อาจารย์มก. โชว์ ภาพผล Lab ยืนยัน แก้ปมเลือดไหลเป็นพระธาตุ


คำเตือนต่อพุทธศาสนิกชน 

การที่ภิกษุได้อวดอ้างแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ไม่มีในตนจริง เป็นอาบัติปาราชิก ต้องสึก
ถึงมีจริง ก็เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ไม่ควรทำ เปรียบดั่งอิสตรีเปิดเผยของสงวน ให้แก่ชายได้ชม

นักวิชาการ มก. โชว์ ผลLab 

ทดสอบทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง แก้ต่าง กรณีปมปริศนา  เลือด-เหงื่อพระรูปหนึ่งที่ จ.นครศรีธรรมราช  แห้งแล้วกลายเป็นพระธาตุ

จากกรณีที่มีการกล่าวถึงปมปริศนา พระภิกษุรูปหนึ่ง ที่วัดวังหอน  จ.นครศรีธรรมราช อ้างว่าเหงื่อไหลและเลือดที่ออกจากร่างกาย เมื่อแห้งก็จะกลายเป็นพระธาตุ เป็นเม็ดคล้ายลูกแก้วเล็กๆ สีชมพูแดง ญาติโยมต่างนำกลับไปกราบไหว้บูชา จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์  

โดยก่อนหน้านั้น รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมีศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โชว์ผลทดลองทางวิทยาศาสตร์  โดยระบุว่า สิ่งที่เห็นน่าจะเป็นเม็ดพอลิเมอร์ (Polymer) ที่นำมาทาตัวหรือเปื้อนตามเสื้อผ้า เมื่อเหงื่อออกก็จะดูดน้ำกลายเป็นเม็ดๆ เหมือนพระธาตุ ส่วนภาพที่ศีรษะแตกน่าจะเป็นเลือด ซึ่งมีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่แล้ว เมื่อสัมผัสกับเม็ดพอลิเมอร์ จะดูดเข้าไปกลายเป็นเม็ดๆ สำหรับพอลิเมอร์ดังกล่าวสามารถหาซื้อได้ทั่วไปหรือจากผ้าอ้อมเด็ก

โดย รศ.ดร.วีรชัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Weerachai Phutdhawong เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวเพิ่มเติม  โดยระบุว่า   "ขออนุญาตแจ้ง ท่านผู้ติดตามการพิสูจน์พระธาตุฯก่อนนะครับว่า การพิสูจน์ได้เจาะจงเฉพาะกรณี เม็ดวัตถุที่ออกมาจากพระรูปหนึ่งที่เป็นข่าวนะครับ ไม่ได้ก้าวล่วงในพระอริยสงฆ์รูปอื่นๆแต่อย่างใด..ผลการทดลองครบหมดแล้ว มีนักข่าวมาเก็บข้อมูลเบื้องต้นไปบ้างแล้ว และจะได้แจ้งผลอย่างละเอียดให้ทราบต่อไปครับ


ล่าสุด รศ.ดร.วีรชัย  ได้โพสต์ ภาพผลการทดสอบ ซึ่งเป็นผลLAB  ที่ยืนยันข้อมูลที่ถูกต้อง เกี่ยวกับกรณีดังกล่าวด้วย  พร้อมระบุข้อความว่า  "ผลอื่นๆเป๊ะ ผล IR ก็ตรงกับ Polystyrene เรซินเครื่องกรองน้ำ"

"มีแวดวงคนที่รู้จักเครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูง ถาม อ. วีรชัย ว่า อาจารย์ โหดไปไหม ที่นำทั้ง เครื่อง Nuclear Magnetic Resonance (nmr) เครื่อง Scanning Electron Microscope(SEM) และเครื่อง Attenuated total reflection (ATR) Infrared-Spectrometer มาพิสูจน์ เม็ดประหลาดจากพระรูปหนึ่งจำวัดอยู่ที่ ต.วังอ่าง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช   ต้องบอกว่า อยากให้ชัดเจน 100% แบบใครเถียงไม่ได้ครับ และงานนี้ ทีมงาน อ.วีรชัย และนำไปตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติด้าน นิติวิทยาศาสตร์ ด้วยครับ

ข้อมูลจาก
- facebook.com/phutdhawong?fref=ts
- voicetv.co.th

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา