ธาตุอาหารพืช โบรอน ซิลิคอน แคลเซียม ไนโตรเจน แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส คาร์บอน โพแทสเซียม สำคัญกับพืชอย่างไร - FK iLab ตรวจวิเคราะห์ดิน ตรวจวิเคราะห์ปุ๋ย รายงานผลออนไลน์

ลำดับการทำงานของธาตุอาหารพืช (BIOCHEMICAL SEQUENCE)

ในระบบเกษตรกรรม การให้ปุ๋ยเป็นการเพิ่มปริมาณ ธาตุอาหารให้แก่พืช ในเกษตรแผนใหม่จะให้ปุ๋ยเคมีตามธาตุอาหารหลัก ได้แก่  NPK หรือ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) เพื่อให้พืชนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้โดยตรง ซึ่งเป็นแนวคิด ที่ต่างจากเกษตรธรรมชาติ หรือเกษตรเชิงนิเวศซึ่งเน้นที่ปฏิสัมพันธ์ในระบบนิเวศ ซึ่งธาตุต่างๆ ก็มีทำงานกันเป็นลำดับขั้น โดยเริ่มจาก

โบรอน > ซิลิคอน > แคลเซียม > ไนโตรเจน > แมกนีเซียม > ฟอสฟอรัส > คาร์บอน > โพแทสเซียม 

ในระบบนิเวศเกษตร ปฏิสัมพันธ์ระหว่างธาตุจะเริ่มที่โบรอน ซึ่งธาตุโบรอน (Boron) จะกระตุ้นการทำงานของ ธาตุซิลิคอน (Silicon) ซึ่งเป็นธาตุที่สำคัญต่อการจับตัวกับสารอาหารอื่นๆ และจับกับ ธาตุแคลเซียม (Calcium) ซึ่งต่อมาจะจับกับ ธาตุไนโจรเจน (Nitrogen) โดยไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบหลักของ กรดอะมิโน รหัสทางพันธุกรรม และมีส่วนสำคัญต่อการแบ่งตัวของเซลล์ กรดอะมิโน เป็นองค์ประกอบหลักของโปรตีน และสารตั้งตนในการสร้าง คลอโรฟิลล์ ซึ่งพืชใช้ใน การสังเคราะห์แสง การสร้างคลอโรฟิลล์เองก็ต้องใช้ ธาตุแมกนีเซียม (Magnesium) ในการรับพลังงานของแสงและสะสมพลังงานจากแสงในอาหาร  ไนโตรเจน ที่อยู่ใน กรดอะมิโน จึงเป็นธาตุที่จับกับ แมกนีเซียม ในการสร้าง คลอโรฟิลล์ ในพืช พลังงานที่ได้จากการสังเคราะห์แสงจะถูกนำไปใช้ในการสร้างแป้งและอาหารในพืช ซึ่งพลังงานจะอาศัยธาตุ ฟอสฟอรัส (Phosphorus) ในการถ่ายทอดพลังงานไปยังส่วนต่างๆ ของเนื้อเยื้อพืชและ ปฏิกิริยาเคมี ที่ข้องเกี่ยวกับการสร้างอาหารและ สารชีวเคมี ในเซลล์ อาหารและ สารชีวเคมี เหล่านี้ต้องอาศัย ธาตุคาร์บอน (Carbon) เป็นองค์ประกอบหลัก หลังจากอาหารและ สารชีวเคมี ถูกสร้างขึ้นแล้ว ก็จะอาศัยธาตุ โพแทสเซียม (Potassium) ที่มีอยู่มากในน้ำยางหรือท่อลำเลียงอาหารในเนื้อเยื้อพืชช่วยในการขนส่งอาหารและสารชีวเคมีไปตามอวัยวะต่างๆ ในลำต้นพืช

ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ตรวจวิเคราะห์ปุ๋ย

ธาตุโบรอน (Boron – B) 

มีอยู่มากในมูลสัตว์ มีบทบาทเกี่ยวที่ช่วยให้รากพืชดูดเอา ธาตุแคลเซียม และ ไนโตรเจน ไปใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนอกจากนี้ยังช่วยให้พืชใช้ธาตุโพแทสเซียมได้มากขึ้น มีบทบาทในการสังเคราะห์แสง การย่อย โปรตีน และ คาร์โบไฮเดรต และเพิ่มคุณภาพทั้งรสชาติ ขนาด และน้ำหนักของผลเพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโตเพราะโบรอนจะควบคุมการดูดและคายน้ำของพืชในขบวนการปรุงอาหารอีกทางหนึ่ง

ธาตุซิลิคอน (Silicon – Si) 

พบได้ทั่วไปในทราย หรือ ดินปนทราย ซิลิคอน ทำหน้าที่ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดีขึ้น โดยทำให้ลำต้นแข็งแรงและอ้วนขึ้น ช่วยให้ใบพืชหันเข้าหาแสงมากขึ้น และทำให้พืชทนทางต่อโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและรา เช่น โรคราแป้ง  รวมถึงสร้างความทนทานต่อความร้อน หรือความเค็มจัดไปจนถึงความเป็นพิษของโลหะหนักและอลูมิเนียม

ธาตุแคลเซียม (Calcium – Ca) 

พบมากในกระดูก เปลือกไข่ ปูนขาว หรือ ยิปซัม แคลเซียมมีส่วนช่วยให้เนื้อเยื้อพืชแข็งแรงขึ้นได้เช่นเดียวกับการสร้างความแข็งแรงของกระดูก และเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ที่ช่วยในการทำงานเนื้อเยื้อพืช แม้ว่าพืชจะใช้แคลเซียมในปริมาณที่น้อยเมื่อเทียบกับธาตุอื่นๆ แต่หากพืชได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอจะส่งผลให้พืชเจริญเติบโตผิดปกติ เช่น ผิวของมะเขือเทศเกิดอาการแห้งกรอบ ยอดใบอ่อนไหม้ หรือเกิดจุดด่างในใบผัก เป็นต้น

ธาตุไนโตรเจน (Nitrogen – N) 

จะสะสมอยู่มากในพืชตระกูลถั่ว ซึ่งปมราก พืชตระกูลถั่ว จะมีแบคทีเรียที่ช่วยดึง ไนโตรเจน ที่สะสมในดินมาใช้ในการเจริญเติบโต ดังนั้น เราจึงนิยมปลูกปอเทืองเพื่อช่วยปรับปรุงดินและช่วยไ นโตรเจน สะสมในดินมากขึ้น ไนโตรเจน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ โปรตีน และสารพันธุกรรมทั้งในพืชและสัตว์ และเป็นองค์ประกอบของ คลอโรฟิลล์ ซึ่งทำหน้าที่ในการสังเคราะห์แสงในพืช ดังนั้น ดินจึงเป็นหัวใจสำคัญต่อการปลูกพืช โดยแบคทีเรียในปมรากถั่วหรือในดินจะช่วยตรึงก๊าซ ไนโตรเจน ในอากาศและเปลี่ยนรูป ไนโตรเจน ให้อยู่ในรูปของ ไนเตรท ซึ่งพืชสามารถดูดมาใช้ได้ดังภาพด้านล่าง ดินที่มีปริมาณ อินทรีย์วัตถุมากจึงถือเป็นดินที่มีชีวิต

ตรวจปุ๋ย ตรวจวิเคราะห์ดิน ตรวจดิน

ธาตุแมกนีเซียม (Magnesium – Mg) 

เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ คลอโรฟิลล์ เพราะ แมกนีเซียม จะรับพลังงานแสงและช่วยเปลี่ยนรูปให้เป็นพลังงานให้รูปของอาหารจากกระบวนการ สังเคราะห์แสง และช่วยให้ใบพืชมีสีเขียว พืชที่ขาด แมกนีเซียม จึงเกิดอาการใบสีซีด ดินที่ขาดธาตุ แมกนีเซียม มักเป็นดินที่มี อินทรีย์วัตถุ น้อย ดินที่มีทรายมากหรือเป็นกรด ในกรณีที่ใส่ปุ๋ยที่มี โพแทสเซียม มากเกินไปก็ทำเกิดอาการขาด แมกนีเซียม ในพืชเช่นกัน เนื่องจากพืชจะดูดซับ โพแทสเซียม แทนการดูดซับ แมกนีเซียม

ธาตุฟอสฟอรัส (Phosphorus – P) 

เป็นธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักของ สารพันธุกรรม และ สารชีวเคมี ที่ช่วยเก็บพลังงานในสิ่งมีชีวิตซึ่งถูกสร้างจากกระบวนการ สังเคราะห์แสง มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการของราก และช่วยรากพืชดูดซับสารอาหารในดินได้หลายชนิด การขาด ฟอสฟอรัส จะทำให้พืชหยุดชะงักการเติบโตได้ เนื่องจาก ฟอสฟอรัส เป็นธาตุที่จับเม็ดดินได้แข็งแรง จึงแนะนำให้ขุดหน้าดินขึ้นมาเพราะจะทำให้ดินถูกน้ำกัดเซาะได้ง่าย จึงแนะนำให้ปลูกหญ้าหรือพืชคลุมดินเพื่อรักษาหน้าดินและ ฟอสฟอรัส ให้สะสมอยู่ในดินมากขึ้น

ธาตุคาร์บอน (Carbon – C) 

สารอินทรีย์ทุกชนิดล้วนมี ธาตุคาร์บอน ในปริมาณที่สูง รวมถึงดิน ซากพืชซากสัตว์ หรือปุ๋ยหมักต่างๆ ล้วนมีคาร์บอนในปริมาณสูง อีกทั้งในบรรยากาศเองก็มี คาร์บอน ในรูป ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในปริมาณที่มากอยู่แล้ว จึงมักไม่มีปัญหา ธาตุคาร์บอน ขาดแคลนในการเพาะปลูก

ธาตุโพแทสเซียม ( Potassium – K) 

เป็นธาตุที่สะสมอยู่ทั่วไปในดินและมักละลายในน้ำหรือของเหลว ในเนื้อเยื้อได้ดี หน้าที่ของ โพแทสเซียม จะต่างจาก ไนโตรเจน และ ฟอสฟอรัส ตรงที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตโดยตรง แต่ทำหน้าที่ในการรักษาสมดุลน้ำในเนื้อเยื้อพืช ซึ่งป้องกันไม่ให้เกิด ใบเหี่ยว และช่วยให้การคายน้ำของใบพืชเป็นไปอย่างปกติ

จากหลักการของเกษตรธรรมชาติ ธาตุที่อยู่ในธรรมชาติก็มีการทำงานเป็นลำดับขั้นร่วมกับสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นพืช แบคทีเรียหรือเชื้อรา จนเกิดการหมุนเวียนสารอาหารภายในระบบนิเวศ การใส่ปุ๋ย NPK เพียงอย่างเดียวเพื่อเร่งให้พืชเจริญเติบโตนั้นเป็นการตัดวงจรการไหลเวียนสารอาหารในธรรมชาติและทำลายความหลากหลายทางชีวภาพในดิน  ดังนั้น การทำให้ดินมีชีวิตจึงเป็นหัวใจหลักของการทำเกษตรเชิงนิเวศ

FK iLab ตรวจวิเคราะห์ค่าดิน และปุ๋ย

FK iLab เป็นเว็บไซต์ให้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารในดิน และค่าธาตุอาหารในปุ๋ย ด้วย LAB มาตรฐาน ตรวจวิเคราะห์โดยนักวิชาการเฉพาะด้าน ที่มีความชำนาญ โดยผู้ใช้บริการสามารถ เลือกค่า ธาตุอาหารต่างๆที่ต้องการตรวจได้ บนเว็บไซต์ และส่งตัวอย่างดิน หรือปุ๋ยที่ต้องการตรวจไปยัง ห้องปฏิบัติการ ผ่านทางไปรษณีย์ และรออ่านผลตรวจได้ทางหน้าเว็บไซต์ 

สามารถใช้บริการได้ที่ http://www.farmkaset.org/ilab/iLab.html

หรือเข้าเว็บไซต์ FarmKaset.ORG และคลิกที่เมนู iLab


References

www.thaicityfarm.com/2018/09/19/ลำดับการทำงานของธาตุอา/

blog.agrivi.com/post/benefits-of-silicon-on-plant-growth

www.greenwaybiotech.com/blogs/news/whats-the-function-of-calcium-ca-in-plants

www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4243668/

www.greenwaybiotech.com/blogs/news/whats-the-function-of-nitrogen-n-in-plants

www.els.net/WileyCDA/ElsArticle/refId-ahtml

il.mahidol.ac.th/e-media/ecology/chapter1/chapter1_nitrogenhtm

www.gardeningknowhow.com/garden-how-to/soil-fertilizers/fixing-magnesium-deficiency.htm

journals.plos.org/plosone/article?id=1371/journal.pone.0171321

horttech.ashspublications.org/content/17/4/442.full

www.researchgate.net/publication/304246278_THE_IMPORTANCE_OF_POTASSIUM_IN_PLANT_GROWTH_-_A_REVIEW

5k.web.tr/basinda/June09_Lovel.pdf

bioferti.com/microbe-granular-formula

Comments

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา