ปุ๋ยอินทรีย์ : เพิ่มผลผลิตพืชได้จริง วันนี้มาทำความเข้าใจการทำงานของมัน


การดูแลดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ และการเลือกใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้ถูกวิธี สร้างผลผลิตพืชได้จริง....

จากบทความก่อนหน้าที่ปริมได้เขียนเกี่ยวกับ "ความสำคัญของอินทรีย์วัตถุ" ไปแล้วนั้น วันนี้มาเจาะลึกลงไปอีกนิด ขอพูดถึงปุ๋ยอินทรีย์ เพียงอย่างเดียวนะคะ

หากเรามองย้อนไปรุ่นปู่รุ่นย่าที่ได้ทำการเกษตรนั้น ต้นทุนต่ำมากเมื่อเทียบความคุ้มค่ากับผลผลิตที่ได้รับ นั่นเป็นเพราะ สมัยก่อนการทำเกษตรไม่ได้เน้นความรีบเร่ง ทำกันเป็นครอบครัว แถมได้ประโยชน์โดยอ้อมเป็นการสร้างความชิดใกล้และความสามัคคีในครอบครัวได้อีก

และที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวคือการรรักษาโครงสร้างของดิน โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ พวกหญ้าในแปลงปลูกที่แผ้วถางด้วยมือ ปล่อยให้หญ้าและวัชพืชแห้งตายภายในแปลง นั่นก็กลายเป็นปุ๋ยพืชสด อินทรีย์ชั้นดีเลยค่ะ...ที่สำคัญเมื่อก่อนทุกบ้านจะเลี้ยงวัว ควาย เป็ด ไก่ ห่าน และหมูหลุม เอาไว้ด้วย ทำให้ได้มูลสัตว์เหล่านั้น... เอามาใส่ในแปลงปลูกทุกๆปี ถึงแม้ว่าในระหว่างการปลูกจะนิยมใช้ปุ๋ยเคมีกันมาก แต่สภาพดินก็ไม่เสีย เพราะได้ปุ๋ยอินทรีย์ สารพัดวิธีที่ได้กล่าวไปแล้วนั่นเอง

เมื่อใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไปในดิน ตัวอินทรียวัตถุจะแทรกอยู่ระหว่างเม็ดดิน ทำให้ดินเหนียวไม่จับกับแน่น ทำให้ดินทราย เกาะกันได้มากขึ้น และหากทุกๆปีเราใส่อินทรีย์ในปริมาณที่เพียงพอ จะทำให้ดินทราย มีคุณสมบัติอุ้มน้ำได้ดีขึ้น และ ดินเหนียว กลายเป็นดินร่วน และระบายน้ำได้ดีขึ้น ให้ความอบอุ่นแก่รากพืช โดยเฉพาะมันสำปะหลัง ถ้ามีการปลูกโดย การรองพื้นด้วยปุ๋ยอินทรีย์ จะทำให้มันสำปะหลังออกรากและมีจำนวนหัวมากขึ้น พร้อมกับดูดอาหารได้ดีขึ้นทำให้หัวโตค่ะ และพืชที่เน้นการลงหัวทุกชนิด ถ้าอยากได้ให้ผลผลิตดี แนะนำเลยว่าต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้น หรือรองก้นหลุมก่อนปลูกจะได้ผลดีค่ะ ถึงแม้ว่า ปุ๋ยอินทรีย์จะให้ธาตุอาหารหลักไม่เท่ากับปุ๋ยเคมี แต่ก็ให้ธาตุรองและจุลธาตุมากมาย พร้อมกับช่วยเรื่องการปรับโครงสร้างของดินไม่ให้เป็นกรด-ด่าง จากการใช้ปุ๋ยเคมีด้วย ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตขึ้นมาใช้เอง ส่วนใหญ่จะมีความชื้นสูง เนื่องจากมีอินทรียวัตถุในปริมาณที่มาก ทำให้ปุ๋ยชื้นง่าย และไม่นิยมนำมาคลุกกับปุ๋ยเคมี เพราะหว่านยาก แต่ปุ๋ยอินทรีย์ตามข้อกำหนดของกรมวิชาการเกษตร มักจะกำหนดค่าความชื้นไว้ไม่เกิน 30%ของน้ำหนัก ทำให้ปุ๋ยอินทรีย์ส่วนใหญ่ที่มีขายตามท้องตลาดเม็ดจะแข็งและละลายช้าดังนั้น.....

ข้อควรจำ.... คือเพื่อลดการสูญเสียคุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์เวลาใช้ควรอยู่ใต้ดิน หรือคลุกเคล้าไปกับดิน หรือเป็นการรองพื้นจะดีที่สุดค่ะ เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ไม่มีธาตุอาหารหลัก (NPK) เพียงพอต่อความต้องการในสร้างสร้างการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตของพืช หากนำปุ๋ยอินทรีย์มาหว่านพืชหมุนเร็วอายุสั้น จะได้ผลตอบสนองช้า.. แต่หากใส่ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดินจะได้ผลดีกว่ามาก ลดการสูญเสียเผาไหม้จากแสงแดด ลดการชะล้างจากน้ำฝน สำหรับไม้ยืนต้นหรือพืชอายุยาว ๆ สามารถนำปุ๋ยอินทรีย์มาใช้ในระยะพักตัวได้ ช่วยปรับโครงสร้างของดินและเตรียมความพร้อมของดินสำหรับการหว่านปุ๋ยเคมีต่อไป

ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยเคมี..มีประโยชน์มากมายต่อพืช..แต่ต้องรู้จักวิธีการใช้ให้เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิดด้วยนะคะ...

เขียนโดย
ปริม-ฟาร์มเกษตร <-- facebook="" link="" p="">
สนับสนุนโดย
iLab ตรวจดิน วิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน www.iLab.Asia
ปุ๋ยตรา FK จากฟาร์มเกษตร ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ Law of the minimum


Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา