โรคใบไหม้ (โรคใบจุดตาเสือ) ก้านใบไหม้ ก้านใบเน่า : LEAF BLIGHT DISEASE ในพืชต่างๆ
สาเหตุของอาการใบไหม้ ก้านใบเน่า
เชื้อสาเหตุ : รา Phythopthora colocasiae Rac
ชีววิทยาของเชื้อ ที่ก่อโรคใบไหม้
เชื้อสร้างเส้นใยบนอาหารแข็ง CA เป็นเส้นตรง กิ่งก้านแยกออกไปไม่สม่ำเสมอ เส้นใยใสไม่มีสี ไม่มีผนังกั้น ผิวผนังเรียบ ลักษณะโคโลนีคล้ายเส้นใยแมงมุม เชื้อเจริญเต็มจานเลี้ยงเชื้อเมื่ออายุ 3-5 วัน สร้าง sporangia รูปยาว หรือรูปไข่ มีปุมนูนไม่เด่นชัด (semipapillate) บนสปอร์ L:B = 1.6:1 เมื่อสปอร์มีอายุจะหลุดง่าย แพร่กระจายโดยลมและฝน ภายในสปอร์ยังสามารถสร้างสปอร์มีหางจำนวนมาก แล้วปล่อยออกมา เข้าทำลายพืชได้อีกด้วย
ลักษณะอาการของโรคใบไหม้
อาการบนใบเกิดจุดสีน้ำตาลฉ่ำน้ำ ต่อมาจุดแผลเหล่านั้นขยายใหญ่ขึ้น เกิดอาการ ใบไหม้เป็นวงๆ ซ้อนๆ กัน เป็นชั้นๆ ลักษณะคล้ายดวงตา บริเวณขอบแผลที่เกิดจากการเชื่อมต่อกันจะพบ เนื้อเยื่อสีเหลืองล้อมรอบ ในระยะที่รุนแรงแผลขยายติดต่อกัน และทำให้ใบม้วนพับเข้าและแห้งเหี่ยว หรืออาจเน่าเละถ้าอากาศชื้นมีฝนพรำ หากเกิดโรครุนแรง พบอาการบนก้านใบ เกิดแผลฉ่ำน้ำสีน้ำตาลอ่อน แผลขยายใหญ่ขึ้นเป็นวงๆ เช่นกัน ต่อมาจะเน่า แห้ง เป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ ก้านต้านทานน้ำหนักใบไม่ได้ จึงหักพับ ทำให้ใบแห้ง ผลผลิตลดลง และเชื้ออาจเข้าทำลายหัวเผือก ทำให้หัวเผือกเน่าเสียหายได้
การแพร่ระบาดของโรคใบไหม้
ความชื้นสูงและอุณหภูมิต่ำมีผลต่อการเกิดโรค ทำให้โรคมีการระบาดรุนแรง หากช่วงที่ได้รับเชื้อ มีฝนตกพรำตอนใกล้รุ่ง และตอนเช้าติดต่อกัน มีฝนพรำทั้งวัน และมีลมอ่อนๆ เนื่องจาก สภาพดังกล่าวเหมาะสมต่อการสร้างสปอร์เชื้อรา ซึ่งเชื้อสร้างสปอร์บนใบเผือกได้ดีหากมีความชื้นสูง (90-100%) และอุณหภูมิต่ำ (20-25%) เกษตรกรมักนิยมปลูกเผือกตามคันสวนผักหรือปลูกในที่ลุ่มมีน้ำขังแฉะ ทำให้มี ความชื้นสูง การระบาดของโรคจึงเกิดง่ายตลอดปี
การป้องกันกำจัดโรคใบไหม้
เก็บเศษซากพืชหรือส่วนที่เป็นโรคออกไปเผาทำลาย ปลูกพืชในพื้นที่ดินที่มีการ ระบายน้ำได้ดี ไม่เป็น ที่น้ำขังและไม่ปลูกแน่นจนเกินไป ใช้สารเคมี เช่น copper oxychloride หรือ Bordeaux mixture หรือ Dithane M-45 พ่นทุก 5-7 วัน การใช้ metalaxyl ให้ผลดีเพื่อควบคุมรา ทำความสะอาด เครื่องมือการเกษตรด้วยสารเคมีควบคุมราหรือแอลกอฮอลล์ 95 เปอร์เซ็นต์
Reference
microorganism.expertdoa.com/disease_8-โรคใบไหม้.php
Comments
Post a Comment