พืชโตช้า พืชใบเหลือง เพราะขาด แมกนีเซียม (Mg) สังเกตุได้ยาก ตรวจดิน วิเคราะห์ค่าธาตุอาหารพืชในดิน หรือเลือกให้ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ให้ครบถ้วน ก็ได้เช่นกัน

อาการใบเหลืองของพืช ใบสีน้ำตาล ใบไหม้ พืชโตช้า เกิดได้จากหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น การขาดธาตุหลักอย่าง ไนโตรเจน (N) แน่นอนว่าพืชใบเหลือง แต่หากเราให้ปุ๋ยธาตุหลักอย่างต่อเนื่องแล้ว พืชยังใบเหลือง โตช้า ก็ยังมีอีกหลายสาเหตุ เช่น การขาดธาตุรอง ธาตุเสริมต่างๆ ก็ทำให้พืชใบเหลือง หรือใบเป็นจุดสีน้ำตาลคล้ายโรคใบไหม้ ที่มีสาเหตุจากเชื้อราได้เช่นกัน เนื่องจากการทำงานของธาตุต่างๆในพืชนั้น หลายธาตุมีความสอดคล้องกัน เกี่ยวเนื่องกัน เช่น แมกนีเซียม (Mg) จะเป็นตัวนำพา ฟอสฟอรัส (P) เมื่อขาด แมกนีเซียม พืชก็อาจนำฟอสฟอรัสไปใช้งานไม่ได้ หรือได้ไม่เต็มที่ ส่งผลต่อระบบราก ก็อาจจะทำให้พืชดูดกินอาหารได้ไม่ดี ทำให้โตช้า ขาดธาตุ ใบเหลือง แต่การจะรู้ให้แน่ชัดได้นั้น 

การ ตรวจดิน หรือตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารต่างๆในดิน จะทำให้เราทราบได้ชัดเจนที่สุด เมื่อทราบค่าธาตุอาหารต่างๆ เราก็จะแก้ปัญหาพืชได้ตรงจุด ประหยัดเวลา ลดค่าใช้จ่าย และได้ผลผลิตที่ดีขึ้น

แมกนีเซียม เป็นธาตุอาหารพืชที่มีความจำเป็น มีบทบาทหลากหลาย ในกระบวนการทำงานของพืช แมกนีเซียม (Mg) มีบทบาทสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสง การที่พืชขาดธาตุ แมกนีเซียม นั้น จะส่งผลกระทบในทางลบ ต่อการเจริญเติบโตของพืช ในบทความนี้ จะอธิบายว่า เหตุใด ธาตุแมกนีเซียม จึงสำคัญต่อพืชผล และเราสามารถจะให้แมกนีเซียมกับพืชได้อย่างไร


แมกนีเซียม (Mg) คืออะไร?

ธาตุอาหารในดิน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ธาตุหลัก ธาตุรอง และ ธาตุเสริม ในส่วนของ แมกนีเซียม (Mg) นั้น จัดอยู่ในกลุ่ม ธาตุรอง ซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับ แคลเซียม (Ca) และ กำมะถัน (S)

แมกนีเซียม เป็นธาตุที่เคลื่อนที่ได้ ซึ่งมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของพืชเป็นอย่างมาก ปริมาณของแมกนีเซียมอาจจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของดิน โดยปกติทั่วไปแล้ว ในดินทรายเขตร้อน จะมีปริมาณ แมกนีเซียม (Mg) ต่ำกว่า บริเวณ ที่ลุ่มทะเล ดินพรุ ดินเค็ม ในส่วนของ ดินเหนียว มักจะมี แมกนีเซียม ในประมาณที่สูงกว่า

พืช.. ใช้แมกนีเซียม (Mg) อย่างไร?

ธาตุแมกนีเซียม สำคัญต่อทุกช่วงอายุการเจริญเติบโตของพืช และทำหน้าที่หลายอย่างภายในพืช เป็นส่วนประกอบหลักของ คลอโรฟิลล์ ซึ่งทำหน้าที่ดูดซับแสงแดด ในขณะที่พืชทำการสังเคราะห์แสง แมกนีเซียม (Mg) เป็นตัวพา ฟอสฟอรัส (P) ในพืช และจำเป็นต่อการเผาผลาญฟอสเฟต

นอกจากนี้.. แมกนีเซียม ยังจำเป็นต่อการแบ่งเซล และการสร้างโปรตีนกระตุ้นการทำงานของ เอนไซม์ หลายชนิด และยังเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นต่อการหายใจของพืช ในระยะสั้นหากไม่มีแมกนีเซียม คลอโรฟิลล์ จะไม่สามารถจับพลังงานจากแสงอาทิตย์ เพื่อสังเคราะห์แสง ที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญ คาร์โบไฮเดรต ตลอดไปจนถึง พืชไม่สามารถรักษาเสถียรภาพของเยื่อหุ้มเซลได้

พืชขาด แมกนีเซียม สังเกตุได้อย่างไร?

การขาดแมกนีเซียม มักพบในดินที่ทำเกษตรซ้ำๆ ในทุกๆปี แต่ก็ อาจจะเกิดจากการผุกร่อนของดิน มักเกิดในดินทรายที่ถูกชะล้างอย่างรุนแรง และในดินที่เป็นกรด

พืชที่ขาดแมกนีเซียม จะแสดงอาการที่ใบล่าง และใบแก่ ก่อนที่อาการจะปรากฎในใบที่ใหม่กว่า

- พืชจะโตช้า ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง โดยเฉพาะที่ขอบด้านนอก 

- ใบที่เติบโตใหม่ อาจจะกลายเป็นสีเหลือง มีจุดด่างดำ

- จุดสีม่วง หรือ จุดสีแดง บนใบ 

- ใบพืชที่โดนแสงความเข้มสูง จะแสดงอาการมากกว่าใบอื่นๆ

แมกนีเซียม เป็นธาตุที่จำเป็นต่อการปลูกพืชเป็นอย่างมาก แต่มักจะถูกมองข้ามความสำคัญ เพราะโดยมากแล้ว คนจะมุ่งไปที่ ธาตุ N, P, K หรือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแตสเซียม การขาด แมกนีเซียม จะสั่งเกตุเห็นโดยตรงได้ยาก ต่างกับการขาด N P K ที่สังเกตุได้ง่ายกว่า แต่ การขาดแมกนีเซียม ส่งผลกับการเจริญเติบโตของพืช ให้พืชโตช้า ผลผลิตน้อย การ ตรวจค่า แมกนีเซียม (Mg) ในดิน เป็นอีกทางเลือก สำหรับผู้ต้องต้องการทราบอย่างชัดเจน ว่าปริมาณ แมกนีเซียม ที่มีในดินนั้น เพียงพอต่อความต้องการของพืชหรือไม่

เหตุใด การรู้ปริมาณ แมกนีเซียม (Mg) ในดิน จึงสำคัญ?

เรามักจะเติมธาตุอาหารให้กับดิน โดยการปุ๋ย ธาตุหลัก ที่ประกอบด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแตสเซียม (N-P-K) และให้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อเพิ่ม ปริมาณอิทรีย์วัตถุ (OM) ให้กับดิน ในพื้นที่ ที่มีการเพาะปลูกซ้ำๆ จึงมักจะขาด แมกนีเซียม (Mg) เพราะโดนใช้ออกไปในปริมาณมาก แต่ไม่เคยเติมให้กับดินเลย 

นอกจาก แมกนีเซียม จะถูกชะล้างไปอย่างมาก ในฤดูที่ฝนตกหนักแล้ว การชะล้างแมกนีเซียม ยังได้รับอิทธิพลจาก ความเป็นกรดของดิน ความเข้มข้นของ ปูน (Ca) และความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (CEC) ที่ได้รับผลกระทบจากค่า OM (Organic Matter : ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน) และ เปอร์เซ็นของดินเหนียว สิ่งนี้แสดงให้เห็น ถึงความจำเป็นของการ ตรวจดิน การทดสอบดิน เพื่อให้ทราบปริมาณ ธาตุอาหารในดินก่อนการปลูกครั้งถัดไป ไม่เพียงแต่ค่าของ แมกนีเซียม (Mg) เท่านั้น แต่ยังรวมถึงค่าอื่นๆ ที่มีผลต่อความพร้อมของ แมกนีเซียมด้วย

FK-1 ประกอบด้วย 

N-P-K Mg Ca Zn

(ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแตสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม สังกะสี)

สั่งซื้อสินค้าได้ที่ http://www.farmkaset.org/html5/customer_update_add_self.aspx

ดูโบรชัวร์ ข้อมูลรายะเอียดสินค้า คลิกที่นี่
หรือโทรสั่งซื้อได้ที่ 090-592-8614 
หรือไลน์ไอดี FarmKaset
หรือสั่งซื้อที่เพจ ฟาร์มเกษตร https://www.facebook.com/farmkaset/  
หรือที่ ช็อปปี้ https://shopee.co.th/tanabutrbuakaew

อ้างอิง

agrocares.com/en/news/magnesium/

allotment-garden.org/vegetable/how-to-grow-your-own-tomatoes/tomato-troubles-diseases-causes-cures/tomatoes-magnesium-deficiency/

Comments

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา