เอื้องมือชะนี กล้วยไม้พันธุ์หายาก


กล้วยไม้ชนิดนี้ มีขึ้นตามป่าดิบเขาทุกภาคของประเทศไทย ต่างประเทศพบแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีมากที่สุดในไทย พม่า เขมร ลาว แต่ในป่าธรรมชาติของไทยแทบไม่พบเห็นแล้ว ส่วนใหญ่ที่พบมีต้นวางขาย ผู้ขายจะซื้อแบบเหมาเป็นกระสอบจากพ่อค้ากล้วยไม้ป่าที่นำมาจากประเทศเพื่อนบ้าน จากนั้นก็เอาไปคัดปลูกเลี้ยงเป็นสกุลๆไป จนต้นติดรากดีและมีดอกสวยงามตามฤดูกาล ก่อนนำออกจำหน่ายให้ผู้ซื้อไปปลูกเลี้ยงอีกทอดหนึ่ง

เอื้องมือชะนี หรือ DENDROBIUM SENICE C.S.P. PARISH-RCHB.F. เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยจำพวกมีการเจริญทางด้านข้าง ได้แก่ กล้วยไม้ที่มีเหง้า ส่วนทอดเลื้อยหรือไหล เมื่อต้นเจริญเต็มที่สามารถแตกต้นใหม่หรือหน่อใหม่จากโคนกอหรือตามลำข้อได้ รวมทั้ง “เอื้องมือชะนี” ด้วย ลำต้นรูปทรงกลมคล้ายแท่งดินสอ สูง 10-15 ซม. ทุกส่วนของลำต้นจะมีขนยาวสีขาวทั่ว ทำ ให้ดูเหมือนกับมือของตัวชะนีจริงๆ จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะดังกล่าวว่า “เอื้องมือชะนี” ใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน เนื้อใบหนา เวลามีดอกจะทิ้งใบหมด เหลือเพียงดอกอย่างเดียว ทำให้น่าชมยิ่งนัก


ดอก ออกเป็นช่อตามข้อและ ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย 2-4 ดอก ก้านช่อดอกเป็นสีเขียวและยาว กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเป็นสีเหลืองเข้ม ปลายกลีบดอกแหลม กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมี 5 กลีบ บริเวณโคนกลีบปากจะมีแต้มสีเขียวอ่อนขึ้นไปจนถึงกลางกลีบ ดอกมีกลิ่นเฉพาะตัว ใช้จมูกสูดดมจะได้กลิ่นและรู้สึกได้ทันที ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 5 ซม. เวลามีดอกจะสวยงามมาก ดอกออกช่วงระหว่างเดือนมกราคมต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อหรือต้น

มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผง “คุณวิรัช” หน้าธนาคารออมสิน กับโครงการ 24 แผง “คุณหล้า-คุณโอม” ราคาสอบถามกันเองครับ.

ข้อมูลจาก
- “นายเกษตร”
- thairath.co.th/content/508904

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา