วิธีการสังเกตุการขาดธาตุอาหารของพืชเบื้องต้น


ทุกครั้งที่มีคำถามเข้ามาหาฟาร์มเกษตรว่า ใส่ปุ๋ยสูตรไหนดี หรือมีปุ๋ยอะไรดีบ้าง ปริมมักจะถามว่า "พี่ตรวจดินหรือยังค่ะ" คำตอบคือ.. "ยังไม่ได้ตรวจ" ส่วนใหญ่แล้ว ตั้งแต่ปลูกพืชมาหรือตั้งแต่ใช้ประโยชน์จากพื้นดินผืนนี้...... ไม่เคยตรวจดินเลยสักครั้ง เวลาจัดยาจัดปุ๋ยเลยต้องจัดให้แบบ...... ยาสามัญประจำบ้าน ไปก่อน โดยที่จะได้ผลหรือไม่ได้ผลก็เสี่ยงดวงจากโครงสร้างของดินที่ตอบสนองต่อยาและปุ๋ยเอาเองอีกทีหนึ่ง

การสังเกตุดินง่ายๆ ว่าดินมีปัญหาหรือไม่ (เกษตรกรส่วนใหญ่ ถ้าไม่เกิดโรคระบาดซะก่อน ก็มองไม่เห็นประโยชน์ของการปรับปรุงดิน) และปัญหามักเกิดจากความไม่สมดุลของดิน.... พอไม่สมดุลก็เกิดปัญหา คือ

- ผลผลิตจะน้อยลง ๆน้อยลงทุกปี ตรงกับข้ามกับการใส่ปุ๋ย ที่ต้องใส่เพิ่มขึ้นทุกปี
- ใส่ปุ๋ยอย่างไร ก็เหมือนต้นพืชไม่ตอบสนองใดๆ ไม่เขียวขึ้น ไม่แตกยอดหรือไม่เจริญเติบโตขึ้นเลย
- มักเกิดโรคระบาดซ้ำๆ ในบริเวณนั้นทุกๆ ปี

หากขาดธาตุรองสำคัญ จะมีอาการเบื้องต้นดังนี้

- ขาดธาตุสังกะสี ยอดอ่อนที่แตกใหม่จะมีสีขาว และลำต้นแคระ
- ขาดโบรอน ตามใบจะหงิก ยอดม้วน
- ขาดธาตุแมกนีเซียม มักเกิดโรครากเน่าโคนเน่า หรือโรคที่เกิดจากเชื้อรา ได้ง่าย และเป็นซ้ำๆ ในบริเวณเดียวกันทุกๆ ปี
- ขาดธาตุแคลเซียม ระบบโครงสร้างของรากอ่อนแอ ต้นล้มได้ง่าย และถ้าเป็นพืชประเภทเอาหัว จะหัวไม่โต และออกหัวไม่มาก

เหล่านี้...เป็นอาการในเบื้องต้นที่สังเกตุกับพืชที่เราปลูกได้ แต่จำไว้เสมอว่า พืชแต่ละชนิดที่ปลูก การแสดงออกหรือตอบสนองต่อดินและปุ๋ยแตกต่างกัน โดยเฉพาะการตอบสนองต่อธาตุอาหารหลักอย่าง NPK นะคะ

อีกตัวที่น่าสนใจคือค่าของ pH หรือความเป็นกรดด่าง

ดินเป็นกรดหมายถึง ดินที่วัดค่า pH ได้ต่ำกว่า 7.00
ดินเป็นกลาง คือ ดินที่วัดค่าได้เท่ากับ 7.0
ดินเป็นด่าง คือดินที่วัดค่าได้มากกว่า 7.0 ขึ้นไป

และค่า pH ที่เหมาะกับการปลูกพืชแล้ว ควรอยู่ในระดับ 5.50-6.50 แต่พืชบางชนิดจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินเป็นกรด เช่น มะพร้าว ละมุด ฝรั่ง และ มะกอก โดยเฉพาะ มะพร้าว ลองสังเกตุว่า มักจะปลูกได้งามในพื้นที่ริมทะเลหรือริมแม่น้ำ และยางพารา เป็นพืชที่ทนต่อดินเป็นกรด โดยสามารถปลูกได้ดีในดินที่มีความกรดอยู่ระหว่าง pH 4.00-5.50 เป็นต้น

ดังนั้น นอกจากการสังเกตุพืชที่เราปลูกแล้ว เราควรรู้พื้นฐานเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับดินและพืชที่เราปลูกด้วยค่ะ

และการตรวจดิน ไม่ได้หมายถึงแค่การเอาเครื่องตรวจ pH ไปจิ้มที่ดินเพียงอย่างเดียว แต่การตรวจดิน เหมือนการวินิจฉัยโรค..ต้องใช้เครื่องมือทดสอบที่ทันสมัยและแม่นยำ ตรวจดินก่อนปลูกพืช ดีกว่าต้องซื้อยารักษาโรคแพงๆ หรือปุ๋ยสารพัดอย่าง แต่พืชก็ยังไม่งามสักทีนะคะ (บริการตรวจดินผ่านระบบออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่เว็บ www.iLab.Asia นะคะ)

เขียนโดย
ปริม-ฟาร์มเกษตร <--- br="" facebook="" style="line-height: 18.2000007629395px;">
สนับสนุนโดย
iLab ตรวจดิน วิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน www.iLab.Asia
ปุ๋ยตรา FK จากฟาร์มเกษตร ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ Law of the minimum

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา