การปลูกมันสำปะหลัง ครบทั้งโซลูชั่น สำหรับผู้ที่ต้องการ เพิ่มผลผลิตเต็มรูปแบบ

ในความเป็นจริงแล้ว การปลูกมันสำปะหลัง หรือจะเป็นพืชอื่นใดก็แล้วแต่ ผลผลิตที่ดีนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ หลายคนเข้าใจผิด หรืออาจจะมีความเข้าใจอยู่แล้ว แต่ไม่ได้ทันฉุกคิดว่า การปลูกพืชนั้นมีปัจจัยใดๆบ้าง ที่จะทำให้ได้ผลผลิตที่ดี แน่นอน ปุ๋ยเป็นธาตุอาหารพืชที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง หากผู้ปลูกมันสำปะหลัง ได้ปุ๋ยที่ดีแล้ว ผลผลิตของเราก็ย่อมเพิ่มขึ้นแน่นอน แต่ทว่า.. การดึงประสิทธิภาพปุ๋ยออกมาก ให้ทำงานได้สูงสุดนั้น (รวมถึงยาปราบศัตรูพืช และยารักษาโรคต่างๆด้วยเช่นกัน) การบริหารจัดการ ของผู้ปลูกเอง มีความสำคัญมากที่สุด ต่อผลผลิตที่ได้ จึงเป็นที่ไม่นาแปลกใจเลย ที่เจ้าของไร่มันสำปะหลัง ที่ใช้ปัจจัยการผลิตเหมือนกันทั้งหมด แต่กลับได้ผลผลิตที่มากน้อยต่างกัน ทั้งนี้ สภาพดิน สภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำ ทิศทางน้ำ ช่วงเวลาการให้ธาตุอาหารพืชหรือการให้ปุ๋ย และระบบการจัดการแปลง ล้วนแล้วแต่กระทบกับผลผลิตทั้งสิ้น

ปัจจัยต่อผลผลิตมันสำปะหลัง ที่เรากำหนดไม่ได้

- สภาพภูมิอากาศ : ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ ปริมาณแสงแดด

ปัจจัยต่อผลผลิตมันสำปะหลัง ที่เรากำหนดไม่ได้ แต่ปรับปรุงแก้ไขได้

- สภาพภูมิประเทศ : ที่ราบสูง ที่ราบลุ่ม ที่เชิงเขา ทิศทางการไหลของน้ำ โดยปกติแล้ว สังเกตุได้ว่า ที่ราบที่ไม่เสมอกัน สูงต่ำต่างๆกัน พื้นที่ที่ต่ำกว่าพื้นที่โดยรอบเล็กน้อย หัวมันสำปะหลังจะโตกว่า ได้น้ำหนักดี เปอร์เซ็นแป้งสูงกว่า เนื่องจากฝนจะชะล้างธาตุอาหาร หรือปุ๋ยจากหน้าดิน มารวมกันในที่ต่ำกว่า (ถ้าน้ำไม่ท่วมขังจนทำให้หัวมันสำปะหลังเน่า เสียหาย) การยกร่องปลูกแบบขวางตะวัน คือการยกร่องให้มีความยาวของร่อง จากทิศเหนือสู่ทิศใต้ ให้ดวงอาทิตย์ขึ้น และอาทิตย์ตกข้ามร่องปลูก จะช่วยเพิ่มผลผลิตได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากต้นมันสำปะหลังในแต่ละร่องจะช่วยบังแดดให้ส่องถึงดินเป็นระยะเวลาที่สั้นลง ช่วยลดการสูญเสียความชื้นในร่องดินระหว่างวันได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งอาจจะทำไม่ได้ ต้องดูทิศทางการไหลของน้ำเป็นหลัก หากไม่ติดอะไร การยกร่องปลูกขวางตะวัน เป็นอีกทางเลือกที่ดี

- สภาพดิน : ชนิดของดิน สภาพความเป็นกรดด่างของดิน ธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง ผู้อ่านสังจะสังเกตุได้ว่า ในบางครั้ง เราอาจจะให้ปุ๋ยธาตุหลัก รวมถึงปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆกับพืชอย่างเต็มที่ แต่พืชกลับไม่เจริญเติบโตได้ดีเท่าที่ควร สาเหตุเป็นเพราะว่า พืชดูกินอาหารเข้าไปใช้ในการเจริญเติบโตได้อย่างไม่เต็มที่ เพราะ ค่า pH หรือความเป็นกรดด่าง และ ธาตุอาหารบางตัว เช่นธาตุรอง ธาตุเสริมต่างๆ ที่ดินขาดไปแค่บางตัว จะจำกัดการเจริญเติบโตของพืช ตามกฎต่ำสุด (Liebig's law of the minimum ของ Liebig) สำหรับผู้อ่าน ที่ต้องการแก้ปัญหา และต้องการทราบสภาพของดิน ความเป็นกรด่าง และธาตุอาหารพืชต่างๆ ที่มีอยู่ในดิน ว่าเพียงพอต่อความต้องการของพืชหรือไม่ สามารถเก็บตัวอย่างดินส่งเข้าตรวจที่ FK iLab ได้อย่างสะดวกสบาย เพียงแค่เลือกค่าที่ต้องการตรวจบนหน้าเว็บไซต์ และส่งดินไปที่ห้องตรวจวิเคราะห์ทางไปรษณีย์ และรออ่านผลตรวจ พร้อมคำแนะนำทางหน้าเว็บไซต์ ได้ที่ farmkaset.org/ilab

- ธาตุอาหารพืช : ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตที่ดีของพืชนั้น หลักๆแล้วแบ่งเป็นสามกลุ่ม คือ ธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุเสริม การให้ธาตุอาหารพืช ให้สอดคล้องกับช่วงอายุของมันสำปะหลังนั้น กระทบต่อผลผลิตได้มากพอสมควร การให้ปุ๋ยในปริมาณเท่ากัน แต่เลือกช่วงเวลาการให้ปุ๋ยต่างกัน จะทำให้ได้ผลผลิตต่างกันเป็นอย่างมาก เนื่องจากมันสำปะหลังในแต่ละช่วงอายุ ต้องการธาตุอาหารมากน้อยต่างกัน และต้องการธาตุอาหารที่เน้นหนักคนละชนิดกัน ในแต่ละช่วงอายุการเจริญเติบโต ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น ในระยะงอก ระยะพัฒนาทรงพุ่ม มันสำปะหลังต้องการ ธาตุไนโตรเจนมากที่สุด ส่วนในระยะสะสมอาหาร ขยายขนาดหัวมันสำปะหลัง เพิ่มเปอร์เซนต์แป้ง มันสำปะหลังต้องการ ธาตุโพแตสเซียม มากกว่า ธาตุไนโตรเจน หากในช่วงนี้ เราไปให้ไนโตรเจนมาก เช่นใช้ปุ๋ยสูตรตัวหน้าสูง ตัวหลังต่ำ จะกลายเป็นว่า มันสำปะหลังขึ้นใบเยอะต้นโต แต่ลงหัวน้อย หัวไม่โต ไม่ได้น้ำหนัก เปอร์เซ็นแป้งไม่ดี เป็นต้น

ปัจจัยต่อผลผลิตมันสำปะหลัง ที่เรากำหนดได้

- การบริหารจัดการ : เริ่มตั้งแต่การวางแผนงบประมาณ วางผังแปลง การจัดการคน ทำเอง แรงงาน การจัดการดิน น้ำ กำหนดระยะห่างระหว่างต้น ระหว่างร่อง การยกร่อง  เวลาที่จะเริ่มปลูก ระยะเวลาที่ใช้ และอื่นๆอีกมากมาย

- ปัจจัยการผลิตพืช : เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ รถไถ ผานไถ รถทำรุ่นหญ้า รถไถเดินตาม จอบ เสียม มีด พร้า สารปรับโครงสร้างดิน ปุ๋ยรองพื้น น้ำยาแช่ท่อนพันธุ์ ปุ๋ยเร่งโต ปุ๋ยเร่งผลผลิต

การปลูกมันสำปะหลัง

สำหรับดินที่ผ่านการเพาะปลูกมาหลายๆรอบแล้ว โดยเฉพาะพืชไร่ อย่างเช่น อ้อย มันสำปะหลัง เป็นพืชที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง นั่นแสดงว่า มีการนำธาตุอาหารในดินที่ปลูกออกมาใช้มาก ในทุกๆปี แต่เราเติมกลับลงไปเป็น ปุ๋ยเคมี ที่มีเฉพาะ ธาตุหลัก N-P-K ส่วนปุ๋ยอินทรีย์ แม้จะให้ธาตุอาหารพืชหลากหลาย แต่ก็ให้ได้ในปริมาณที่น้อยๆ ในแต่ละธาตุ และบางธาตุที่จำเป็น ที่มันสำปะหลังต้องใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ก็ให้ไม่ได้ หรือให้ได้ไม่เพียงพอ ธาตุอาหารที่มันสำปะหลัง และพืชอื่นๆจำเป็นต้องใช้ในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต มีเยอะมาก ดูตามตารางรายการธาตุอาหารพืชได้ที่ FK iLab สองธาตุรอง ที่มักพบปัญหาการขาดอยู่บ่อยๆ คือ แคลเซียม Ca และ แมกนีเซียม Mg เพราะเราปลูกพืชทุกปี ใส่แต่ปุ๋ย N-P-K ไม่เคยได้เติมธาตุรองสองตัวนี ปีแรกๆที่ปลูกมันสำปะหลัง ผลผลิตดี ปีต่อๆมา ผลผลิตลดน้อยลงเรื่อยๆ ดินก็เริ่มเป็นกรด ในขั้นตอนการเตรียมดิน ไถพรวนดิน ใช้ แมทเทอร์ แมกซ์ ไถพรวนลงไปด้วย ในอัตราส่วน 50 กิโลกรัมต่อไร่เป็นอย่างน้อย

สารปรับปรุงดิน ปลูกมันสำปะหลัง

การยกร่องปลูก : ให้ระยะห่างระหว่างต้น 1 เมตร มันสำปะหลังจะได้มีพื้นที่แทงหัว ปลูกชิดไปหัวจะสั้น เล็ก ระหว่างร่อง ประมาณ 1.30 เมตร เพื่อความสะดวก ในการนำรถทำรุ่นหญ้าเข้าร่อง ขณะยกร่อง ใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ วันเดอร์ ดำ เป็นปุ๋ยรองพื้น (สามารถหว่านก่อนยกร่อง หรือใส่กับเครื่องหยอดปุ๋ยหลังรถไถ ตอนยกร่องก็ได้เช่นกัน)

ปุ๋ยรองพื้น มันสำปะหลัง ปุ๋ยอินทรีย์

ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง : ตัดท่อนพันธุ์ยาวประมาณ 30-40 ซม.  ตัดเสร็จแล้ว จุ่มท่อนพันธุ์ด้วย กู๊ดโซค น้ำยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง 5 นาที ก่อนยกขึ้นปลูก ปักลงดินประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวท่อนพันธุ์ที่ปลูก

น้ำยาแช่ท่อนพันธุ์ มันสำปะหลัง
กู๊ดโซค น้ำยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง
ผสม 500 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

เมื่อมันสำปะหลังอายุได้ 7-14 วันหลังปลูก สามารถฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง ให้แตกยอดแตกใบเร็วขึ้น พร้อมที่จะพัฒนาทรงพุ่ม สร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลง สามารถฉีดพ่นเพียงครั้งเดียว หรือฉีดพ่นทุก 15-30 วันก็ยิ่งดี ตามแต่งบประมาณ หรือต้นทุนต่อผลผลิต ที่ผู้อ่านได้คำนวณจุดคุ้มทุนไว้
ปุ๋ยน้ำ สำหรับ มันสำปะหลัง เร่งโต
FK-1 ฉีดพ่นทางใบ แกะกล่องออกมามี 2 ถุง
ใช้พร้อมกัน ถุงละ 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
หรือ 500 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร

เมื่อมันสำปะหลัง อายุได้ 3-4 เดือน หรือสังเกตุได้ว่า มันเริ่มลงหัวแล้ว ในเงื่อนไขที่ มีต้นและทรงพุ่มที่สมบูรณ์ แข็งแรง ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมี เพอร์เฟค พี สูตร 5-3-14 เพื่อระเบิดหัวมันสำปะหลัง เพื่อเพิ่มผลผลิต เพิ่มเปอร์เซ็นต์แป้ง ขยายขนาดหัว เพิ่มน้ำหนัก ในอัตราส่วน 50 กิโลกรัมต่อไร่ ควรใส่หลังจากทำรุ่นหญ้า หรือพร้อมกับการทำรุ่นหญ้า ปุ๋ยสูตรนี้ จะให้ไนโตรเจนน้อย ให้โพแตสเซียมมาก จะสังเกตุได้ว่า ใส่แล้ว ความเขียวของใบไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก เว้นแต่เราฉีดพ่น FK-1 ต่อเนื่อง แต่ผลของการให้ปุ๋ยเพอร์เฟคพีนี้ จะทำให้มันสำปะหลังมีขนาดหัวใหญ่ขึ้น และได้น้ำหนักดี เปอร์เซ็นแป้งที่สูงขึ้น

ปุ๋ยระเบิดหัวมันสำปะหลัง ปุ๋ยเร่งหัวมันสำปะหลัง

หลังจากหว่านปุ๋ย เพอร์เฟค พี เพื่อระเบิดหัวมันสำปะหลังแล้ว 7 วันเป็นต้นไป ฉีดพ่นด้วย FK-3C ปุ๋ยทางใบสำหรับเร่งขยายขนาดหัวมันสำปะหลัง เพื่อส่งเสริมกระบวนการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาล มาสะสมที่หัวมันสำปะหลัง ทำให้หัวมันสำปะหลังขนาดโตขึ้น น้ำหนักดี เปอร์เซ็นแป้งสูง FK-3C ประกอบด้วย ธาตุหลัก ที่เน้น โพแตสเซียมมากเป็นพิเศษ ในสูตร 5-10-40 และยังประกอบด้วย แมกนีเซียม แคลเซียม และ สังกะสี สารสังเคราะห์คลอโรฟิล ทำให้ให้กระบวนการปรุงอาหาร และลำเลียงอาหาร ของมันสำปะหลัง ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ได้ผลผลิตเต็มที่
ปุ๋ยน้ำ เร่งหัวมันสำปะหลัง
FK-3C ฉีดพ่นทางใบ แกะกล่องออกมามี 2 ถุง 
ใช้พร้อมกัน ถุงละ 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร 
หรือ 500 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร


อีกปัจจัยภายนอก ที่ยากจะควบคุม คือการระบาดของเพลี้ย แมลงศัตรูพืช มาคา ยาอินทรีย์กำจัดเพลี้ย และแมลงจำพวกปากดูดต่างๆ สกัดจากพืช 5 ชนิด ออกฤทธิ์ ฆ่า ไล่ ป้องกัน และออกฤทธิ์แบบไม่จำเพาะเจาะจง ทำให้เพลี้ย แมลง สับสน ปรับตัวไม่ทัน จึงต้านทานต่อตัวยาไม่ได้ และตายลงในที่สุด (ควรผสมฉีดพ่นไปพร้อมกับ FK-1)

ยาฆ่าเพลี้ย มันสำปะหลัง
มาคา ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ย แมลงปากดูดหลายชนิด
ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ


โรคมันสำปะหลังใบไหม้ ใบจุดสีน้ำตาล โรคมันสำปะหลังที่มีสาเหตุจากเชื้อรา รักษาด้วย ไอเอส ยาอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งเชื้อรา ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ (ควรผสมฉีดพ่นไปพร้อมกับ FK-1)

ยารักษา มันสำปะหลังใหม้ ยาแก้โรครามันสำปะหลัง
ไอเอส ยาอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคใบไหม้
และโรคพืชต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
เทคโนโลยี ion control

สั่งซื้อ
โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี FarmKaset
หรือทักแชทที่เพจ ฟาร์มเกษตร

ไอเอส 450 บาท บรรจุ 1 ลิตร มาคา 470 บาท บรรจุ 1 ลิตร ไอกี้ 490 บาท บรรจุ 500 กรัม FK-1 890 บาท บรรจุ 2 กิโลกรัม
FK-3C 950 บาท บรรจุ 2 กิโลกรัม
ดูราคาสินค้าทั้งหมดที่ www.FKX.asia

อัตราการการใช้
ยาชนิดน้ำ 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ยาชนิดผง 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

Comments

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา