โรคใบติดทุเรียน มีสาเหตุจากเชื้อรา ทุเรียนใบติด ป้องกันได้โดยการควบคุมเชื้อรา เมื่อเกิดโรคใบติด ใช้ยายับยั้งไม่ให้ลุกลาม
โรคราใบติด ทุเรียนใบติด (Rhizoctonia leaf blight durian)
โรคราใบติดทุเรียน หรือ โรคทุเรียนใบติด เกิดจากเชื้อรา โรคนี้จะระบาดมากในช่วงฤดูฝน หรือในพื้นที่มีฝนตกชุกตลอดปีและมีความชื้นสูง
ลักษณะ อาการบนใบที่พบจะมีรอยคล้าย ๆ ถูกน้ำร้อนลวก ขอบแผลไม่แน่ นอนอาจเริ่มที่ปลายใบ กลางใบ หรือโคนใบ แล้วลุกลามจนเป็น ทั้งใบ และจะสังเกตเห็นเส้นใยสีขาวนวลแผ่ปกคลุมคล้ายใยแมง มุมแผ่ไปตามผิวใบใบที่ถูกทำลายจะร่วงหล่นไปในที่สุด ถ้าใบที่ เป็นโรคไปสัมผัสกับใบที่ปกติไม่ว่าจะเป็นใบที่อยู่ล่าง ๆ หรือใบที่ อยู่เหนือกว่า ใบปกตินั้นก็จะเป็นโรคใบติดได้เช่นกัน
สาเหตุ โรคใบติดทุเรียน
เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani เป็นเชื้อราก่อโรคในพืชเศรษฐกิจและอื่น ๆ มากกว่า 500 ชนิด รวมทั้งทุเรียน สามารถดำรงชีพอยู่ได้นาน 1 ถึง 2 ปี ตามพื้นดิน ซากพืชหรือพืชอาศัยและถ้าบริเวณนั้นมีความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม สามารถมีชีวิตอยู่ข้ามฤดูกาลได้ ราชนิดนี้สามารถเข้าทำลายพืชได้เกือบทุกส่วน ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตั้งแต่เมล็ด ราก ลำต้น ผล และใบ จึงทำให้เกิดความเสียหายแก่ เกษตรกรเป็นจำนวนมาก
ลักษณะอาการ โรคทุเรียนใบติด
1.เชื้อราจะเข้าทำลายใบทุเรียนในระยะใบเพลาด ใบเพลาดที่เป็นโรคจะมีจุดสีน้ำตาลฉ่ำน้ำมีรูปร่างไม่แน่นอน แผลจะขยายใหญ่ขึ้นคล้ายถูกน้ำร้อนลวกเป็นสีน้ำตาลอ่อน และแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อใบเริ่มแก่ขึ้น
2. อาการไหม้อาจจะเกิดให้เห็นที่บริเวณขอบใบด้านปลายใบ กลางใบหรือทั้งใบ ใบที่ถูกเชื้อราทำลายจะมีเส้นใยสีน้ำตาลอ่อนยึดอยู่เป็นแผง
3.เชื้อราจะสามารถเจริญลุกลามไปยังใบอื่น ๆ ที่อยู่ติดกันโดยการสร้างเส้นใยยึดใบให้ติดกัน หรือใบที่เป็นโรคลุกลามจนแห้งและหลุดร่วงลงมาไปแตะและติดกับใบที่อยู่ข้างล่าง เชื้อราก็จะเข้าทำลายใบเหล่านั้น จนเกิดโรคลุกลามไปหลายจุดในต้น
4. เส้นใยของเชื้อรา สามารถทำลายใบที่อยู่ติดกันได้ เชื้อราสามารถแพร่กระจาย โดยใบที่เป็นโรคร่วงหล่นไปตกค้างอยู่กับใบอ่อนที่อยู่ในตำแหน่งถัดลงมาและบริเวณโคนต้น ทำให้เกิดแหล่งสะสมของเชื้อราที่จะแพร่กระจายในช่วงฤดูฝน และช่วงที่มีความชื้นสูง ทำให้เห็นอาการใบไหม้เป็นหย่อม ๆ และใบจะค่อย ๆ ร่วงหล่นลงยังโคนต้น เหลือแต่กิ่ง ซึ่งต่อมาจะค่อย ๆ แห้ง ทำให้ต้นทุเรียนเสียรูปทรงและมีการเจริญเติบโตที่ไม่สมบูรณ์
5.เมื่อต้นทุเรียนอ่อนแอ ไม่มีใบสังเคราะห์แสง สะสมอาหาร ก็จะมีอาการของโรคพืชอื่นๆเข้าทำลายต้นทุเรียน เช่น ยางไหล โคนเน่า โรคราทางใบต่างๆ รวมถึงหนอนเจาะลำต้นทุเรียนหรือปลวก เป็นต้น
การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด
เชื้อราสามารถแพร่กระจายโดยใบที่เป็นโรคร่วงหล่นไปตกค้างอยู่กับใบอ่อนที่อยู่ในตำแหน่งถัดลงมาและบริเวณโคนต้น ทำให้เกิดแหล่งสะสมของเชื้อราที่จะแพร่กระจายในช่วงฤดูฝน และช่วงที่มีความชื้นสูง
ระยะที่พบ ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน
ระยะควรระวัง ระหว่างเดือนสิงหาคม - กันยายน
การกำจัดโรคใบติดในทุเรียน
1.เก็บใบทุเรียนที่ติดโรคแล้วร่วงหล่นลงพื้นหรือรอบๆโคนต้นนำไปเผาทำลาย
2.ตัดแต่งทรงพุ่ม กิ่งที่เป็นโรคนำไปเผาทำลาย
3.ฉีดพ่นด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืชที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ให้ทั่วทั้งแปลง เนื่องจากโรคใบติด เกิดจากเชื้อรา สามารถติดต่อลุกลามไปยังต้อนทุเรียนรอบข้างได้อย่างรวดเร็ว
การป้องกัน โรคใบติดในทุเรียน
1.ใช้เชื้อราปฏิปักษ์ไตรโคเดอร์ม่า (Trichoderma harzianum) ควบคุมเชื้อราในดิน โดยนำเชื้อราไตรโคเดอร์ ชนิดเกล็ดแห้ง คลุกเคล้าส่วนผสมอินทรีย์วัตถุให้เข้ากัน นำส่วนผสมของเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าไปโรยลงบนดินรอบ ๆ โคนต้นในบริเวณทรงพุ่ม หรือใช้ รองก้นหลุมก่อนปลูก ดังนี้
- ทุเรียน อายุน้อยกว่า 1 ปี ใช้ 0.5-1 กก./ต้น
- ทุเรียน อายุ 2-3 ปี ใช้ 2-3 กก./ต้น
- ทุเรียน อายุ 3-5 ปี ใช้ 3-5 กก./ต้น
- ทุเรียนอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป ใช้มากกว่า 5 กก./ต้น
- รองก้นหลุมก่อนปลูกด้วยไตรโคเดอร์มาชนิดเม็ด 5-10เม็ดต่อหลุม
2.ใช้จุลินทรีย์ดินที่ขยายเชื้อแล้วปล่อยไปกับระบบน้ำทุกๆ1เดือน
3.ฉีดพ่นไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันโรคพืชจากเชื้อรา ทุก 7-30 วัน เพื่อควบคุมและป้องกันโรคพืชอื่นๆในทุเรียน
4. ติดตามสถานการณ์โรคราใบติดโดยสำรวจทุกต้น 7 วัน/ครั้ง ในช่วงสิงหาคม - กันยายน
5. ทำการตัดแต่งต้นทุเรียนหลังการเก็บเกี่ยว โดยตัดแต่งกิ่งให้ต้นทุเรียนมีรูปทรงที่สมบูรณ์และโปร่งพอดีที่จะรับแสงแดดได้ทั่วถึง
ช่วงการฟื้นฟูสภาพต้นทุเรียน
1. ตัดกิ่งทุเรียนให้ชิดกันเกินไปเพราะจะทำให้ทรงพุ่มประสานกัน เกิดเป็นโรคติดต่อกันได้ง่าย
2. ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคเผาทำลายเสีย ตลอดจนทำความสะอาดบริเวณโคนต้นโดยเก็บใบที่เป็น โรคเผาทำลาย ห้ามตัดแต่งกิ่งใบและทิ้งกองไว้ในสวนทุเรียน เพราะจะเป็นแหล่งก่อโรคและ ปลวก หนอนเจาะลำต้นได้
3. งดการใช้น้ำตาลทางด่วนทุกชนิด รวมถึงน้ำหมักทุกชนิดที่มีส่วนผสมของกากน้ำตาลและอายุการหมักน้อยกว่า6เดือนเพราะน้ำตาลเป็นแหล่งอาหารของเชื้อสาเหตุ
4.ฉีดพ่นด้วย FK-1 เพื่อเป็นการให้อาการทางใบ เสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง
5.ตรวจสอบวัดค่า PH ของดิน ต้องอยู่ในระดับ 5.5-7 ตั้งแต่ระดับ PH 4 จนถึง 5.5 ซึ่งถือว่า สภาพดินมีค่า PH ต่ำ เป็นกรดค่อนข้างรุนแรง การรักษาโรคทุเรียนจะมีปัญหาการฟื้นฟูสภาพต้นจะค่อนข้างล่าช้า ส่วนค่า PH มากว่า7 สภาพดินจะเป็นด่าง ความเป็นกรด-ด่างเป็นตัวควบคุมการละลายธาตุ อาหารในดิน ให้ออกมาอยู่ในรูปสารละลายรวมกับน้ำในดิน ถ้าดินมีความเป็นกรด-ด่างไม่เหมาะสม ธาตุอาหารในดินอาจละลายออกมาได้น้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของต้นทุเรียน หรือในทางตรงกันข้ามธาตุอาหารบางชนิดอาจละลายออกมามากเกินไปจนเป็นพิษต่อต้นทุเรียนได้
สั่งซื้อสินค้าได้ที่ http://www.farmkaset.org/html5/customer_update_add_self.aspx
ไลน์ไอดี FarmKaset
โทร 090-592-8614
Comments
Post a Comment