ใช้ยาอินทรีย์ : ฉีดแล้วหนอนไม่ตาย เลยสรุปเอาเองว่ายาเคมีดีกว่า สาเหตุที่ทำเกษตรอินทรีย์ไม่ได้ผล เพราะเราไม่รักที่จะพัฒนาตนเอง


คอเกษตรอินทรีย์ มาคุยกันทางนี้นะคะ หลายคนอยากปลูกพืชแบบอินทรีย์ แต่เวลาเกิดโรคระบาดที ก็ถอดใจว่า คงทำแบบอินทรีย์ไม่ได้

เลยหันหน้ามาเพิ่งยาเคมีเหมือนเดิม เพราะเห็นผลเร็วกว่า ได้ผลกว่า

ในความเป็นจริงที่บ่นกันว่า ยาอินทรีย์ไม่ได้ผลนั้น เป็นเพราะขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกพืชแบบอินทรีย์

การปลูกพืชแบบอินทรีย์นั้น สามารถใช้ปุ๋ยเคมีได้ (เพราะปุ๋ยเคมีให้ธาตุอาหารหลักและกำหนดธาตุอาหารทั้งหลักและรองได้แน่นอน ควบคุมอาหารให้กับพืชเพื่อกำหนดผลผลิตได้ชัดเจน) แต่ห้ามใช้ยาเคมีและสารเคมี อย่างเด็ดขาด เพราะยาหรือสารเคมี มีฤทธิ์ตกค้างอยู่ในดินและพืชนานตั้งแต่ 7-15 วันเลยทีเดียว

เกริ่นมาเยอะ มาเข้าสู่การรู้จักกับยาอินทรีย์กันนะคะ การจะใช้ยาอินทรีย์ให้ได้ผล ต้องเข้าใจว่า ยาอินทรีย์ ไม่ใช่ยาครอบจักรวาล หรือยาสามัญประจำ บ้านอย่างยา พาราเซตามอล ที่ไม่ว่าจะเจ็บจะป่วย จะปวดอะไร ก็หยิบมาใช้ได้ แต่ยาอินทรีย์จะออกฤทธิ์แบบเฉพาะเจาะจงเท่านั้น เพราะคำว่าปลอดภัยต้องแลกมากับการใส่ใจและจดจำ..นั้นคือ..ยาอินทรีย์แต่ละตัวใช้แก้โรคได้ผลกับโรคใดโรคหนึ่งเท่านั้น แบบเป็นหมอเฉพาะด้าน...ผู้ใช้อย่างเราต้องสังเกตุว่าโรคและแมลงที่เกิดขึ้น คือโรคและแมลงอะไรแน่ชัดและจัดยาให้ตรงจุด..ได้ผลแน่นอน....

ดังรายละเอียดของตัวยาที่หยิบมาแนะนำแค่บางตัว ด้านล่างนี้นะคะ

1. เชื้อไวรัส NPV 

ผลงานวิจัยและพัฒนาของ ศูนย์ไบโอเทค, สวทช และ อุทยานวิทยาศาสตร์ ถูกพัฒนามาเพื่อจำกัด หนอนกระทู้หอม และ หนอนกระทู้ผัก เท่านั้น (ขีดเส้นใต้คำว่า เท่านั้น) ส่วนหนอนอื่นๆ เช่น หนอนผีเสื้อ หนอนคืบกระหล่ำ หนอนชาเขียว (ตาโปนๆตัวใหญ่ๆ ต่างกับหนอนผีเสื้อ ) โดนเชื้อไวรัสตัวนี้เหมือนโดนน้ำเปล่า มีเกิดผลใดๆ ใช้โดยการผสมน้ำฉีดพ่นในแปลง เมื่อหนอนกินใบพืช ก็จะได้รับไวรัสเข้าสู่ร่างกายหนอน และติดต่อสู่ตัวอื่นๆ ได้ผ่านการกิน เช่นกัน
ข้อดีของเชื้อไวรัส NPV มันแพร่กระจายไปกับน้ำและอากาศ โดยอาศัยลมช่วย ติดต่อจากหนอนหนึ่งตัว ไปสู่อีกตัวได้อย่างรวดเร็ว เชื้อกระจายเหมือน
เชื้อ HIV ในคนจากพ่อแม่สู่ลูก,หลาน,เหลน (โรคติดต่อขนาดนี้ หนอนคงตายไม่เหลือให้แพร่พันธุ์ได้เลย) ดังนั้นเวลาใช้เชื้อไวรัสในแปลง หนอนจะลดประชากรลง จนหมดไปในที่สุด ไม่เกิดอาการดื้อยา
สนใจเชื้อไวรัส NPV ติดต่อได้ที่ ศูนย์ไบโอเทค 02-5646700 ต่อ 3712 นะคะ

2. เชื้อแบคทีเรีย BT (บีที) 

ชื่อเต็มคือ Bacillus thuringiensis (บาซิลลัสทูริงเยนซิส) เป็นสารอินทรีย์ที่ได้รับความนิยมและใช้ได้ค่อนข้างหลากหลายมากที่สุด เชื้อบีที ปัจจุบันมีทั้งหมด 57 ชนืด แต่ที่นิยมนำมาใช้มีอยู่ 2 ชนิดคือ

- aizawai (ไอสะวาย) ใช้ควบคุมหนอนกระทู้หอม กระทู้ผัก หนอนคืบกระหล่ำ หนอนกินใบส้ม ได้ดี และ

- kurstaki (คัสตากี้) ใช้ควบคุมหนอน หนอนแปะใบส้ม หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนคืบ

สองสายพันธุ์นี้ ออกฤทธิ์แตกต่างกันต่อหนอนแต่ละชนิด และถ้าหากมีการนำเชื้อบีที สองสายพันธุ์นี้มารวมกัน จะเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น..

ไอกี้-บีที (AiKi-BT) 

เป็นเชื้อบีที ที่ได้รวมเอาบีที 2 ชนิดเข้าไว้ด้วยกัน (Aizawai, Kurstaki) ประสิทธิภาพสูงสุด ออกฤทธิ์กำจัดหนอนได้ผลภายใน 24-48 ชั่วโมง เมื่อหนอนกินใบพืช

เข้าใจจะได้รับพิษเข้าสู่ร่างกาย ลำตัวเหี่ยวและเป็นอัมพาต ไม่สามารถแพร่พันธุ์ต่อไปได้

ข้อดีของเชื้อบีที คือ ออกฤทธิ์แบบเจาะจงเฉพาะกับหนอนเท่านั้น ไม่เป็นอันตรายต่อคน สัตว์ หรือแมลงอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ทางธรรมชาตื เช่น ตัวห้ำ ต่อ แตนเบียน ไม่มีผลกระทบต่อเชื้อบีที

สนใจ ไอกี้-บีที ติดต่อได้ผ่านลิ้งค์ http://www.farmkaset.net/fungicide-insecticide/26-organic-insecticide-aiki.html

ดังนั้นหากสวนผัก สวนผลไม้ เจอปัญหาหนอนรุมแล้ว ทางเลือกปลอดภัยและได้ผล คือการใช้เชื้อเชื้อบีที ในการจำกัดค่ะ

3. สารอินทรีย์อีกตัวที่นิยมใช้กัน คือ เชื้อราโตรโคเดอม่า สามารถป้องกันและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคพืชหลายชนิดเช่น โรคเหี่ยว รากเน่า โคนเน่า และนอกจากนี้ยังสามารถป้องกันโรคแอนแทรกโนสในมะม่วงและพริกได้ดี สามารถใช้ได้ทั้งผัก,พืชไร่, และไม้ผล

และ.. จุลินทรีย์พื้นบ้านอีกตัวที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรคราที่เกิดจากทางดินคือ IMO (ไอเอ็มโอ) จุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูง นำมาฉีดพ่นลงผิวดิน หรือฉีดพ่นในระหว่างการเตรียมดินเพื่อปลูกพืช จะช่วยลดปัญหาโรคเน่าโคนเน่าได้

โดยสรุปคือ
การจะใช้ยาหรือสารอินทรีย์ให้ได้ผลนั้น ต้องเจาะจงเฉพาะโรค..ถึงจะได้ผล และต้องใช้เวลาสักระยะนะคะ

เขียนโดย
ปริม-ฟาร์มเกษตร

สนับสนุนโดย
iLab ตรวจดิน วิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน www.iLab.Asia
ปุ๋ยตรา FK จากฟาร์มเกษตร ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ Law of the minimum

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา