉพาะด้านท้ายของล าต้นมีปุยสีขาวคล้าย ๆ กับหางไก่ แมลงชนิดนี้จึงได้ชื่อว่า "เพลี้ยไก่แจ้" หรือ "เพลี้ยไก่ฟ้า" เมื่อแมลงนี้ลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยมีสีน้ าตาลปนเขียว ขนาดยาวประมาณ 5 ม.ม. มีอายุได้นานถึง 6 เดือน มักไม่ค่อยบินนอกจากได้รับความกระทบกระเทือน ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะอาศัยอยู่ด้านหลังใบตลอดเวลา

เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน

ลักษณะการทำลายทุเรียน ของเพลี้ยไก่แจ้ ทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัยดูดกิน

ลักษณะการทำลายของ เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน

น้าเลี้ยงจากใบอ่อนของทุเรียน ที่ยังไม่โตเต็มที่ ทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโตและเล็กผิดปกติ เมื่อระบาดมาก ๆ ใบจะหงิกงอ แห้งและร่วงหมด นอกจากนั้นยังท าให้ยอดอ่อนแห้งและตายได้ ตัวอ่อนของเพลี้ยชนิดนี้จะขับสารสีขาวออกมา เป็นสาเหตุทำให้เกิดเชื้อราตามบริเวณที่สารสีขาว ขับออกมา ระยะที่ทำลายมากที่สุดคือ ในระยะตัวอ่อน แมลงชนิดนี้ทำความเสียหายให้กับทุเรียนพันธุ์ชะนีมากที่สุด

การป้องกันและกำจัดเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน ระดับเศรษฐกิจ

เพลี้ยไก่แจ้ 5 ตัว/ยอด และยอดถูกทำลายมากกว่าร้อยละ 50 ต่อต้น

1. ติดตามสถานการณ์เพลี้ยไก่แจ้และศัตรูธรรมชาติ สำรวจร้อยละ 10 ของต้นทั้งหมด 7 วัน/ครั้ง ในช่วงมิถุนายน - พฤศจิกายน ตรวจนับ 5 ยอด/ต้น ทั้งเพลี้ยไก่แจ้และศัตรูธรรมชาติ พบเพลี้ยไก่แจ้ที่ยังมีชีวิตมากกว่า 5 ตัว/ยอด ถือว่ายอดถูกทำลาย

2. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติไว้ควบคุมเพลี้ยไก่แจ้ตามธรรมชาติ ตัวห้ำ : แมลงช้างปีกใส Chrysopa sp. แมลงช้างปีกใสแปดจุด Ankylopteryx octopunctata แมลงช้างปีกสีน้ าตาล Hemerobius sp. ต่อหลวง ต่อรัง แมงมุม , ด้วงเต่า Menochilus sexmaculatus ด้วงเต่าโรโดเลีย Rodolia sp. ด้วงเต่า Scymnus sp.

แมลงช้างปีกใส และ ด่วงเต่าลายหยัก

3. กระตุ้นการแตกใบอ่อนให้พร้อมกันทุกต้นเพื่อลดช่วงเวลาการเข้าทำลายของเพลี้ยไก่แจ้ให้สั้นลง โดยใช้ปุ๋ย FK-1 ผสมในอัตราส่วน 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร : ระยะแตกใบอ่อน ครั้งที่ 1 ระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม ระยะแตกใบอ่อน ครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนสิงหาคม - กันยายน

FK-1 กระตุ้นให้ทุเรียนแตกใบอ่อน

4. ใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลืองล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย

5. ใช้น้ำฉีดพ่นใบอ่อนที่คลี่แล้วเพื่อลดปริมาณเพลี้ยไก่แจ้

6. ใช้ มาคา สารอินทรีย์ป้องกันและกำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืช ผสมในอัตราส่วน 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มและครอบคลุมในสวน

ยาฆ่าเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน มาคา

สั่งซื้อสินค้าที่ได้ที่ http://www.farmkaset.org/html5/customer_update_add_self.aspx

ไลน์ไอดี FarmKaset
โทร 090-592-8614

อ้างอิง pmc03.doae.go.th/forcast%20news/18durian%20phylid.pdf

Comments

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา