การฟื้นฟูต้นไม้ ไม่ดอก ไม้ประดับ ที่เป็นโรคต่างๆ ให้กลับมาสมบูรณ์ แข็งแรง เหมือนเดิม

โรคที่เกิดขึ้นกับ ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถางนั้น เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง อากาศถ่ายเทไม่ดี วางในที่อัปชื้น ระบบระบายน้ำในกระถาง หรือบริเวณที่ปลูกไม่ดี แดดส่องไม่ถึง แดดจัดเกินไป รดน้ำบ่อยเกินไป ดินเก่า เป็นแหล่งสะสมของเชื้อรา ต้นกำเนิดของโรคต่างๆ 

แก้ ไม้ดอก ไม้ประดับ ใบไหม้

1. โรคเน่าเละ (Soft Rot) มักพบกับไม้ใบที่มีดินปลูกแน่นและไม่ได้เปลี่ยนดิน ทำให้น้ำขังแฉะ เซลล์ในรากพืชอวบเต่งและมีเชื้อแบคทีเรีย (Erwinia carotovora) เข้าทำลายจนรากเน่า

2. โรครากเน่า (Root Rot) เกิดจากวัสดุปลูกที่แฉะเกินไป ทำให้เชื้อรา Pythium spp. เข้าทำลายส่งผลให้ต้นเหี่ยว ใบที่โคนเหลืองและร่วง รากเน่า นอกจากนี้อาการรากเน่ายังพบกับไม้ใบที่เพิ่งนำเข้าจากต่างประเทศหรือเพิ่งปลูกใหม่ หากต้นปรับตัวได้อาการเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น

3. โรคโคนเน่า (Stem Rot) มักเกิดกับต้นที่เพิ่งตัดมาปักชำ โดยเฉพาะอโกลนีมาและสาวน้อยประแป้งจะมีเชื้อรา Fusarium spp. เข้าทำลายบริเวณรอยตัด ทำให้โคนกิ่งมีสีน้ำตาลและดำ ใบเหี่ยวเหลืองร่วง จนอาจทำให้กิ่งเน่าทั้งกิ่ง

4. โรคราเม็ดผักกาด (Southern Blight) มีเชื้อราสาเหตุคือ Sclerotium rolfsii ที่มักติดมากับวัสดุปลูกโดยเฉพาะกาบมะพร้าวสับ เมื่อวัสดุปลูกระบายน้ำไม่ดี ก็ทำให้เชื้อที่มีอยู่ในดินเข้าทำลายได้ง่ายขึ้น โคนต้นเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ใบเหี่ยว และมักพบกลุ่มเชื้อเราเป็นเม็ดกลมเล็กๆ สีขาว ปกคลุมอยู่บริเวณที่เกิดอาการ

5. โรคใบจุด (Leaf Spot) มักเกิดกับไม้ใบที่ปลูกในที่อับลม อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ทำให้เชื้อราในอากาศเข้าทำลาย ถ้าเกิดจากเชื้อราพวก Colletotrichum sp. ใบจะเป็นจุดสีเหลืองขยายวงกว้าง มีจุดสีน้ำตาลขนาดใหญ่อยู่กึ่งกลาง และมีจุดเล็กๆ เรียงเป็นวงล้อมรอบที่เรียกว่า แอนแทร็กโนส (Anthracnose) แต่ถ้าเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris ขอบใบจะเป็นจุดสีน้ำตาลแดง มีขอบสีเหลืองล้อมรอบ และถ้าอากาศร้อนอบอ้าวจะขยายขนาดและลุกลามมากขึ้น


วิธีแก้ไขโรคพืชเบื้องต้น

1 ย้ายต้นมาวางนอกบ้าน ที่ร่มรำไร อย่าให้โดนแสงตรง อากาศถ่ายเท

2 ตัดแต่งราก ลำต้น และใบที่แสดงอาการออกไปเผาทำลายวางผึ่งในที่ร่มให้แผลแห้ง

3 ควรเปลี่ยนปลูกใหม่ที่ระบายน้ำดีขึ้น วางในตำแหน่งที่มีแสงแดดรำไร หรือรับแสงเล็กน้อยในช่วงเช้า อากาศถ่ายเท จนกว่าต้นจะแข็งแรง

4 หากต้นไม้มีอาการสาหัส โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ควรฉีดพ่นสารปฏิชีวนะ เช่น สเตร็ปโตไมซิน (Streptomycin) ทุกสัปดาห์จนกว่าต้นจะแข็งแรงแตกใบใหม่

5 หากต้นเสียหายหนักเพราะเชื้อรา หลังปลูกใหม่ควรฉีดพ่นสารป้องกันเชื้อราแคปแทน (Captan) หรือคาร์เบนดาซิม (Carbendacim) ทุกสัปดาห์ จนกว่าต้นจะแตกใบใหม่


วิธีลดความเสี่ยงให้เกิดโรคต่างๆ 

คือ ควรรดน้ำให้พอเหมาะ ดินไม่แฉะ วางต้นไม้ในตำแหน่งที่มีอากาศถ่ายเท มีแสงส่องถึง และหมั่นยกต้นใหม่มาสลับเปลี่ยนกับต้นในบ้าน โดยนำต้นในบ้านมาพักนอกบ้านในที่มีแสงรำไร ทุก 1-2 สัปดาห์

กรณีที่มีอาการใบไหม้เพราะโดนแสงแดดจัดทำให้ใบเป็นวงด่างซีด ใบไม่สวย แก้ไขได้โดยย้ายต้นมาพักในที่มีแสงรำไร อากาศถ่ายเท จากนั้นใช้กรรไกรตัดแต่งใบที่เป็นรอยไหมด่างทิ้ง ตัดแต่งให้สวยงาม คอยสังเกตว่าต้นเริ่มผลิใบใหม่หรือไม่ หากผลิใบเพิ่มขึ้นแสดงว่า ต้นเริ่มฟื้นคืนชีพแล้ว

หากเมื่อซื้อต้นไม้มาใหม่ซึ่งปลูกเลี้ยงมาสภาพแวดล้อมที่โล่งแจ้ง เคยรับมีแสงแดดทุกวัน แต่เมื่อถูกย้ายให้เข้ามาอยู่ในบ้านซึ่งเป็นที่ร่ม ทำให้ต้นไม้ปรับตัวไม่ทัน ใบจะเริ่มเหลืองจากนั้นใบเริ่มร่วง วิธีป้องกันคือ นำต้นไม้ใหม่มาวางไว้ในที่ร่มมีแสงส่องถึงก่อนประมาณ 1 สัปดาห์แล้วค่อยย้ายไปวางในบ้าน

ป้องกันและกำจัดโรคพืช ด้วย ไอเอส

ไอเอส รักษาโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

ฟื้นฟูพืชด้วย FK-1

FK-1 ฟื้นฟูพืช จากโรค


อ้างอิงข้อมูลจาก www.baanlaesuan.com/192941/plant-scoop/re-plants

Comments

Popular posts from this blog

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา