โรคอินทผลัมใบไหม้ อินทผลัมยอดเน่า และโรค ใบจุดอินทผลัม ฉีดพ่น ไอเอส เพื่อป้องกันกำจัดโรคต่างๆเหล่านี้

โรคและแมลงศัตรูอินทผาลัม มีอยู่ไม่มากนัก และมีวิธีป้องกันกำจัดที่ไม่ยุ่งยาก หากเกษตรกรหรือผู้ปลูกอินทผาลัมละเลย ไม่ใส่ใจดูแล ก็จะทำให้เรื่องง่ายกลายเป็นยาก และเกิดความเสียหายอย่างแน่นอน…กันไว้ดีกว่าแก้ดีกว่านะคะ

โรคอินทผาลัม

โรคใบไหม้ โรคอินทผลัมใบไหม้

อินทผลัมใบไหม้ อินทผาลัมใบไหม้

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Curvularia eragrostidis

อาการของโรคใบไหม้อินทผลัม

เกิดแผลรูปร่างกลมรีที่มีรอยบุ๋มตรงกลางเนื้อแผลสีน้ำตาล ขอบแผลนูน มีลักษณะฉ่ำน้ำ มีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล ความยาวของแผลประมาณ 7 ถึง 8 มิลลิเมตร ในขั้นรุนแรง แผลขยายตัวรวมกันทำให้ใบแห้งม้วนงอ เปราะ และฉีกขาดง่าย ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต และตายได้

การป้องกันและกำจัด โรคอินทผลัมใบไหม้

เผาทำลายใบและต้นที่เป็นโรค

ฉีดพ่นด้วยสารอินทรีย์ป้องกัน และยับยั้งโรคพืช ทีมีสาเหตุจากเชื้อรา ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน ในช่วงที่มีการระบาด

โรคยอดเน่า โรคอินทผลัมยอดเน่า

อินทผลัมยอดเน่า โรคยอดเน่าอินทผาลัม

พบระบาดมากในฤดูฝน โรคนี้สามารถเข้าทำลายต้นอินทผาลัมตั้งแต่ในระยะต้นกล้า และพบมากกับต้นอินทผาลัมที่มีอายุ 1 ถึง 3 ปี

สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากเชื้อโรคใด แต่จากการแยกเชื้อพบเชื้อโรคพืชหลายชนิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกเชื้อราฟิวซาเรียม (Fusarium spp.) และเชื้อแบคทีเรียพวกเออร์วิเนีย (Erwinia sp.)

อาการของ โรคยอดเน่าอินทผลัม

เกิดแผลเน่าสีน้ำตาลดำ ขอบแผลฉ่ำน้ำที่บริเวณใกล้ๆ โคนใบยอดที่ยังไม่คลี่ บางครั้งอาการเน่าดำจะเริ่มจากปลายใบย่อยที่ยังไม่คลี่ จากนั้นแผลเน่าดำจะขยายทำให้ใบยอดทั้งใบเน่าแห้งเป็นสีน้ำตาลแดง สามารถดึงหลุดออกมาได้ง่าย

การป้องกันและกำจัด โรคอินทผลัมยอดเน่า

หมั่นกำจัดวัชพืช อย่าให้ปกคลุมบริเวณโคนต้นอินทผาลัม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค และเป็นที่อยู่อาศัยของแมลงที่จะไปกัดบริเวณส่วนยอด ทำให้เกิดแผลซึ่งเป็นช่องทางให้เชื้อจุลินทรีย์เข้าทำลายยอดได้ง่ายขึ้น

หากพบการระบาดของโรคนี้ ควรตัดส่วนที่เป็นโรคออกให้หมด แล้วใช้ ฉีดพ่นด้วย ไอเอส 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร  ราดบริเวณกรวยยอดของต้นที่เป็นโรค ทุก 5-7 วัน 

โรคใบจุด โรคอินทผลัมใบจุด

สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อรา Graphiola phoenicis แหล่งระบาดเชื้อราของโรคนี้สามารถเกิดได้ทุกภูมิภาคที่มีการปลูกพืชปาล์มตระกูล จากการศึกษาโรคชนิดนี้ในรัฐฟลอริด้า พืชตระกูลปาล์มทุกชนิดมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเชื้อราชนิดนี้ แต่จะเกิดมากที่สุดกับปาล์ม 2 ตระกูล คือ ตระกูล Phoenix canariensis (ปาล์มประดับ Canary lsland) และตระกูล Phoenix dactylifera (อินทผาลัมพันธุ์รับประทานผล)

อาการของ โรคใบจุดอินทผลัม

สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย คือ จุดสีเหลือง หรือสีน้ำตาล หรือสีดำ ทั้งสองข้างของใบ อาการเริ่มแรกนี้ หากไม่สังเกตอย่างละเอียดแทบมองไม่เห็นเลย เชื้อราจะเริ่มโผล่มาจากเส้นใยของผิวใบ เมื่อเชื้อราชนิดนี้เจริญเติบโตมากขึ้น จะเริ่มปรากฏให้เห็นบริเวณผิวใบที่ได้รับผลกระทบซึ่งมีขนาดเล็กมาก จะเป็นจุดสีดำบนผิวใบ ลักษณะคล้ายอาการของการขาดธาตุโพแทสเซียม เชื้อราจะทะลุใบขึ้นมามีลักษณะเหมือนรูปถ้วย มีเส้นใยเล็กๆ สีเหลือง คล้ายเส้นด้ายโผล่ขึ้นมา เพื่อช่วยกระจายสปอร์ออกไป เมื่อกระจายสปอร์ออกไปแล้วเส้นใยเล็กๆ จะยุบลงเป็นสีดำ และเมื่อโรคได้ระบาดเต็มที่แล้ว ผงจุดที่โผล่ขึ้นมาจะมองเห็นชัดเจน รวมทั้งสามารถสัมผัสได้ด้วยมือ อาการของโรคชนิดนี้เมื่อเกิดแล้วเป็นเพียงแค่บนจุดบนผิวใบเท่านั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้น

การป้องกันและกำจัด โรคอินทผลัมใบจุด

เนื่องจากเป็นโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อรา สามารถฉีดพ่นด้วย ไอเอส ทุก 5-7 วัน เช่นกัน

ยาแก้โรคอินทผลัมใบไหม้ แก้โรคอินทผลัมใบจุด

ไอเอส เป็นสารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา สามารถใช้ ป้องกัน กำจัด โรคอินทผลัมใบไหม้ โรคใบจุดอินทผลัม และโรคอินทผลัมยอดเน่าได้ ให้ทำความเข้าใจว่า การหายจากโรคจากเชื้อรานั้น คือโรคโดนยับยั้ง ทำให้เชื้อราฝ่อตาย ส่วนการฟื้นฟูส่วนที่เสียหาย ต้องใช้เวลาและใช้ปุ๋ยบำรุงเพื่อเสริมสร้างเนื้อเยื่อ และการแตกยอด แตกใบใหม่

ปุ๋ยเร่งโต อินทผลัม

FK-1 เป็นปุ๋ยทางใบ ที่จะช่วยให้ อินทผลัมฟื้นตัว จากการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้เร็วขึ้น เสริมสร้างการเจริญเติบโต เร่งการแตกยอดออกใบใหม่ เสริมสร้างผลผลิตให้ดีขึ้น ใน FK-1 ประกอบด้วย ธาตุหลัก N-P-K ธาตุรอง และธาตุเสริม ที่จะส่งเสริมการเจริญเติบโต เสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรงให้กับพืช

สั่งซื้อสินค้าได้ที่ http://www.farmkaset.org/html5/customer_update_add_self.aspx

ไลน์ไอดี FarmKaset

โทร 090-592-8614

อ้างอิง

m-group.in.th/article/บทความ/โรคและแมลงศัตรูอินทผาลัม.html

Comments

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา