เพลี้ย เพลี้ยจะใช้ปากดูดสารอาหารจากยางหรือของเหลวจากต้นไม้ เป็นเหตุให้ผลผลิตพืชเสียหาย

เพลี้ย เจ้าแมลงตัวจิ๋ว ปากจู๋ สีกลืนกับใบไม้เหล่านี้ คือศัตรูพืชตัวฉกาจ ที่มาพร้อมฤทธิ์ระดับพระกาฬ จนผู้ปะกอบ อาชีพเกษตรกร มากมายผวา เพราะความสามารถทำลายล้างสูงมาก เรียกว่าพืชตายไปไร่ ล่มสลายกันเป็นสวนเลย

เพลี้ย จะแฝงกายตัวเองไว้ในทุกสวน ทุกไร่ แล้วแต่ว่าจะเป็นพันธุ์ไหน ซึ่งแต่ละพันธุ์ก็จะมีลักษณะแตกต่างกันไป เพลี้ยจะใช้ปากดูดสารอาหารจากยางหรือของเหลวจากต้นไม้ เพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ ที่เพลี้ยสามารถทำให้ต้นไม้ ดอกไม้เฉาตายลงได้ ดังนั้นเราต้องรีบทำลายล้างเขาก่อน ที่เขาจะมาทำลายผลผลิตครับ

เพลี้ย

เพลี้ยจะตัวเล็กมาก ตาใส แทบมองไม่เห็น มีสีขาว ดำ น้ำตาล เทา เหลือง หรือแม้กระทั่งชมพู บางพันธุ์อาจจะมีขี้ผึ้งหรือมีขนห่อหุ้มลำตัว มีหนวดยาว ตัวอ่อนหรือตัวผู้ใหญ่ก็มีไซส์ไม่แตกต่างกัน โดยเพลี้ยผู้ใหญ่จะแตกต่างจากเพลี้ยอ่อนตรงไม่มีปีกแค่นั้น เมื่อเพลี้ยดูดกินสารอาหารจากต้นนึงหมดก็จะย้ายไปดูดต้นถัดไป เรียกว่าสร้างอาณาบริเวณของตนเองไปเรื่อยๆ ไม่จบสิ้น โดนที่กว่าเราจะรู้ตัว เพลี้ยก็ขยายเกาะกินพืชเราไปเยอะแล้ว

ปกติแล้วเราจะเรียกชื่อเพลี้ยตามพฤติกรรมและลักษณะ เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดด เพลี้ยแป้ง และเราก็อาจจะเรียกชื่อตามพันธุ์พืชที่เพลี้ยไปเกาะ เช่น เพลี้ย กะเพรา เพลี้ย แคคตัส เพลี้ยไฟพริก  เพลี้ย มะนาว เป็นต้น

วันนี้เราจะคุยกันเฉพาะเรื่อง เพลี้ยไฟ กันครับ ตามตำราว่าไว้ ว่ามีมากว่า 5,000 ชนิดทั่วโลก ซึ่งเราสามารถกำจัดโดยชีวภัณฑ์ได้ เพลี้ยไฟจะทำลายพืชโยการดูดน้ำหวานบ้าง หรือขูดกินผิวผลไม้หรือเจาะกอไม้ ทำให้สีซีด มีรอยด่า มีบาดแผลบนผิว จะพบได้ในพืชหลายประเภท รวมทั้งดอกกุหลาบและดอกกล้วยไม้

การจัดการเพลี้ยไฟนั้นเน้นเรื่องการดูแลฟาร์ม โดยการกำจัดวัชพืชต่างๆ ออกให้หมด ขยันทำครับ และเมื่อเจอเพลี้ยไฟก็ให้รีบตัดส่วนที่มีเพลี้ยทิ้งในทันทีด้วยกรรไกรตัดกิ่ง หรือปล่อยแมลงเต่าทองเพื่อกินเจ้าเพลี้ยไฟก็ได้ครับ โดยส่วนใหญ่เราจะเจอเพลี้ยชนิดนี้ในช่วงที่พืชเริ่มแทงยอดอ่อนหรือช่วงที่มีผลอ่อนครับ ดังนั้นก็นำสารชีวภัณฑ์มาเริ่มฉีดพ่นกันเลย กันไว้ดีกว่าแก้ครับ เพราะไม่งั้นพวกเชื้อไวรัสร้ายต่างๆ จะตามมา

จริงๆ แล้วเจ้าเพลี้ยชนิดนี้จะทนทานต่อสารเคมีนะครับ ดังนั้น เวลาเราเลือกใช้ตัวควบคุมเพลี้ยชนิดนี้ เราต้องสับเปลี่ยนตัวชีวภัณฑ์ที่เรานำมาใช้สลับกันไปครับ ไม่งั้นจะเกิดการดื้อยา บางที่เขาก็ใช้สบู่ฆ่าแมลงที่ผสมกับน้ำมันพืชมาใช้ควบคุมเพลี้ยไฟกันด้วยนะครับ

ที่สำคัญเจ้าเพลี้ยพันธุ์นี้ จะพบมากในช่วงฤดูร้อนครับ หมดหนาวเมื่อไรก็ให้เพื่อนๆ จัดการเตรียมพ่นชัวภัณฑ์รอกันเลยนะครับ

ยากำจัดเพลี้ย อินทรีย์


Reference

blog.arda.or.th/เพลี้ย/

Comments

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา