ธาตุโบรอน ช่วยให้พืชดูดซึม ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมได้ดีขึ้น ขาดโบรอน พืชแคระ โตช้า : ตรวจดิน ตรวจค่าโบรอน (B)

โบรอน (B) เป็นธาตุเสริม ที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต และสุขภาพของพืชทุกชนิด โบรอน เป็นส่วนประกอบของผนังเซลพืช และเป็นส่วนประกอบของ โครงสร้างการสืบพันธุ์ โบรอน เป็นธาตุอาหารที่เคลื่อนที่ได้ภายในดิน

แม้พืชจะต้องการใช้ ธาตุโบรอน (B) ในประมาณน้อย แต่ปัญหาการขาดธาตุเสริมในพืชนั้น พบว่าขาดโบรอนมากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจาก ธาตุสังกะสี (Zn)

หน้าที่หลักของ โบรอน ในพืช

โบรอน มีหลากหลายบทบาทสำคัญ ในการทำงานของพืช รวมถึงการสร้างผนังเซลล์ และเสถียรภาพของผนังเซลล์ การบำรุงความสมบูรณ์ของโครงสร้าง การเคลื่อนย้ายน้ำตาล และการเคลื่อนย้ายพลังงานไปยังส่วนที่เจริญเติบโต การผสมเกสร และการตั้งเมล็ด พืชจำเป็นต้องใช้โบรอนในการตรึงในโตรเจน 

พืชที่ขาด โบรอน (B) จะส่งผลกระทบที่ เกสร พลังงานของละอองเกสรไม่ดี จำนวนดอกลดลง อาการพืชได้รับ ธาตุโบรอน ต่ำ กระทบกับการเจริญเติบโตของรากพืชด้วยเช่นกัน 

พืชที่ได้รับโบรอนไม่เพียงพอ
พืชที่ได้รับ ธาตุโบรอน (B) เพียงพอ เทียบกับที่ได้รับไม่เพียงพอ

การวิเคราะห์พืชที่ขาด ธาตุโบรอน (B)

พืชส่วนใหญ่ ไม่สามารถระดม ธาตุโบรอน จากเนื้อเยื่อ ไปสร้างการเจริญเติบโตของส่วนต่างๆ เช่น ดอก ใบ ผล หรือเมล็ด การเคลื่อนย้าย ขนส่ง ธาตุโบรอน เกิดขึ้นที่ ท่อน้ำเลี้ยงเป็นหลัก เป็นผลจากการคายน้ำ ด้วยเหตุนี้ อาการขาดโบรอน จะส่งผลต่อเนื้อเยื่อพืชที่พัฒนาขึ้นใหม่ เช่น ใบอ่อน และโครงสร้างการสืบพันธุ์ 

ความสำคัญของ โบรอน ต่อ พืช
พืชที่ได้รับโบรอนเพียงพอ ด้านขวา และซ้าย ได้โบรอนไม่เพียงพอ

ภายใต้การขาด โบรอน อย่างรุนแรง พืชจะแคระแกรน การยืดตัวของรากพืชจะลดลง เกิดความล้มเหลวของดอกในการตั้งเมล็ด ไม่ออกผล การที่พืชได้รับ โบรอน ต่ำ จะส่งผลเสียต่อการผสมเกสร และการตั้งเมล็ด โดยไม่มีอาการขาดใบที่แสดงให้เห็นหรือสังเกตุได้

ปัจจัยของดิน ที่มีผลกต่อการขาดโบรอนของพืช

ดินทรายที่มีค่า pH เป็นกรด หรือค่า pH ต่ำกว่า 5.5 โดยประมาณ และมีปริมาณอินทรียวัตถุ (หรือค่า OM : Oranic Matter) ต่ำ ส่วนดินที่มีค่า pH สูงเกินไป เช่น pH สูงกว่า 7 และประกอบด้วย ธาตุเหล็ก และ อลูมิเนียมออกไซด์สูง ก็มักจะขาดธาตุโบรอน ได้เช่นกัน ตรวจดิน

ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการขาดโบรอน

สภาพแวดล้อมที่ส่งผลให้พืชลดการคายน้ำ เช่น ความชื้นในอากาศสูง, ความชื้นในดินต่ำ จะมีผลกระทบในทางลบต่อการลำเลียง โบรอน ผ่านท่อลำเลียง สภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งยาวนาน ก็เป็นอุปสรรคต่อการดูดซึม ธาตุโบรอน พืชที่ขาด ธาตุโบรอน จะอ่อนไหวต่อการเผชิญแสงแดดแรง อ่อนไหวต่อความเข้มแสงสูง ภายใต้การขาดธาตุโบรอน ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของพืช จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นำไปสู่ปริมาณพลังงานส่วนเกินที่มีศักยภาพในการทำลายใบพืช อุณหภูมิของดินที่ต่ำเกินไปสามารถลดการดูดซึมโบรอนของรากพืชได้

พืชที่ขาดโบรอน (B)
ภาพแสดงการเจริญเติบโตของต้นทานตะวันที่มีปริมาณโบรอนเพียงพอและไม่เพียงพอ ภายใต้สภาพแสงน้อยและสูง พืชที่มีปริมาณโบรอนต่ำ จะได้รับความเสียหายอย่างรวดเร็วเมื่อสัมผัสกับความเข้มแสงสูง 

โบรอนที่เพียงพอ ส่งผลให้พืชดูดซึม ฟอสฟอรัส และ โพแตสเซียมได้ดีขึ้น

จากการศึกษาพบว่า ปริมาณโบรอน (B) ที่เพียงพอ จะทำให้พืชดูดซึม ฟอสฟอรัส (P) และ โพแตสเซียม (K) ได้ดีขึ้น โดยการรักษาการทำงานที่เหมาะสม และรักษาโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์ราก โบรอน มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการขยายรากพืช ด้วยเชื้อราไมคอร์ไรซา (mycorrhizal fungi : เป็นเชื้อราชนิดดี) ซึ่งจะช่วยในการดูดซึมธาตุฟอสฟอรัส (P) 

ในการทดลองระยะสั้นกับข้าวโพด การดูดซึม ฟอสฟอรัส (P) และ โพแตสเซียม (K) ที่ลดลง เนื่องจากได้รับ ธาตุโบรอน (B) ต่ำ จะได้รับการฟื้นฟูภายใน 1 ชั่วโมง หลังจากได้รับ ธาตุโบรอน (B) เพิ่ม ลงในตัวกลางการเจริญเติบโต

หลักฐานการทดลองยังชี้ให้เห็นว่า จำเป็นต้องให้ โบรอน (B) อย่างเพียงพอ เพื่อลดความเป็นพิษของอลูมิเนียม ในพืชที่ปลูกบนดิน ที่มีค่า pH ต่ำ หรือดินที่เป็นกรด

การป้องกันการขาดโบรอน

ทดสอบ ตรวจวัดค่าดิน ตรวจดิน ในไร่ของคุณทุกๆ 2 ปี เพื่อทำความเข้าใจกับระดับสารอาหาร ธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในดิน 


สั่งซื้อสินค้าได้ที่ http://www.farmkaset.org/html5/customer_update_add_self.aspx

ดูโบรชัวร์ ข้อมูลรายะเอียดสินค้า คลิกที่นี่
หรือโทรสั่งซื้อได้ที่ 090-592-8614 
หรือไลน์ไอดี FarmKaset

เรียบเรียงโดย ธนบัตร บัวแก้ว : ในบางครั้ง บทความอาจมีข้อบกพร่อง จึงขออภัยไว้ ณ ที่นี้ ผู้อ่านสามารถศึกษาข้อมูลต้นฉบับได้ที่เว็บไซต์อ้างอิงด่านล่างนี้

อ้างอิง
cropnutrition.com/resource-library/importance-of-boron-in-plant-growth

Comments

Popular posts from this blog

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา