ชาวบ้านคำตากร้า ปรับพื้นที่นาข้าว ปลูกผักก้านจอง จำหน่าย มีรายได้เฉลี่ยวันละ 600-700 บาท



ตาลปัตรฤาษี หรือที่เรียกกันคุ้นหูทั่วไปว่า ผักก้านจอง หรือผักพาย เป็นวัชพืชน้ำชนิดหนึ่ง ชอบขึ้นอยู่ตามแหล่งน้ำนิ่งที่สะอาด เช่น ห้วย หนองคลอง บึง และ ตามนาข้าว ชาวบ้านรู้จักนำมารับประทานเคียงกับน้ำพริก ลาบ ก้อย ทั้งแบบต้มสุกและดิบ นอกจากนี้ยังนำไปประกอบอาหาร อื่นๆ ได้อีกหลากหลาย รับประทานได้ตั้งแต่ ใบอ่อน-ดอกอ่อน และต้นอ่อน มีรสชาติมันและขมเล็กน้อยหากรับประทานดิบๆ หรือนำไปทำให้สุกรสชาติจะออกหวาน เป็นผักยอดนิยมของคนอีสาน เนื่องจากเป็นพืชที่ขึ้นได้เองตามธรรมชาติ และแพร่กระจายพันธุ์ได้ดี ทั้งยังไม่ต้องใช้สารเคมีในการเพาะปลูกก็งอกงามได้

สอบถามนางสุเทียน อาสาสร้อย อายุ 47 ปี เจ้าของสวน เล่าว่า พื้นเพมาจากอำเภอวาริชภูมิ ย้ายมาลงหลักปักฐาน ที่ อ.คำตากล้า เมื่อ 20 กว่าปีที่ผ่านมา โดยซื้อที่ดิน 40 ไร่ แยกปลูกยางพารา 20 ไร่ และทำแปลงนาปลูกข้าว 20 ไร่ พร้อมกับสร้างฝายคันดิน เพื่อกักเก็บน้ำทำการเกษตรและอุปโภค ต่อมามองว่าหากรอกรีดยางและปลูกข้าวเพียงอย่างเดียวคงจะไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ ดังนั้นช่วงเก็บเกี่ยวข้าวแล้วเสร็จ จึงทำแปลงปลูกพืชผักที่มีอายุสั้นขาย มีรายได้เสริม ครั้งแรกลงพื้นที่ปลูกประมาณ 2 ไร่เศษ ต่อมาพบว่าผักก้านจอง หรือผักพาย ที่ชาวบ้านนิยมกิน จึงนำมาทดลองปลูก เพราะว่าที่ดินยังว่างเปล่าอยู่มาก

หลังจากนั้นจึงปรับพื้นที่ทำแปลงเริ่มแปลงแรกขนาด พื้นที่ 2 งาน และปล่อยน้ำขังทิ้งไว้ พร้อมบำรุงดินใส่ปุ๋ย โดยใช้ต้นกล้าเริ่มแรก 100 – 150 ต้น ซื้อมาราคา 300 บาท หลังจากปลูกระยะเวลาประมาณ 1 เดือนก็สามารถเก็บขายได้ ปรากฏว่าได้รับความนิยมอย่างมาก จึงได้ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มอีก ส่วนรายได้เฉพาะขายผักก้านจอง มีรายได้เฉลี่ย 700 บาท/วัน หากรวมรายได้จากพืชผักที่ขายอยู่ตอนนี้เกือบ 2,000 บาท/วัน ซึ่งผักก้านจอง หรือผักพายสามารถเก็บส่งขายได้ตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะช่วงหน้าหนาว หน้าฝน หรือ หน้าแล้งได้ทุกฤดูกาล มีรายได้ทุกวัน

อ้างอิง : thainews.prd.go.th

http://www.farmkaset.org/html5/contents.aspx?con_id=02092

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา