พืชขาดธาตุแคลเซียม จะเกิด ใบจุดสีน้ำตาล ใบจุดสีเหลือง ที่ใบใหม่ พืชที่ขาดธาตุแมกนีเซียม จะเกิดใบจุดน้ำตาล ใบจุดเหลือง ที่ใบแก่ : ตรวจดิน ตรวจธาตุแคลเซียม ตรวจค่าแมกนีเซียม

การวินิจฉัย อาการขาดธาตุรองของพืช พืชขาด ธาตุแคลเซียม หรือขาด ธาตุแมกนีเซียม เราสามารถสังเกตุได้จากอาการของพืช การวินิจฉัยนี้ เป็นการสังเกตุอาการเบื้องต้น ให้ผู้อ่านทำความเข้าใจว่า อย่างไรก็แล้วแต่ อาการที่พืชแสดงให้เราสังเกตุได้นั้น ยังประกอบด้วยปัจจัยพื้นฐานอีกหลายองค์ประกอบ ในบทความนี้ เป็นการสังเกตุอาการเบื้องต้น เป็นแนวทางให้เราพอจะสันนิษฐาน เพื่อแก้ปัญหาให้กับพืชที่เราปลูกได้

ผู้อ่านเคยสังเกตุไหมว่า ทำไมผู้ผลิตปุ๋ย จึงเลือกให้ธาตุอาหารรองกับพืช โดยการผสมในปุ๋ยสูตรหลัก โดยเน้นไปที่ธาตุรองเป็น ธาตุแคลเซียม และ ธาตุแมกนีเซียม เป็นพิเศษ ในหลายๆผลิตภันฑ์ และหลายๆสูตรปุ๋ย สาเหตุเป็นเพราะว่า การวินิจฉัยว่าพืช ขาดธาตุแคลเซียม หรือ ขาดธาตุแมกนีเซียมนั้น ค่อนข้างจะบ่งชี้ได้ยาก 

เรื่องของปฏิสัมพันธ์ระหว่างธาตุนั้น จะเริ่มจากโบรอน ไปสู่ธาตุอื่นๆต่างๆ ดังนี้ 

โบรอน > ซิลิคอน > แคลเซียม > ไนโตรเจน > แมกนีเซียม > ฟอสฟอรัส > คาร์บอน > โพแทสเซียม 

จะเห็นได้ว่า ธาตุแคลเซียม จะจับกับ ธาตุไนโตรเจน ซึ่งไนโตรเจนนั้น เป็นองค์ประกอบหลักของ กรดอะมิโน ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของโปรตีน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสร้าง คลอโรฟิลล์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเขียวของใบพืช ใช้ในการสังเคราะห์แสง 

จะเห็นได้ว่า หากพืชขาด ธาตุแคลเซียม จะส่งผลกระทบต่อความเขียวของใบพืช ใบพืชอาจจะซีดเป็นสีเหลือง หรือสีน้ำตาล แต่อาการเหลือง หรือน้ำตาลของใบพืช จะแสดงออกโดยมีรายละเอียด หรือลักษณะเฉพาะแบบไหน?

ในส่วนของการสร้าง คลอโรฟิลล์ ก็ต้องใช้ ธาตุแมกนีเซียม ในการรับพลังงาน และสะสมพลังงานจากแสงอาทิตย์ ในโตรเจน ที่อยู่ในกรดอะมิโน จะจับกับ แมกนีเซียม เพื่อสร้างคลอโรฟิลล์ในพืช 

ซึ่งก็หมายความว่า หากพืชขาด ธาตุแมกนีเซียม ก็จะแสดงอาการใบเหลืองเช่นกัน ส่วน อาการขาดไนโตรเจน ก็ใบซีด ใบเหลือง ชัดเจนอยู่แล้ว เพราะไนโตรเจนเป็นธาตุหลัก แต่สำหรับคนที่ใส่ปุ๋ยทั่วๆไปสม่ำเสมอ อาการใบเหลืองจากการ ขาดไนโตรเจนนั้น น่าจะตัดออกไปได้ เหลือพิจารณาอยู่คือ ธาตุรอง สองธาตุ คือ แมกนีเซียม และ แคลเซียม นั้นเอง

พืชขาดธาตุแคลเซียม พืชขาดธาตุแมกนีเซียม
ความแตกต่างของอาการขาดธาตุ แคลเซียม เปรียบเทียบกับ ขาดธาตุแมกนีเซียม

อาการพืชขาดธาตุแคลเซียม 

อาการใบเหลืองของพืช จะแสดงที่ด้านบนของใบพืช สัญญานที่บ่งบอกว่า พืช ขาดธาตุแคลเซียม  คือ ใบพืชจะมีรอยสีน้ำตาล / เหลืองเป็นจุดๆ มักจะเกิดที่ส่วนยอดของต้นพืช

ลำต้นพืชจะอ่อนแอ เนื่องจากผนังเซลล์ไม่ดี 

การเจริญเติบโตของพืชช้า (บนเงื่อนไขที่เราให้ธาตุหลัก N-P-K แล้ว แต่พืชก็ยังโตช้า)

แต่หากผู้อ่านมั่นใจว่า ให้แคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอแล้ว ลองดูประเด็นของค่า pH ของดินบริเวณนั้น ว่าอยู่ในช่วง 5.2-6.1 หรือไม่ 

วิธีหนึ่งที่ใช้ทดลองได้คือ ทดลองให้อาหารเสริมแคลเซียมกับพืช (เช่นพวกสารปรับปรุงดิน ที่มีแคลเซียมผสมอยู่) หนึ่งสัปดาห์หลังจากนั้น ทดลองตรวจดินวัดค่า EC (ค่าการนำไฟฟ้า) บริเวณโซนรากพืช เปรียบเทียบกับ ดินโซนที่ห่างจากรากพืช หากค่า EC ไม่ลดลง สันนิษฐานได้ว่า พืชของคุณ ไม่ได้รับสารอาหารใดๆ (ซึ่งน่าจะเป็นแคลเซียม) 

ห้อง LAB ตรวจวิเคราะห์ดินและปุ๋ย iLab

การเคลื่อนย้ายแคลเซียม

อาการขาดแคลเซียม มักจะประกฎในใบที่ใหม่กว่า เนื่องจากแคลเซียมที่เก็บไว้ในใบแก่ ไม่สามารถเคลื่อนย้ายในยังใบที่กำลังเจริญเติบโตใหม่ได้ เนื่องจาก แคลเซียม เป็น ไอออนที่เคลื่อนที่ไม่ได้ในพืช

ใบพืชขาดธาตุแคลเซียม
อาการใบจุดสีน้ำตาล และใบจุดเหลือง ที่เกิดจากการขาดแคลเซียม
มักแสดงอาการบนใบใหม่

อาการพืชที่ขาดธาตุแมกนีเซียม

ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในพืชนั้น มีลักษณะคล้ายกับอาการขาดธาตุแคลเซียม คือ อาการจุดคล้ายสนิมสีน้ำตาล และจุดสีเหลืองกระจายทั่วใบพืช 

ความแตกต่างที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การเกิดจุดสีน้ำตาลที่เกิดจากการขาดแคลเซียม จะมีผลต่อการเจริญเติบโตตั้งแต่เริ่มต้น นั้นคือจะเกิดบนในใหม่ของพืช บนยอดใบที่แตกใหม่ แต่ในส่วนของ อาการพืชขาดแมกนีเซียมนั้น จะเกิดบนใบพืชที่สร้างไว้แล้ว หรือใบเก่า หรือใบแก่ของพืชนั้นเอง

การม้วนงอ ของใบพืช

เกิดสีเหลือง / นอกเส้นใบ ปัญหาของอาการขาดแมกนีเซียม จะส่งผลกระทบต่อส่วนล่างของพืช และใบแก่ของพืช ต่างจากอาการขาดแคลเซียม เพราะ แมกนีเซียม เป็น ไอออน (ion) ที่เคลื่อนที่ได้ในพืช

อาการใบเหลืองจากการขาดแมกนีเซียมนี้ สังเกตุได้ว่า อาการเหลือง จะอยู่รอบนอกของเส้นใบพืช 

การเคลื่อนที่ของแมกนีเซียม

อาการขาดแมกนีเซียมในพืช จะปรากฎให้เห็นในใบแก่ของพืช เนื่องจาก แมกนีเซียม จะถูกจรรสรรให้กับการเจริญเติบโต การแตกยอด แตกใบใหม่ เพราะ แมกนีเซียม เป็น ไอออน (ion) ที่เคลื่อนที่ได้ในพืช

ใบพืชขาดธาตุแมกนีเซียม
อารการพืชขาดธาตุแมกนีเซียม

แคลเซียม และ แมกนีเซียม ต่างก็เป็นองค์ประกอบสำคัญในการเจริญเติบโตของพืช 

อาการใบเหลืองของพืช มักจะเป็นสัญญาณ ของผลกระทบต่อ คลอโรพลาสต์ และ คลอโรฟิลล์ โดยมากแล้วมีสาเหตุจากการขาดธาตุรอง การใช้ FK-1 นั้น จะเติมได้ทั้งธาตุหลัก N-P-K พร้อมธาตุรอง แคลเซียม แมกนีเซียม และธาตุเสริมอื่นๆ เพื่อให้ครบถ้วนตามความต้องการของพืช ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้เร็ว มีความสมบูรณ์ แข็งแรง เมื่อพืชมีความแข็งแรง จึงส่งเสริมให้พืชต้านทานต่อโรคและแมลงได้ดีขึ้น

เรียบเรียงโดย ธนบัตร บัวแก้ว เผยแพร่ที่ FarmKaset.ORG และ farmkaset.blogspot.com

ปุ๋ยแก้พืชขาดธาตุรอง ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม

สั่งซื้อสินค้าได้ที่ http://www.farmkaset.org/html5/customer_update_add_self.aspx

ดูโบรชัวร์ ข้อมูลรายะเอียดสินค้า คลิกที่นี่
หรือโทรสั่งซื้อได้ที่ 090-592-8614 
หรือไลน์ไอดี FarmKaset


FK iLab ตรวจวิเคราะห์ค่าดิน และปุ๋ย

FK iLab เป็นเว็บไซต์ให้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารในดิน และค่าธาตุอาหารในปุ๋ย ด้วย LAB มาตรฐาน ตรวจวิเคราะห์โดยนักวิชาการเฉพาะด้าน ที่มีความชำนาญ โดยผู้ใช้บริการสามารถ เลือกค่า ธาตุอาหารต่างๆที่ต้องการตรวจได้ บนเว็บไซต์ และส่งตัวอย่างดิน หรือปุ๋ยที่ต้องการตรวจไปยัง ห้องปฏิบัติการ ผ่านทางไปรษณีย์ และรออ่านผลตรวจได้ทางหน้าเว็บไซต์ 

สามารถใช้บริการได้ที่ http://www.farmkaset.org/ilab/iLab.html

หรือเข้าเว็บไซต์ FarmKaset.ORG และคลิกที่เมนู iLab


อ้างอิง 

elitegardenwholesale.com/blogs/elite-blog/secondary-common-plant-deficiencies

Comments

Popular posts from this blog

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา