ความสำคัญของการวางแผนและการจัดการแปลงปลูกพืช


ปัญหาหนักอกหนักใจของชาวเกษตร..คงหนีไม่พ้นเรื่องการทำแล้วขาดทุน..ทำอย่างไรให้มีกำไรหรืออย่างน้อยก็ไม่ขาดทุนก็ยังดีในสภาวะที่เราเองกำหนดราคาพืชที่เราปลูกไม่ได้.. คงมีทางที่ง่ายคือ..ทำให้ต้นทุนต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้..แล้วจะทำอย่างไรที่ว่าให้ต้นทุนต่ำๆ

พูดนะง่ายนะแต่พอทำจริงๆ ..ต้นทุนมันก็สูงขึ้น..สูงขึ้นมาโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ..ถ้าไม่ทำก็กลัวไม่ได้ผลผลิต..ยกตัวอย่างที่ไม่ได้ตั้งใจ...หญ้าขึ้นรกงามกว่าพืชที่ปลูก..ตอนแรกก็ว่าจะทำพืชอินทรีย์ไม่ใช้สารเคมีเลย..ไม่ได้เข้าโครงการอะไรหรอกแต่มันคือความตั้งใจ..สุดท้ายสู้หญ้าไม่ไหวมันท้าทายเหลือเกิน..ต้องฉีดยาฆ่าหญ้า..ของดเกษตรอินทรีย์และความปลอดภัยไว้ก่อนละกัน เอาไว้ทำปีหน้าละกัน.. ต้นทุนที่เพิ่มเข้ามาคือ..ค่ายาฆ่าหญ้า..และแรงงานฉีดยาฆ่าหญ้าซึ่งจะแพงกว่าการฉีดปุ๋ยใส่ปุ๋ยปกติ
หรือแม้กระทั่ง..เรืองการใส่ปุ๋ย..ใส่แล้วใส่อีก..สารพัดอย่างที่เขาว่าดีสรรหามาใช้หมด..ต้นทุนค่าปุ๋ยเพิ่มขึ้นโดยที่ไม่จำเป็น.

หนักกว่านั้นปริมเคยเจอ..ลูกค้าซื้อเครืองมือมาผิดรุ่น..ยิ่งเป็นในรูปแบบขององค์กร..ปัญหานี้เกิดขึ้นได้บ่อยมาก..เช่นซื้อผาลมาผิดวัตถุประสงค์ของการใช้งาน..อย่างผาล3 ก็มีหลายรูปแบบหากพื้นที่ปลูกเป็นดินที่บุกเบิกใหม่..ดินยังแข็งอยู่มากมีปัญหาเรืองตอไม้เศษซากไม้ต่างๆ อยู่ในแปลงมาก..ดังนั้นผาล3ที่จะซื้อและนำมาใช้ต้องเป็นผาล3 ทรงสูงรุ่นบุกเบิกเท่านั้น..อันนี้ แค่ยกตัวอย่าง..ค่ะ

ดังนั้นแล้ว..จะดีกว่าใหมก่อนจะปลูกหรือจะทำอะไร..วางแผนและวาดภาพการจัดการแปลงของตัวเองก่อน ถ้าเคยมีปัญหาเรืองหญ้า..คิดก่อนจะใช้ยาฆ่าหญ้าใหม..กระทบพืชที่ปลูกอย่างไร..ถ้าไม่อยากใช้ก่อนปลูกต้องให้ความสำคัญกับการไถดิน เตรียมดิน และเก็บหัวหญ้าที่ตายยากออกไปทิ้งนอกแปลง..หรืออาจต้องใช้ยาคุมเมล็ดหญ้าก่อนปลูกพืชซึ่งเสี่ยงน้อยกว่ายาฆ่าหญ้า

ถ้ามีปัญหาการเลือกใช้ปุ๋ยสารพัดอย่างแต่ผลผลิตยังได้น้อย..ตรวจดินก่อนปลูกพืชดีใหมหรือ
หากเป็นไม้ยืนต้นก็ตรวจดินก่อนใส่ปุ๋ยหรือช่วงพักต้นในแต่ละปี..ตอบโจทย์การใส่ปุ๋ยได้แน่นอน..ปัญหาเรืองเครื่องจักรเครืองมือ..คำนวณดูก่อนจะซื้อหรือจะเช่า..อันไหนคุ้มกว่ากัน..

และทั้งหมดที่กล่าวมา..มันคือแผนงบประมาณ..ว่าต้องใช้เงินไปกับการลงทุนการซื้ออะไรบ้าง..การทำแผนงบประมาณหรือแผนด้านการเงิน..ไม่ใช่แค่ปลูกพืชในรูปแบบบริษัทเท่านั้นนะคะที่ต้องทำ

..เกษตรกรตัวเล็กๆอย่างเรา...นี่ยิ่งต้องทำเลย..เพราะบางครั้งเกษตรกรไม่รู้เลยว่า..เราลงทุนไปมากแค่ไหน... ทำแล้วคุ้มหรือเปล่า..หรือพอใจแค่ว่า..ตอนสื้นปีมาขายผลผลิตได้เงินมาก้อนหนึ่ง..ก็เพียงพอแล้ว
การจัดทำแผนงบประมาณพูดให้เล็กๆ มันก็คล้ายการทำรายรับรายจ่ายในครัวเรือนนั่นละค่ะ..เพียงแต่งบประมาณด้านการเกษตร เป็นการคิดก้อนเงินที่เราจะลงทุนไปสำหรับการปลูกพืชนั้นๆ ของเรา..นั่นเองค่ะ

เขียนโดย
ปริม-ฟาร์มเกษตร 
สนับสนุนโดย
iLab ตรวจดิน วิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน www.iLab.Asia
ปุ๋ยตรา FK จากฟาร์มเกษตร ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ Law of the minimum

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา