โรคมันสำปะหลัง ใบไหม้ ใบเหลือง ใบด่าง แก้ปัญหา มันสำปะหลังโตช้า แคระแกรน ดูแลมันสำปะหลังให้ โตไว สมบูรณ์ แข็งแรง

โรคที่พบในมันสำปะหลัง ที่พบโดยมากแล้ว มีสาเหตุการระบาดของ โรคมันสำปะหลัง จาก เชื้อรา เชื้อไวรัส การระบาดของโรค หลักๆแล้วมาปลิวมากับลม กับฝน กับทางน้ำ และ ระบาดมากับแมลงพาหะ เว้นแต่ การขาดธาตุ มีสาเหตุจากการให้ปุ๋ย หรือธาตุอาหารไม่เพียงพอ หากว่าให้ปุ๋ยเยอะแล้ว ยังมีอาการขาดธาตุ อาจเกิดจาก ปุ๋ยที่ให้นั้น ไม่ได้ประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่มันสำปะหลังต้องการใช้ในการเจริญเติบโต


โรคใบด่างมันสำปะหลัง ยังไม่มียารักษาโดยตรง
โรคใบด่างมันสำปะหลังนั้น มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโดยตรง ทำได้เพียงการป้องกันกำจัดแมลงพาหะ เช่นพวกเพลี้ยต่างๆ ที่เป็นแมลงศัตรูของมันสำปะหลัง มาคา เป็นสารอินทรีย์ สำหรับป้องกันกำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืช แมลงพาหะ

โรคมันสำปะหลังที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ใช้ยาป้องกันกำจัดโรคพืชจากเชื้อราได้
ยกตัวอย่างเช่น โรคมันสำปะหลังใบไหม้ โรคใบจุดมันสำปะหลัง อาการใบเหลืองขอบใบแห้ง โรคแอนแทรคโนสมันสำปะหลัง ไอเอส เป็นสารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ

โรคมันสำปะหลัง ที่เกิดจากการขาดธาตุ 
อาจจะแสดงอาการใบเหลือง ที่ไม่มีอาการไหม้ร่วมด้วย ต้นมันสำปะหลังแคระ โตช้า ลงหัวน้อย ต้นไม่สมบูรณ์ หัวมันสำปะหลัลีบ เล็ก อ่อนแอต่อโรคและแมลง

การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง
หากมันสำปะหลังมีความเจริญเติบโต มีความสมบูรณ์ ทรงพุ่มดี ใบเขียว แข็งแรง สองเดือนกว่าๆ มันสำปะหลังจะเริ่มเป็นหัว ในช่วงระยะแรกปลูก จนถึงสามเดือน การให้ปุ๋ยมันสำปะหลังนั้น ควรเป็นปุ๋ยที่ประกอบไปด้วย ธาตุหลัก N-P-K ที่สมดูลย์ และ ธาตุรอง ธาตุเสริมต่างๆไปพร้อมกันด้วย เพื่อให้มันสำปะหลัง ได้พัฒนาการเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ ฟอสฟอรัส จะช่วยพัฒนาระบบราก ไนโตรเจน จะพัฒนาการแตกยอดใบ การเจริญเติบโต การพัฒนาทรงพุ่ม เพิ่มความเขียวของใบ ให้สังเคราะห์แสงได้ดี ธาตุเสริมต่างๆ ช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ให้กับมันสำปะหลัง

หลัง 3 เดือน ต้องเปลี่ยนสูตรปุ๋ย ระวังมันบ้าใบ (ใบเยอะไม่ดีจริงหรือ?)
แน่นอนว่า แรกปลูกถึง 3 เดือน เราต้องเร่งให้มันสำปะหลังโตไว ใบงาม ทรงพุ่มดีที่สุด หากใบไม่เยอะ ไม่เขียว ทรงพุ่มเล็ก ก็สังเคราะห์แสงปรุงอาหารได้ไม่ดี หัวมันสำปะหลังจะไม่โต หลายท่านกลัวว่า มันบ้าใบ ใบเยอะ ใบงาม แล้วหัวมันสำปะหลังจะไม่โต เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ใบเยอะ ใบงาม ต้นสมบูรณ์นั้น เป็นสัญญานที่ดี แต่หลังสามเดือน การให้ปุ๋ยนั้น เราต้องเปลี่ยนสัดส่วนของสูตรปุ๋ย ปุ๋ยที่มีค่าธาตุอาหารตัวหน้า หรือ ไนโตรเจนในเปอร์เซ็นที่ลดลง ให้ธาตุอาหารตัวหลัง หรือ โพแทสเซียมที่สูงขึ้น ตัวอย่างเช่น 

N-P-K 
คือ 
ไนโตรเจน-ฟอสฟอรัส-โพแตสเซียม
จำง่ายๆ
N ต้น - P รากและดอก - K ผล

แรกปลูกถึง สามเดือนเราฉีดพ่น FK-1 ที่มีสูตรเป็น N-P-K เป็น 20-20-20 เพื่อพัฒนาทุกส่วนของมันสำปะหลังไปพร้อมๆกัน

มันปะหลังอายุ 3 เดือนขึ้นไป เราต้องลด ธาตุไนโตรเจน และไปเพิ่มธาตุ โพแทสเซียมให้สูงขึ้น เพื่อให้มันสำปะหลัง ชะลอการขึ้นต้นขึ้นใบ ย้ายอาหารและพลังงานไปสะสมเป็นหัวแทน ทำให้หัวใหญ่ น้ำหนักดี เพราะ โพแทสเซียมนั้น ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาล ไปสะสมเป็นหัวมันสำปะหลัง เราจึงควรเปลี่ยนไปฉีดพ่น FK-3C สำหรับเร่งการเจริญเติบโตหัวมันสำปะหลัง 

ซึ่ง FK-3C นั้น มีสูตร N-P-K เป็น 5-10-40 จะเห็นได้ว่า ออกแบบมาเพื่อเน้นให้ ธาตุอาหาร ไนโตรเจนเพื่อรักษาความเขียวของใบ 5% ให้ ฟอสฟอรัส 10% เพื่อพัฒนาระบบรากให้ดูดกินอาหารได้ดีต่อเนื้อง และเน้นพิเศษที่ ธาตุโพแทสเซียมถึง 40% เพื่อ ส่งเสริมการลงหัวมันสำปะหลังโดยเฉพาะ ทำให้หัวโต น้ำหนักดี

สรุปโดยสังเขป

FK-1 เร่งโต สร้างความสมบูรณ์
สำหรับเร่งโต แตกยอดใบ ขยายทรงพุ่มมันสำปะหลัง เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง

ไอเอส แก้รา ใบไหม้ ใบจุด
สารอินทรีย์ป้องกัน และยับยั้งโรคพืช จากเชื้อรา ทำให้เชื้อราฝ่อ ตาย ไม่สามารถลุกลามต่อไปได้ สำหรับ โรคมันสำปะหลัง ใบจุด ใบไหม้ ราน้ำค้าง ราสนิม แอนแทรคโนส

FK-3C เร่งผลผลิต ระเบิดหัวมันสำปะหลัง
ใช้ฉีดพ่นมันสำปะหลังอายุ 3 เดือนขึ้นใบ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของหัวมันสำปะหลัง

มาคา สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดเพลี้ยต่างๆ
ป้องกันกำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืชจำพวกปากดูดต่างๆ (กำจัดแมลงจำพวกปากกัด แมลงปีกแข็งต่างๆไม่ได้)

ไอกี้-บีที
ป้องกันกำจัดหนอนต่างๆ ปลอดภัย เป็นสารชีวินทรีย์ (ชีวภาพ BT)

กรุณากดเล่นวีดีโอด้านล่างนี้ เพื่อดูรูปภาพ และรายละเอียดสินค้าแต่ละตัวข้างต้น


การสั่งซื้อ เราส่งฟรีถึงบ้าน ชำระเงินปลายทาง
สามารถเลือกช่องทางที่สะดวกได้ดังนี้

โทร 090-592-8614

ไลน์ไอดี https://line.me/ti/p/~FarmKaset 

สั่งซื้อโดยตรงกับ ฟาร์มเกษตร คลิกที่นี่

สั่งซื้อกับ ลาซาด้า คลิกที่นี่ (มีให้กดเลือกว่าจะซื้อสินค้าตัวไหน)

สั่งซื้อกับ ช้อปปี้ คลิกที่นี่ (มีให้กดเลือกว่าจะซื้อสินค้าตัวไหน)


เลือกดูสินค้าทั้งหมดของเรา ที่ใช้กับทั้ง พืชไร่ พืชสวน ไม้ดอก ไม้ประดับ และพืชต่างๆ จาก



Comments

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา