ป้องกัน กำจัด โรคเชื้อราอินทผลัม โรคเชื้อราเขม่าผง ที่เกิดกับอินทผลัม ด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา
โรคเชื้อราอินทผลัม เชื้อราเขม่าผง (Graphiola)
Graphiola Leaf Spot (False Smut) of Palm
โรคเชื้อราเขม่าผง โรคราอินทผลัม
เนื่องจากธรรมชาติของอินทผลัมเป็นพืชที่อยู่ในพื้นที่แห้งแล้งแบบทะเลทราย การนำมาทดลองปลูกในประเทศไทยของเรา มีปัญหาของโรคต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับความชื้นปรากฏให้เห็นอยู่บ้าง โดยเฉพาะโรคเชื้อรา "โรคเขม่าผง Graphiola Leaf Spot (False Smut) of Palm" ซึ่งมีลักษณะเป็นผงสีขาวๆ เกิดขึ้นตามใบ ส่วนมากจะเกิดช่วงปลายฝนต้นหนาว แต่บางครั้งก็เกิดในฤดูอื่นๆ เมื่อมีความชื้นในอากาศ แต่อย่างไรก็ตาม โรคชนิดนี้ เคยไปแปลเอกสารเอกสารของต่างประเทศมาแล้ว เป็นโรคที่ไม่ได้มีผลกระทบอะไรต่อต้น เป็นเหมือนเครื่องประดับใบเท่านั้น การที่ต้นจะตายไม่ใช่ตายเพราะโรคนี้ ตายเพราะโรคชนิดอื่นที่เข้ามาแทรกในตอนนั้น
โรคชนิดนี้ เป็นโรคที่เจอกันมากที่สุดตอนนี้ จึงขอนำข้อมูลของ "โรคเขม่าผงในอินทผาลัม Graphiola Leaf Spot (False Smut) of Palm" ที่คุณอั๋น แห่ง Countryhoem Banchaiyaphum ได้สรุปไว้ มาเล่าให้ฟัง ดังนี้
- โรคเชื้อราอินทผลัม เกิดในพื้นที่ปลูกในภูมิภาคที่มีความชื้นสูง มีฝนมาก แต่ในภูมิภาคที่มีความร้อนและแห้ง จะปรากฏโรคชนิดนี้น้อย
- อินทผลัม พันธุ์แทบทุกสายพันธุ์สามารถเกิด โรคจากเชื้อรา นี้ได้ในสภาพชื้น
- โรคเชื้อราอินทผลัม ชนิดนี้ จะปรากฎเป็นผงจุดสีขาวๆ เกิดตามผิวใบ หากไม่มีโรคชนิดอื่นเกิดขึ้นพร้อมกัน จะปรากฏให้เห็นเป็นผงสีขาวๆ เกิดตามใบเท่านั้น มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระดังความชื้นที่สะสมมา หากเป็นเฉพาะโรคนี้โรคเดียว ไม่ปรากฏมีโรคอื่น หรือ การขาดสารอาหาร หรือ ขาดน้ำ มาพร้อมกัน โรคชนิดนี้ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้น เอกสารต่างประเทศกล่าวว่า การเกิดโรคชนิดนี้อย่างเดียว เป็นเหมือนเครื่องสำอางค์ของใบเท่านั้น การขาดธาตุอาหารมีผลกระทบกับต้นอินทผลัมมากกว่าโรคนี้
- หากตรวจพบว่าเป็นโรคชนิดนี้แล้ว ไม่แนะนำให้มีการตัดแต่งออกไป ยกเว้นแต่จะเป็นโรคอื่นๆ ด้วย หากจะมีการตัดใบ ต้องมั่นใจว่า ธาตุโพแตสเซียมในดินเพียงพอที่จะทำให้ต้นฟื้นขึ้นมาได้จากการตัดแต่งใบออกไป หากดูแล้วไม่ค่อยจะชอบมันเกิดตามใบ ต้องการจะตัดออก ให้รดปุ๋ยที่มีธาตุโพแตสเซียมลงไปด้วยทุกครั้ง
- แนะนำให้ใช้ ไอเอส. สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ฉีดพ่นในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ให้ทั่วทั้งบริเวณที่มีการระบาด
- ให้เข้าใจว่า ยาป้องกันและกำจัดเชื้อรา ไม่ได้ทำให้ใบที่เป็นอยู่แล้วหายไป แต่จะทำให้โรคไม่ลามต่อไปยังใบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมา หรือ ลามเพิ่มเติมออกไป เท่านั้น
กรณีที่เป็นพื้นที่แห้งอยู่แล้ว แต่เนื่องจากการสะสมของโรคในช่วงฝนที่ตกบ่อยมากจึงทำให้เกิดโรคนี้ให้เห็นบ้าง ไม่เป็นมาก หากจะทดลองสารชีวภาพที่มีฤทธิ์ใกล้เคียงกับสารข้างต้นก็ให้ทดลองดูได้ ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงประโยชน์ในการใช้เป็นสำคัญ หากใช้แล้วโรคนี้ไม่เกิด หรือ ไม่ลุกลามต่อไป จะเป็นเคมีหรือชีวภาพก็ให้ปรับใช้ตามความเหมาะสม ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่ไม่ชอบยาเคมีพวกนี้เลย แต่เมื่อคุมมันไม่อยู่ ก็ต้องจำเป็นต้องใช้บ้าง (ถ้าอยากจะปลูกมันต่อ) โรคแบบนี้ ไม่เป็นเฉพาะอินทผลัม พืชทางเศรษฐกิจที่เขาปลูกกันจำนวนมากก็เป็น วิธีการจัดการที่ทำกันแบบชาวบ้านของกลุ่มเราเมื่อพบโรคนี้ คือ
- ในช่วงของการเพาะต้นกล้า หากจะทำเรือนเพาะชำแบบมีแสงส่องถึงได้เต็มที่ก็ควรจะทำ เพื่อป้องกันน้ำฝนกที่อาจจะมากเกินไป หรือ ป้องกันน้ำค้างในช่วงฤดูหนาว
- จุดที่วางถุง ควรเป็นพื้นที่แห้ง ไม่ชุ่มน้ำ ไม่ควรวางถุงให้ชิดกัน ควรวางให้ห่างกันเล็กน้อย หากมีพื้นที่จำกัดลองวางให้ห่างกันสัก ๑ นิ้ว หากมีพื้นที่มาก ให้วางห่างกันประมาณสัก ๕ นิ้ว เพื่อให้อากาศรอบถุงหมุนเวียนได้ ไม่สะสมโรคชนิดนี้ รวมทั้งโรคอื่นๆ ที่เกิดขึ้นได้กับต้นอินทผลัม
ในส่วนของต้นที่ปลูกกันอยู่ตอนนี้ที่เป็นอยู่นี้ จุดไหนที่มีความชื้นสูงจะเป็นมากหน่อย และที่แน่ๆ จะเป็นดินเพาะแบบไหน ใส่วัสดุเพาะที่จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคแบบไหนก็ตาม ก็มีโอกาสเป็นเท่ากันหมด หากจุดวางถุงมีความชื้นสูง ทั้งความชื้นใต้ถุง ใต้ดิน และร่มเงามากไป ได้ประยุกต์เพื่อแก้ไข ดังนี้
- รดน้ำให้น้อยลง เพื่อลดความชื้น ไม่ควรรดน้ำอินทผลัมในช่่วงเย็น แต่ควรจะรดน้ำในช่วงเช้า ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความชื้นสะสมในเวลากลางคืนที่อากาศเย็นนั่นเอง
- ใช้ปูนขาวผสมน้ำรดลงไปบ้าง เพื่อช่วยเรื่องการกำจัดเชื้อโรคบางชนิดในดิน
- บริเวณไหนมีร่มเงาหรือความชื้นมากไป ย้ายถุงเพาะออกไปวางในจุดที่แห้ง มีแสงแดดเต็มที่
- ต้นไหนไม่เป็นเฉพาะโรคเชื้อราใบจุดผงสีขาวแบบนี้ มีโรคอื่นๆ ประกอบด้วย ก็ตัดแต่งกิ่งออกไปบ้าง แล้วรดยากำจัดเชื้อรา และ ปุ๋ยสูตร ลงไปช่วยให้ต้นได้ฟื้นเร็วขึ้น
- ต้นไหนเป็นเฉพาะโรคเชื้อราใบจุดสีขาวแบบนี้ ไม่มีโรคอื่นๆ ที่อาจจะเกิดพร้อมกันด้วย ก็ไม่ตัดแต่งกิ่งออก ใช้วิธีฉีดน้ำยากำจัดเชื้อราดังกล่าวข้างต้นลงไปแทน พร้อมกันนี้ ก็ไม่ลืมที่จะใช้ปุ๋ยช่วยการเร่งต้นลงไปด้วยเสมอ
- ชุดใหม่ที่จะเพาะขึ้น ไม่ลืมที่จะหาปูนขาวมาผสมลงในดินไปด้วยทุกครั้ง เพราะดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นดินเพาะแบบไหน ชนิดใด หากมีความชื้นทั้งใต้จุดวาง ใต้ถุงเพาะ และมีร่มเงามากไป มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้แทบทั้งสิ้น
- ชุดใหม่ที่จะเพาะขึ้น จะปรับใหม่ ไม่ให้น้ำขังอยู่ได้ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น การวางถุงจะวางให้ห่างกันประมาณ ๑ นิ้ว เพื่อให้อากาศหมุนเวียนได้โดยรอบถุง อย่างน้อยก็จะช่วยทำให้โรคเหล่านี้เกิดน้อยที่สุดในอนาคต
นี้เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างของโรคอินทผลัมที่จะต้องเจอแน่นอน นอกจากนั้น ยังมีโรคอื่นๆ และเรื่องของศัตรูพืชที่จะเข้าทำลายอีกหลายอย่าง คงจะค่อยๆ ทะยอยนำข้อมูลเหล่านี้มาลงตามลำดับ
ดังนั้น ท่านที่เป็นอยู่แล้ว อย่าได้ตกใจ ลองๆ หาวิธีแก้ไขดูไปเรื่อยๆ สารเคมีกำจัดโรคพืชอาจจำเป็นต้องใช้บ้าง ควรเริ่มต้นป้องกันตั้งแต่เริ่มวางถุงไว้เป็นดีที่สุด
ที่แน่ๆ จะปลูกแบบไหนก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นต้นพันธุ์ "แบบแยกเหง้า แบบเพาะเนื้อเยี่อ และแบบเพาะจากเมล็ด" อย่ามองข้ามเรื่องโรคต่างๆ ของอินทผลัมเด็ดขาด เพราะนี้คือตัวแปรสำคัญที่เราต้องเจอกันแน่ๆ ช่วยกันหาข้อมูลเหล่านี้แบบวิชาการกันมากๆ จะได้เป็นข้อมูลในการดูแลรักษาในอนาคตต่อไป
ดังนั้น ท่านที่เห็นโรคนี้ ไม่ต้องตกใจ เป็นอาการปกติของมัน จะเกิดในช่วงปลายฝนต้นหนาวนี้เป็นสำคัญ บำรุงปุ๋ย บำรุงต้นต่อไป เมื่ออากาศแห้งๆ เดี๋ยวจะหายไปเอง
ส่วนอาการใบเหลือง ใบเป็นจุด เป็นโรคเชื้อราที่ไม่เกี่ยวกับโรคนี้นะคะ ให้ใช้ยากำจัดเชื้อราทั่วไปมารักษา อาการจะค่อยๆ หายไป
อีกอย่าง เคยไปแปลเอกสารของต่างประเทศแห่งหนึ่ง เขากล่าวเตือนไว้โดยสรุปว่า บางครั้ง อย่าไปคิดแต่ว่าต้นของเราเป็นโรค แต่บางครั้งอาจจะเกิดจากการขาดปุ๋ยชนิดใดชนิดหนึ่งก็ได้ ประเด็นนี้ ก็ลองสังเกตดู
ไอเอส ใช้ ป้องกัน และยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคอินทผลัม ที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ FK-1 ประกอบด้วย ธาตุหลัก N-P-K พร้อมธาตุรอง และธาตุเสริม ที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโต และเสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลง
สั่งซื้อสินค้าได้ที่ http://www.farmkaset.org/html5/customer_update_add_self.aspx
ไลน์ไอดี FarmKaset
โทร 090-591-8614
อ้างอิง
sites.google.com/site/datepalmnongtu/dowload_data_datepalm/graphiola-leaf-spot
Comments
Post a Comment