โรคราน้ำค้างในแตงกว่า และพืชตระกูลแตง ป้องกันและรักษาด้วย ไอเอส ยาป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
โรคราน้ำค้างแตงกวา และพืชตระกูลแตง (เชื้อรา Pseudoperonospora cubensis)
ชนิดพืชที่อาจเกิดผลกระทบ : พืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป ซูกินี ฟักทอง ฟักเขียว ฟักแม้ว มะระจีน และบวบ
ระยะการเจริญเติบโตของพืช : ทุกระยะการเจริญเติบโต
ปัญหาที่ควรระวัง : โรคราน้ำค้าง (เชื้อรา Pseudoperonospora cubensis)
ข้อสังเกตลักษณะ/อาการโรคราน้ำค้างที่อาจพบ
โรคราน้ำค้าง มักพบอาการของโรคบนใบทีอยู่บริเวณด้านล่างของต้นก่อน แล้วขยายลุกลามไปยังใบที่อยู่ด้านบน อาการเริ่มแรก บนใบปรากฏแผลฉ่ำน้ำ ต่อมาแผลจะขยายตามกรอบของเส้นใบย่อย ทำให้เห็นแผลเป็นรูปเหลี่ยมเล็กๆ ต่อมาแผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ในตอนเช้าที่สภาพอากาศมีความชื้นสูงจะพบเส้นใยของเชื้อรา ลักษณะเป็นขุยสีขาวถึงเทา ตรงแผลบริเวณด้านใต้ใบ แผลจะขยายติดต่อกัน เป็นแผลขนาดใหญ่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือเทาดำ หากอาการรุนแรงจะทำให้ใบเหลืองและแห้งตายทั้งต้น พืชที่เป็นโรคจะติดผลน้อย ผลมีขนาดเล็ก คุณภาพของผลจะลดลง หากเป็นโรคในระยะมีผลอ่อน จะทำให้ผลลีบเล็ก และบิดเบี้ยว
แนวทางป้องกันโรคราน้ำค้าง / การแก้ไขโรคราน้ำค้าง
1. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดีและปราศจากโรค
2. ก่อนปลูกควรแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียส นาน 20 - 30 นาที หรือคลุกเมล็ดด้วยสารเมทาแลกซิล 35 % ดีเอส อัตรา 7 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม
3. ไม่ปลูกพืชแน่นเกินไป เพราะจะทำให้มีความชื้นสูง
4. หมั่นกำจัดวัชพืช เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศในแปลงได้ดี และทำลายแหล่งอาศัยของด้วงเต่าแตง
5. กำจัดด้วงเต่าแตง ซึ่งอาจเป็นตัวแพร่เชื้อราสาเหตุโรค โดยการจับทำลาย
6. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบโรคเริ่มระบาดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งเชื้อรา
7. แปลงที่เป็นโรค ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำในตอนเย็น
8. แปลงที่เป็นโรค หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เก็บซากพืชไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก และไม่ปลูกพืชกระกูลแตงซ้ำ ควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน
9. ฉีดพ่น FK-1 เพื่อให้ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ส่งเสริมให้พืชฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรคพืช ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และมีความสมบูรณ์แข็งปรง ให้ผลผลิตที่ดี
สั่งซื้อสินค้าได้ที่ http://www.farmkaset.org/html5/customer_update_add_self.aspx
โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี FarmKaset
อ้างอิงบางส่วนจาก opsmoac.go.th/nongbualamphu-warning-preview-411991791956
Comments
Post a Comment