เพลี้ยไฟมะม่วง (เพลี้ยไฟพริก ที่เข้าทำลายมะม่วง) และวิธีป้องกันกำจัด เพลี้ยไฟ ในมะม่วง
เพลี้ยไฟพริก เข้าทำลายมะม่วง
ในช่วงที่มะม่วงสู่ช่วงพัฒนาดอกให้กลายเป็นผล กรมวิชาการเกษตรเตือนชาวสวนมะม่วงให้เฝ้าการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟพริก ที่จะมาดูดกินน้ำเลี้ยงใบอ่อน ยอดอ่อน ตุ่มตาใบ ตุ่มตาดอก ช่อดอกมะม่วง โดยเฉพาะฐานรองดอกและขั้วผลอ่อน
อาการ มะม่วงปลายใบไหม้ มะม่วงยอดแห้ง
เมื่อเพลี้ยไฟมะม่วง (เพลี้ยไฟพริก) เข้าทำลายบนยอดอ่อนมะม่วง จะทำให้ใบที่แตกใหม่แคระแกร็น ขอบใบและปลายใบไหม้ ใบอาจร่วงตั้งแต่ยังเล็ก ส่วนใบที่โตแล้วจะเข้าทำลายตามขอบใบ ทำให้ใบม้วนงอและปลายใบไหม้ เข้าทำลายที่ยอด จะมีความรุนแรงจนทำให้ยอดแห้ง ไม่แทงช่อใบหรือช่อดอก
ช่อดอกมะม่วงหงิกงอ ช่อดอกมะม่วงบิดเบี้ยว
เข้าทำลายที่ตาดอก ช่อดอกจะบิดเบี้ยว หงิกงอ หรือติดผลน้อย ผลเล็กๆที่ถูกเพลี้ยไฟพริกทำลาย อาจร่วงหล่นได้...เข้าทำลายในระยะติดดอก จะทำให้ช่อดอกหงิกงอ ดอกร่วงไม่ติดผล หรือติดผลน้อย
มะม่วงผลดำ
เข้าทำลายในระยะติดผลอ่อน จะพบแผลเป็นวงสีเทาเงินเกือบดำชัดเจนใกล้ขั้วผล หรือผลบิดเบี้ยว หากระบาดรุนแรง ผิวของผลมะม่วงจะเป็นสีดำเกือบทั้งหมด
หากพบการระบาดไม่มาก ให้เกษตรกรตัดส่วนที่เพลี้ยระบาดไปเผาทำลายทิ้งนอกแปลงปลูก เพราะเพลี้ยไฟพริกจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มบริเวณส่วนยอดอ่อนของพืช
ฉีดพ่นด้วย มาคา สารอินทรีย์ป้องกันกำจัด เพลี้ย และกำจัดแมลงศัตรูพืชจำพวกปากดูดต่างๆ ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุกๆ 5-7 วัน ในช่วงที่มีการระบาด
เพื่อช่วยให้การพ่นสารมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ควรฉีดพ่นในระยะมะม่วงติดดอกอย่างน้อย 2 ครั้ง คือ ระยะเริ่มแทงช่อดอก และระยะเริ่มติดผลขนาดมะเขือพวง
หากปีใดระบาดรุนแรงให้พ่นซ้ำก่อนระยะดอกบาน... แต่ให้หลีกเลี่ยงการพ่นสารฆ่าแมลงในระยะดอกบาน เพราะอาจเป็นอันตรายต่อแมลงผสมเกสรได้
สั่งซื้อสินค้าได้ที่ http://www.farmkaset.org/html5/customer_update_add_self.aspx
ดูโบรชัวร์ ข้อมูลรายะเอียดสินค้า คลิกที่นี่
หรือโทรสั่งซื้อได้ที่ 090-592-8614
หรือไลน์ไอดี FarmKaset
อ้างอิง thairath.co.th/news/local/1215967
Comments
Post a Comment