พืชแคระ พืชโตช้า พืชใบเหลือง พืชไม่ออกดอก พืชไม่ออกผล เพราะขาดธาตุอาหารพืชที่จำเป็น


ปัญหาพืชแคระ โตช้า

มีความเป็นไปได้ที่เกิดจากโรคพืชต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา หรือ เชื้อไวรัส ในกรณีที่โรคพืช เข้าทำลายระบบราก ทำให้รากเน่า โคนเน่า พืชจะทรุดตัวอย่างรวดเร็ว และแห้งตายในเวลาไม่นาน หากไม่ได้รับการแก้ไข อย่างทันท่วงที

แต่อาการพืชแคระ พืชโตช้า อาการใบเหลืองอ่อน ไม่เขียว ออกดอกน้อย ติดผลไม่ดี ดอกร่วงง่าย ผลไม่ดก ผลไม่โต ผลไม่สมบูรณ์ เหล่านี้ มักเกิดจากการขาดธาตุอาหารพืช

ใส่ปุ๋ยเยอะ ใส่ตลอด แต่พืชก็ยังแคระ ไม่เคยขาดปุ๋ยเลย จะขาดธาตุได้อย่างไร?

ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชนั้น มีหลายธาตุ ที่พืชต้องการ ธาตุหลัก เป็นธาตุที่พืชต้องการมากกว่า ธาตุอื่นๆ มีอยู่ 3 ธาตุ คือ
N หรือ ไนโตรเจน 
P หรือ ฟอสฟอรัส
K หรือ โพแตสเซียม

ปุ๋ยทั่วๆไป โดยมากแล้ว ก็จะให้อยู่ 3 ธาตุนี้เป็นหลัก ซึ่งก็ถูกต้อง เนื่องจาก ธาตุอาหารอื่นๆ อาจมีอยู่เพียงพอในดิน พืชยังนำไปใช้ไม่หมด แต่ก็จะน้อยลงไปทุกปี

หลายปีผ่านไป ธาตุรอง ธาตุเสริมหมด แต่เรายังคงเติมแต่เฉพาะ ธาตุหลัก N-P-K 
แนนอน.. พืชได้รับ N, P, K มากมายอย่างเหลือเฟือ แต่กลับนำไปใช้ไม่ได้ เพราะธาตุรองบางตัว ที่ลดน้อยลง หรือขาดไปแล้ว ไม่มีแล้วในดิน ไม่เคยเติมเลย จะจำกัดการเจริญเติบโตของพืช เพราะ ธาตุรอง ธาตุเสริม เป็นตัวช่วย ตัวนำพา ให้ พืช กินธาตุหลัก หรือนำไปใช้ได้อย่างเต็มที่

เรามาดูกันว่า ธาตุอาหารพืชแต่ละตัว ทำหน้าที่อะไรบ้าง จะหยิบยกมาเฉพาะตัวที่จำเป็นมากๆ และมักจะขาด ซึ่งธาตุอื่นๆ ยังมีนอกเหนือจากนี้อีก แต่..พืชใช้ในปริมาณน้อย จึงไม่ค่อยพบว่าขาดธาตุต่างๆ ที่ไม่ได้หยิบยกมา อาจจะมีบ้าง แต่ไม่มาก

ไนโตรเจน (N)
เป็นส่วนที่ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช ทั้งยังเป็นอาหารหลักของพืช ช่วยทำให้พืชใบเขียวตั้งตัวได้ โดยไนโตรเจนยังเป็นส่วนหนึ่งของเซลล์พืชเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างโปรตีน ไนโตรเจนยังมีส่วนช่วยในกระบวนการสร้างอาหารและสร้างพลังงานให้กับพืชอีกด้วย

ไนโตรเจนเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างคลอโรฟิลล์ ซึ่งคลอโรฟิลล์อยู่ในส่วนที่เป็นสีเขียวของพืชที่ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง ช่วยให้พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ไนโตรเจนมักอยู่ในปุ๋ยหมักและพืชตระกูลถั่ว ซึ่งเราควรปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบเพื่อเพิ่มไนโตรเจนให้กับดิน

ฟอสฟอรัส (P)
ฟอสฟอรัสก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยในการสังเคราะห์แสง มีส่วนช่วยในการผลิตแป้งและน้ำตาล ฟอสฟอรัสมีส่วนช่วยในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทางเคมีในพืช ช่วยผลิตอาหาร มีส่วนช่วยในการเจริฐเติบโต กระตุ้นการออกดอกและการเจริญเติบโตของราก

ฟอสฟอรัสก็จะมีอยู่ในปุ๋ยหมัก เศษอาหารและกระดูกป่นเช่นกัน จะเห็นได้ว่าฟอสฟอรัสก็มีส่วนสำคัญไม่แพ้ธาตุอาหารใด ๆ เลย

โพแทสเซียม (K)
โพแทสเซียมจะมีอยู่ในดินชั้นล่าง จะถูกดูดซึมโดยรากพืช มีส่วนช่วยในการสร้างโปรตีน ทำให้ผลมีคุณภาพ ลดโรคพืช โพแทสเซียมเป็นแร่ธาตุที่อยู่ในดิน วัตถุอินทรีย์และปุ๋ยอินทรีย์
 
แมกนีเซียม (Mg)
เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ ช่วยในการสังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมันและน้ำตาล ช่วยในการสังเคราะห์แสง นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต

สังกะสี (Zn)
ช่วยสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซิน คลอโรฟิลล์และแป้ง ควบคุมการย่อยน้ำตาลของพืช เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานขอเอนไซม์ที่มีส่วนในการควบคุมการเจริญเติบโตของพืช และจำเป็นต่อการเปลี่ยนสภาพของคาร์โบไฮเดรต
 
ลักษณะการขาดธาตุอาหารของพืช

ทีนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าสาเหตุที่ทำให้พืชผิดปกติในพืช จะมาจาก 2 สาเหตุหลัก ๆ คือ

สภาพแวดล้อมผิดปกติ เช่นแดดจัดมาก น้ำขังนาน อากาศหนาวจัด ก็จำทำให้พืชที่เราปลูกมีความผิดปกติได้ หรืออาจมีการเข้าทำลายของโรคและแมลง ซึ่งเราก็ต้องดูสาเหตุของความผิดปกติให้ดี

สาเหตุมาจากพืชขาดธาตุอาหารที่จำเป็นคือ เราปลูกพืชโดยไม่เติมอินทรีย์วัตถุลงไปในดินเลย เหตุเพราะธาตุอาหารเหล่านี้จะถูกดูดออกไปโดยผลผลิตรุ่นแล้วรุ่นเล่า วิธีสังเกตุคือในปีแรก ๆ ผลผลิตจะได้เยอะ แต่ในปีต่อ ๆ ไปผลผลิตจะค่อย  ๆ ลดจำนวนลง โดยอาการขาดธาตุอาหารจะมีลักษณะดังนี้
 
ถ้าพืชขาดไนโตรเจน ใบพืชจะเหลืองจากส่วนปลายใบเข้ามา
ถ้าพืชขาดฟอสฟอรัส ใบแก่หรือใบล่างจะมีสีม่วงแซมเขียวอ่อน
ถ้าพืชขาดโพแทสเซียม ขอบใบแก่จะมีสีเหลืองและจะได้ผลขนาดเล็ก ถ้าเป็นข้าวก็อาจเมล็ดลีบได้

นอกจากพืชจะต้องการธาตุอาหารหลักแล้ว ธาตุอาหารเสริมและรองก็ขาดไม่ได้เช่นเดียวกัน

ถ้าขาดธาตุแมกนีเซียม ใบแก่จะเหลืองและร่วงหล่นเร็ว
และธาตุอาหารเสริมถ้าขาดก็จะทำให้ใบอ่อน สีซีด เจริญเติบโตช้าและได้ผลผลิตน้อย

แก้ปัญหาพืชแคระ โตช้า
ขาดธาตุอาหาร
ด้วย FK-1



การสั่งซื้อ ส่งฟรีถึงบ้าน เก็บเงินปลายทาง 

โทร 090-592-8614

ไลน์ไอดี https://line.me/ti/p/~FarmKaset 

สั่งซื้อกับ ฟาร์มเกษตร https://farmkaset.org/html5/timeline-details.aspx?topicid=6041#buy 

FK-1 จาก ช้อปปี้ https://shopee.co.th/product/233601817/13846669867/ 

FK-1 จาก ลาซาด้า https://www.lazada.co.th/products/i2962303152.html 
 

อ้างอิง

หนังสือเกษตรอินทรีย์ภาคปฏิบัติ 3

canr.msu.edu

opsmoac.go.th

Comments

Popular posts from this blog

โรคของพืชตระกูลมะเขือ มะเขือใบเหลือง มะเขือใบไหม้ มะเขือใบแห้ง ใบด่าง โรคมะเขือจากเชื้อรา และการป้องกันกำจัด

โรคมะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว โรคมะพร้าวต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส

แก้โรค ทุเรียนกิ่งแห้ง ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป ด้วยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องก้นและยับยั้งเชื้อรา